Blog Section

ตอนที่1:อัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง

ตอนที่1:อัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง

 

โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตที่เรียกกันจนคุ้นหูชาวบ้าน ในทางการแพทย์ถ้าเรียกให้หรู  CVA คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดหรือมีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ยังส่งผลให้เซลล์ในสมองและการทำงานของสมองหยุดเนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือพิการได้ ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการชนิดถาวร หรือบางคนอาจเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

 

อัมพาต

 

 

 

สาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคอัมพาต

เกิดได้สองแบบแบบแรกคือ Ischemic stroke แปลว่าอัมพาตที่เกิดจากเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่ได้ทำให้เซลล์สมองตาย และ Hemorrhagic stroke แปลว่า เส้นเลือดที่ทำหน้าที่ไปเลี้ยงสมองเกิดแตก ทำให้มีเลือดไหลออกจากเส้นเลือดไหลออกไปสู่เซลล์สมองและอุดอยู่ในช่องว่างทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้นไปกดเนื้อสมองทำให้เซลล์รอบๆเนื้อสมองตาย ตามโครงสร้างร่างกายของสมองเราแบ่งออกเป็นสองซีก สมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทางซีกขวา ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย ถ้าร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรงแสดงว่ามีปัญหาในสมองซีกขวา
โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต ซึ่งจริงๆ แล้วจัดเป็นกลุ่มของโรคที่มีหลายชนิดหลายประเภท กลไกการเกิดโรคอาจแตกต่างกันไปได้บ้าง แต่สุดท้ายส่งผลร้ายอันตรายต่อชีวิตหรือพิการได้เหมือนๆ กัน

ผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่สูงอายุหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่อายุน้อย ก็อาจเกิดอัมพาตได้เช่นเดียวกัน ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงโรคร่วมด้วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันจึงมีความสำคัญสูงสุด การบำบัดดูแลรักษาในภายหลังสำหรับการฟื้นฟูในผู้ป่วยอัมพาตมีหลากหลายแต่ที่นิยมฟื้นฟูที่สุด คือการฟื้นฟูในด้านกายภาพบำบัด เป็นการกระต้นการเรียนรู้การทำงานของสมองและกล้ามเนืื้อ ที่อาศัยทฤษฎีทางด้านระบบสมองและด้านประสาทสรีรวิทยาหลังจากเกิดอัมพาต ร่างกายจะต้องเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวใหม่โดยที่สมองยังอยุ่ในช่วงฟื้นฟูตัวเอง การเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและการทำงานของกล้ามเนื้อจะส่งเสริมให้ผู้ป่วยอัมพาตสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด

 

 

อาการอัมพาตแสดงที่ต้องรีบไปพบแพทย์

อาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หรือไม่มีแรงครึ่งซีกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรืออาการชาของแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว

ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอาการสับสน ระดับการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลง ภาวะที่พูดลำบาก กระตุกกระตักหรือพูดไม่ชัด โดยอาการเป็นชั่วคราว หรืออาจจะนึกพูดไม่ได้เป็นครั้งคราวภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปรกติ หรือเห็นภาพซ้อน จัดเป็นอาการผิดปกติของการมองเห็นอาการวิงเวียนบ้านหมุน หรือเป็นลม เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน มักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติกิจกรรมที่เคร่งเครียด หรือกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง

 hemiplegia2

อาการอัมพาตที่พบบ่อย

ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตแสดงอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองซีก ในบางคนอาจจะหมดความรู้สึกของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองซีก บางรายอาจจะหมดสติ บางรายอาจจะตามองไม่เห็น บางรายอาจจะเดินไม่ได้ บางรายอาจจะพูดไม่ได้ บางรายอาจจะสับสน อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่างกันเนื่องจากตำแหน่งของหลอดเลือดที่เป็นโรคแตกต่างกันไป

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or