Blog Section

ตอนที่117: ES คืออะไร

ตอนที่117: ES คืออะไร

ES คืออะไร

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ในเชิงการบำบัดรักษานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. Electrotherapy เป็นกลุ่มที่ว่าด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าในการบำบัดรักษาโรค
2. Electrodiagnosisเป็นการใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยการแปลผลจากการตอบสนองของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ
3. Electromyography (EMG) เป็นการบันทึกการตอบสนองที่ได้จากการทำงานของ motor unit ออกมาในรูปของกระแสไฟฟ้า
ในหนังสือบางเล่มมักรวม EMG เข้าไปอยู่ในหัวข้อ Electrodiagnosisเป็นหัวข้อเดียวกัน เพราะโดยมากมักนำ EMG มาใช้ในการวินิจฉัยร่วมด้วย และรวมไปถึงการหาความเร็วของการนำกระแสประสาท หรือ Nerve conduction studies (NCS) ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนต่อไป
ในทางกายภาพบำบัด เทคนิคที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษาจะเป็นแบบ การส่งกระแสไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง หรือเรียกว่า Transcutaneous นั่นคือ การกระตุ้นโดยไม่มีการแทงทะลุผ่านผิวหนังแต่อย่างใด
การรักษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation) ในทางกายภาพบำบัด มุ่งเน้นกระตุ้นกล้ามเนื้อแต่ละมัด หรือกลุ่มกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อนั้น ๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้เอง (voluntary contraction) ทั้งนี้มิได้หมายถึงกล้ามเนื้อที่ขากเส้นประสาทมาเลี้ยง (Dennervated muscle) เท่านั้น ยังรวมถึงกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงปกติ (Innervated muscle) แต่ไม่สามารถทำงานได้ เช่น กรณีที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การที่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อนั้น ๆ เป็นเวลานาน เป็นต้น ถ้าเป็นกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง กระแสไฟฟ้าที่มากระตุ้นนั้น มีผลในการรักษาสภาพของกล้ามเนื้อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดการเปลี่ยนสภาพของใยกล้ามเนื้อเป็น fibrosis และชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้ออันเกิดจากการขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง
อย่างไรก็ตาม ในบทนี้จะกล่าวถึงหัวข้อ Electrotherpyที่ได้มีการแยกประเภทของการรักษาโดยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าในทางกายภาพบำบัด ออกเป็น 6 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการรักษาเป็นหลัก
Electrical muscle stimulation (EMS)เป็นการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในการรักษากล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง (denevated muscle) เพื่อรักษาสภาพของกล้ามเนื้อ ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ (Delayed muscle atrophy) หรือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ (Re-education) ในกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงบางส่วน (partial denevated muscle) ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในเรื่องการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าในการรักษากล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง
Electrical stimulation for tissue repaired (ESTR)จากชื่อก็พอบอกเป็นนัยอยู่ว่า ใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อลดอาการบวม (edema reduction) เพิ่มการไหลเวียนเลือด (enhancement of circulation) และเร่งการสมานแผล (wound management หรือ wound healing)
Neuromuscular electrical stimulation (NMES)คือการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงปกติ (Innervated muscle) เพื่อคงไว้ซึ่งการทำงานของกล้ามเนื้อ (restore muscle function) ได้แก่ การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (muscle strengthening) , การลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (spasm reduction) , การชะลอการฝ่อลีบ หรือป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการไม่ได้ใช้งาน (disuse atrophy prevention) และการเรียนรู้การทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle re-education) มักใช้ในกรณีที่มีการย้ายเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ (tendon transfer)
หมายเหตุ จะเห็นว่าในกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงนั้น จะใช้คำว่าชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ แต่จะไม่มีคำว่าป้องกันการฝ่อลีบ ส่วนกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงปกติ สามารถใช้ได้ทั้งป้องกัน และชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
Functional electrical stimulation (FES) เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อชี้นำการเคลื่อนไหวที่ต้องการ คือการใช้กระแสไฟเปรียบเสมือนเป็น orthotic เพื่อให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการ
TENS หรือ Trancutaneous electrical nerve stimulationใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อลดอาการปวด (pain control) ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน การใช้กระแสไฟฟ้าในการลดปวด นอกจากจะจะใช้กระแส TENS (ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพบติดตัวไปใช้ได้ตลอดเวลา) แล้วยังมีกระแสอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในการลดปวด อาทิเช่น กระแส Interference , กระแส Diadynamic , กระแส high voltage galvanic เป็นต้น
Iontophoresisคือเทคนิคการใช้กระแสไฟฟ้าในการผลักดันตัวยาบางชนิด ที่มีคุณสมบัติแตกตัวเป็นประจุได้ เมื่ออยู่ในสารละลาย โดยมากใช้เพื่อการลดปวดเฉพาะที่ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ได้ และใช้ในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น
ในช่วงต้นของบทนี้ จะกล่าวถึง การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำในกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงปกติ (Innervated muscle) หรือ Neuromuscular electrical stimulation (NMES) โดยจะกล่าวถึงการใช้ NMES ในโปรแกรมการรักษาต่าง ๆ และจะกล่าวถึง Functional electrical stimulation (FES) ในตอนท้าย ซึ่งหนังสือบางเล่มจะจัด FES อยู่ใน NMES ด้วย

ข้อแตกต่าง ES กับ TENS

                ESจะใช้ในการรักษากลุ่มกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงและกลุ่มที่ไม่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง ซึ่งรักษาได้หลากหลายเช่น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดบวม ช่วยชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วน TENS ช่วยในการลดปวดเท่านั้น

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก…คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

Clash Of Clans Cheat And Hack Tool

Facebook Comments

Leave a Reply

Or