ตอนที่ 640 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยที่เข้าเฝือก ขณะอยู่บ้าน
ตอนที่ 640 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยที่เข้าเฝือก ขณะอยู่บ้าน
1.ดูแลเฝือกไม่ให้ชำรุด เฝือกปูนปลาสเตอร์ ไม่ให้เปียกน้ำ ไม่ใช้ มีด โลหะ ของมีคม หรืออุปกรณ์ต่างๆงัด แกะเฝือกออก
2.ไม่ใช้อุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปเกาภายในเฝือก เมื่อมีอาการคัน ภายในเฝือกสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยา หรือใช้ เสปรย์อาการคันตามที่แพทย์ให้
3.อาการบวมของอวัยวะส่วนปลายที่เข้าเฝือกสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อเดินห้อยแขนจะมีหลังมือบวม หรือผู้ป่วยที่เข้าเฝือกขา เมื่อเดิน หรือนั่งห้อยขา เป็นเวลานานจะมีอาการหลังเท้า เท้า บวมให้วางอวัยวะสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนเลือด
4. การบริหารโดยการเกร็งกล้ามเนื้อในเฝือก กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง อย่างน้อยวันละ 100-200 ครั้ง จะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบ และภาวะหลอดเลือดอุดตัน
5.การลงเดิน ให้ลงนํ้าหนักและใช้อุปกรณ์ช่วยเดินตามความเห็น ของแพทย์ที่ทําการรักษา
6.ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษา หาก ไม่สามารถมาพยแพทย์ตามกำหนดนัดให้ติดต่อเพื่อเลื่อนนัด
7.ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมากหลังรับประทานยาแก้ปวดไม่บรรเทา หรืออาการปวดเกิดขึ้นหลังจากไม่เคยมีอาการ มีบวม หลังจากที่วางยาหรือแบบสูงแล้วไม่ยุบบวม หรือมีเฝือก แตกหักให้รีบพบแพทย์ทันที
8.หากมีการใส่เฝือกมี่แขนควรใส่ผ้าพยุงแขนเอาไว้ด้วย

Facebook Comments