Blog Section

ตอนที่ 633 การบริหารกล้ามเนื้อปากและลิ้น ในผู้ป่วยกลืนยาก

ตอนที่ 633  การบริหารกล้ามเนื้อปากและลิ้น ในผู้ป่วยกลืนยาก

ตอนที่ 295 การบริหารกล้ามเนื้อปากและลิ้น ในผู้ป่วยกลืนยาก

ท่าที่1:
 กดริมฝีปาก เม้มริมฝีปากเข้าหากันเบาๆ ทำค้างไว้ 5 วินาที 10 ครั้ง
ท่าที่2: ดูดกระพุ้งแก้มเข้าข้างในปาก ทําค้างไว้ 5 วินาที 10 ครั้ง

ท่าที่3: กัดฟัน หุบปากแล้วกัดฟัน จนรู้สึกว่า กล้ามเนื้อขากรรไกรนูน ทําค้างไว้ 5 วินาที 10 ครั้ง

ท่าที่4: กวาดลิ้น ใช้ปลายลิ้นกวาดจากกระพุ้งแก้ม ด้านหลังมาด้านหน้า ทําสลับซ้ายขวา ทํา 10 ครั้ง

ท่าที่5: แลบลิ้น อ้าปากแล้วแลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุด ทําค้างไว้ 5วินาที10ครั้ง

ท่าที่6: กระเดาะลิ้น ใช้ปลายลิ้นแตะเพดานปากส่วนหน้า แล้วดึงลงแรงๆให้เกิดเสียง เกาะ ทํา 10 ครั้ง

ท่าที่7: เช็ดเพดานปาก ใช้ปลายลิ้นลากจากเพดานส่วนหน้า ไปเพดานส่วนหลัง ทำแรงๆ ทํา 10 ครั้ง

ท่าที่8: ม้วนลิ้น ทำเสียง เคอะ แล้วม้วนลิ้นเข้าไป ข้างในปากให้มากที่สุด ทํา 10 ครั้ง

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดอื่นๆ เช่น
เครื่องกระตุ้นการกลืน  :  เพื่อใช้ในการฝึกทักษะของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกลืน
ปรับลักษณะของอาหาร และน้ำ ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้ป่วย โดยอาจให้สารเพิ่มความหนืดใส่ลงในอาหารและของเหลวต่าง ๆ เพื่อช่วยลดโอกาสการสำลัก

-ดูแลความสะอาดของปาก และฟัน ก่อน และหลังการรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อขจัดเสมหะหรือ เศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก ลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดปอดอักเสบได้
-ฝึกการออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เช่น การบริหารกล้ามเนื้อรอบปาก และลิ้น โดยการเม้มปาก ทำปากจู๋ ฉีกยิ้ม อ้าปาก – ปิดปากสลับกัน ฝึกออกเสียง “อา- อี-อู” เป็นต้น ส่วนการบริหารกล้ามเนื้อลิ้น นักกายภาพบำบัดจะให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมาด้านหน้าให้มากที่สุด ใช้ปลายลิ้นแตะริมฝีปากบน ใช้ลิ้นแตะมุมปากทั้งสองข้างสลับกันซ้าย – ขวา ฝึกออกเสียง “ลา ๆ ๆ ๆ ทา ๆ ๆ ๆ” โดยจะมีการบันทึกวัดผลเพื่อวางแผนพัฒนาการฝึกต่อไป
-การปรับท่าทางขณะกลืน ให้เหมาะสมกับความผิดปกติที่ตรวจพบในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การก้มหน้า เอียงคอ หรือหันศีรษะไปด้านหนึ่งขณะกลืนเพื่อให้กลืนได้อย่างปลอดภัย ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำเทคนิคการกลืนอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรง หรืออาการที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล เช่น การให้กลืนโดยออกแรงเต็มที่ หรือการไอหลังการกลืนอาหารแต่ละคำ เพื่อช่วยไล่เศษอาหารที่ตกค้างอยู่ เป็นต้น

 

Facebook Comments