Blog Section

ตอนที่113: การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

ตอนที่113: การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและมีการแตกทำลายของผิวหนัง ถ้าไม่ได้รับการป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมาได้ ซึ่งการเกิดแผลกดทับจะส่งผลให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน จากการรักษาที่ยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับเกิดได้จาก                                                                                                                                          ตำแหน่ง

– การกดทับ

1

– ภาวะทุพโภชนาการ

– การนอนนานๆโดยไม่เคลื่อนไหว

– การติดเชื้อ

– การทำงานของระบบประสาทรู้สึกเสื่อม

– การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง

 

 

 

 

 

แนวทางการป้องกันการเกิดแผลกดทับ

1. พลิกตัวทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดระยะเวลาของแรงกดบนกระดูก โดยเฉพาะที่มีรอยแดงเพราะจะทำให้การไหลเวียนลดลงเกิดแผลกดทับได้ง่าย

2. ตรวจดูผิวหนังที่มีแรงกดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการนวดปุ่มกระดูกโดยเฉพาะที่มีกอยแดงเพราะจะทำให้การไหลเวียนเลือกลดลงเกิดแผลได้ง่าย

3 .ระวังไม่ให้ผิวหนังเปียกชื้น และระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งควรงดใช้สบู่ ควรทาโลชั่นหรือครีมหลังอาบน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

4. การจัดท่านอนโดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงกึ่งหงาย 30 องศา ข้างซ้ายหรือข้างขวาเพื่อป้องกันกระดูกก้นกบและสันกระดุกสะโพกถูกกดแล้วใช้หมอนรองหลังไว้ ใช้หมอนรองขาให้ส้นเท้าลอยจากพื้น

5. การจัดทานั่งควรจัดให้ผู้ป่วยนั่งโดยจัดให้บริเวณข้อเท้า ข้อศอก ปลายแขนและข้อมือมีหมอนรองรับอยู่ในท่าที่ปกติ การนั่งบนรถเข็ญควรเปลี่ยนท่าทุก 15 นาที ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถยกตัวเองหรือเปลี่ยนท่าเองได้ ควรนั่งไม่ไม่เกิน 1 ชั่วโมงและให้ผู้ป่วยนอนเตียง

6. ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น ผ้านุ่ม ที่นอนลม เป็นต้น

7. ดูแลให้ผ้าปูที่นอนเรียบดึงอยู่เสมอ

8. หลีกเลี่ยงการใช้ห่วงวงกลมวางบริเวณปุ่มกระดูกเพราะจะไปเพิ่มแรงกดต่อผิวหนังบริเวณที่กดอยู่กับห่วง

9 .ไม่ลากหรือดึงผู้ป่วยขณะเครื่องย้ายหรือเปลี่ยนท่าใช้วิธีการยกแทนการดึง

10. การใช้หม้อนอนแก่ผู้ป่วยควรใช้วิธีการยกก้นขณะสอนหม้อนอน

11. ทำความสะอาดผิวหนังและซับให้แห้งทุกครั้งภายหลังการขับถ่าย

12 .ควรทาวาสลีนบริเวณฝีเย็บและก้นภายหลังจากทำความสะอาดทุกครั้งในผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระบ่อยหรืท้องเสีย

13 .เมื่อเกิดการอักเสบ โดยพบรอยแผลแดงที่เกิดแล้วไม่หายภายใน 30 นาที ควรใช้การประคบเย็นบนรอยแดงทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 5 นาที ห้ามนวดบริเวณรอยแดงโดยเด็ดขาด

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก…คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

Facebook Comments

Leave a Reply

Or