Blog Section

ตอนที่112: การดูแลสายสวนปัสสาวะ

ตอนที่112: การดูแลสายสวนปัสสาวะ

การดูแลสายสวนปัสสาวะ

การสวนปัสสาวะหมายถึงการใส่ท่อยางหรือท่อพลาสติกขนาดเล็กผ่านทางรูเปิดของท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อเป็นทางให้ปัสสาวะไหลออกมา

วัตถุประสงค์ เพื่อลดการคั่งค้างของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยและในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้เอง

 

ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ

1. ดื่มน้ำประมาณวันละ 3000 ซีซี ถ้าไม่มีข้อจำกัด เรื่องการควบคุมน้ำดื่ม

2. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์เนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ เหล้า เบียร์

3.แขวนถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะประมาร 30 ซม   ไม่ควรเกิน 40 ซม ระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ

4. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งโดยใช้สบู่กับน้ำสะอาด ห้ามใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนัง

5. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ขณะที่คาสายสวนปัสสาวะโดยการล้างอวัยวะเพศและบริเวณขาหนีบ รวมทั้งบริเวณสายสวนปัสสาวะที่ต่อออกมาจากรูเปิดของท่อปัสสาวะให้สะอาด และล้างสายสวนปัสสาวะออกมาทางด้านนอกตัวผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล

6. การยึดตรึงสายสวนปัสสาวะสำหรับผู้หญิงให้ยึดตรึงสายไว้บริเวณหน้าขาข้างใดข้างหนึ่งทั้งในท่านอนท่านั่ง

7. การยึดตรึงสายสวนปัสสาวะสำหรับผู้ชายขณะนอนบนเตียง ให้ยึดตรึงสายบริเวณหน้าท้อง เพื่อให้มีการระบายปัสสาวะที่ดีและยึดตรึงสายบริเวณหน้าขาขณะนั่ง

8. เปลี่ยนถุงปัสสาวะทุกสัปดาห์หรือเมื่อสกปรกมาก หรือรั้วซึมด้วยวิธีปราศจากเชื้อ

9. เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุกๆ 2 สัปดาห์

10. ขนาดของสายสวนปัสสาวะที่เหมาะสมกับเพศ ในผู้ชายใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 12 ถึง 14 Fr และในผู้หญิง ใช้ขนาด 14 ถึง 16 Fr

11. ดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้มีการพับงอ

12. ควรเทปัสสาวะในถุงเก็บปัสสาวะอย่างน้อยทุก 3 ชม หรือเมื่อมีปัสสาวะประมาณ 2 ใน 3 ของถุงเก็บปัสสาวะ

13. ล้างมือก่อนและหลังจากเทปัสสาวะทุกครั้ง


ข้อควรระวัง

 2

1. หลีกเลี่ยงการปลดข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะและดูแลไม่ให้มีการหลวมหรือหลุด

2. ให้พับสายใกล้ถุงเก็บปัสสาวะทุกครั้ง เมือมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือถุงเก็บปัสสาวะ

3. ไม่ปล่อยถุงเก็บปัสสาวะลากกับพื้นทำให้ปนเปื้อนเชื้อโรค

4. ในผู้ป่วยที่เริ่มใส่สายสวนปัสสาวะควรใส่สายที่มีขนาดเล็ก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ

5. กรณีที่ผู้ป่วยฝึกยืนหรือฝึกเดิน ต้องดูแลให้ถุงเก็บปัสสาวะอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ 30 ซม

สังเกตอย่างไรว่ามีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะอาการที่แสดง

1. สีของน้ำปัสสาวะเข็มขึ้น หรือคล้ายน้ำล้างมือ

2 .มีกลิ่นฉุน

3. มีตะกอนมาก ลักษณะคล้ายหนอง

4.รู้สึกแสบขัด ไม่สุขสบายบริเวณหัวเหน่า

5. มีไข้สูง

6.อาจจะมีปัสสาวะรั่วซึมรอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก…คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

 

Facebook Comments

Leave a Reply

Or