Blog Section

ตอนที่12:โรคหลอดลมโป่งพอง ฟังแค่ชื่อ ก็เป็นเรื่องน่ากลัว!

ตอนที่12:โรคหลอดลมโป่งพอง ฟังแค่ชื่อ ก็เป็นเรื่องน่ากลัว!

โรคหลอดลมโป่งพอง

 

  emphysema2

                หลายๆคนคงคุ้นเคยกับชื่อโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ คือกลุ่มโรคทางเดินหายใจอุดกั้น ซึ่งเกิดเป็นลักษณะความผิดปกติของหลอดลมแบบถาวรแบบนี้เป็นแล้วเป็นเลยนะเนี่ย!  โดยโรคหลอดลมโป่งพอง เมื่อมีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเนื้อเยื่อรอบๆหลอดลมมีการอักเสบและมีการฉีกขาด จนกลายเป็นพังพืด ทำให้มีรูปร่างเป็นกระเปราะ สาเหตุการเกิดโรคโรคหลอดลมโป่งพอง นี้สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก คือ

  • การอุดตันที่หลอดลมทำให้เสมหะคั่งค้างและมีการติดเชื้อได้
  • น้ำเมือกบุ มีความผิดปกติ
  • พันธุกรรม

กลไกการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

emphysema 1

หลังจากมีการอักเสบและการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทำให้มีเสมหะเป็นสีเหลืองปนเขียว ตำแหน่งที่พบมีการว่ามีการขยายตัวมากกว่าปกติคือปอดกลีบซ้าย มีรูปร่างที่ผิดปกติ

อาการของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง

emphysema 2

จะมีอาการไอมากในตอนเช้า มีเสมหะสีเหลืองปนหนองเมื่อเก็บมาตั้งทิ้งไว้ มีกลิ่นเหม็น ผู้ป่วย และอาการสะสมของโรคไอเรื้อรัง ไอแห้งๆนานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเลือดปนเสมหะออกมา

– น้ำหนักลดเร็ว เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย

– เหนื่อยง่าย

– เจ็บหน้าอก

 

หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่รักษา จะมีอาการ 

– หอบเหนื่อย

– บวมบริเวณลำคอ หน้า แขน อก

– กลืนอาหารลำบาก

– หายใจมีเสียงอึ๊ดในหน้าอก

 

โรคถุงลมโป่งพอง มีการดำเนินโรคอยู่ 4 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่มีปัจจัยเสี่ยงและเริ่มมีการอุดกั้นของหลอดลมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหลอดลมเล็ก ๆ เหล่านั้น สามารถกลับคืนสู่ปกติได้เมื่อหยุดบุหรี่สำเร็จ

ขั้นที่ 2 มีการอุดกั้นของหลอดลมและความเสื่อมของถุงลมชัดเจน โดยทราบได้จากการตรวจสมรรถภาพปอด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อยไม่มาก

ขั้นที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อยมากขึ้น ผลการตรวจสมรรถภาพปอดเสื่อมลงอีก

และขั้นที่ 4 ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง จะมีการเสื่อมของหลอดลมและถุงลมมาก มีภาวะการหายใจวายและหัวใจวายเกิดขึ้น ระยะนี้ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง จำเป็นต้องพึ่งออกซิเจน

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

emphysema3

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้ โรคถุงลมโป่งพอง หายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและปอดถูกทำลายช้าลง โดยยาที่รักษา โรคถุงลมโป่งพอง คือ
ยาขยายหลอดลม

  • มีทั้งชนิดกิน ฉีด และพ่น ปัจจุบันนิยมใช้ยาพ่นที่ออกฤทธิ์นาน ส่วนยาพ่นชนิดออกฤทธิ์เร็วมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเริ่มหอบ

ยาสเตียรอยด์

  • มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง มีอาการรุนแรง หรือมีอาการหลอดลมอักเสบร่วมด้วย เพราะยาสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี แต่ไม่นิยมใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะมีผลข้างเคียงมาก ปัจจุบันนิยมใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นมากกว่าชนิดรับประทานหรือฉีด

ยาปฏิชีวนะ

  • จะใช้กรณีพบว่ามีการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ พบการอักเสบของหลอดลม โดยผู้ป่วยจะไอมีเสมหะมากขึ้น และเสมหะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง หรือสีเขียว หรือเป็นหนอง

ยาละลายเสมหะ

  • ใช้เมื่อมีเสมหะเหนียว และมีเสมหะมาก ผู้ป่วยควรทานน้ำให้มากขึ้น เพราะน้ำเป็นตัวละลายความเหนียวของเสมหะได้ดีที่สุด การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง

 

โรคถุงลมโป่งพอง สามารถป้องกันได้ด้วยการงดสูบบุหรี่ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำงาน และการเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีควันพิษ หรือในที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ และแม้ว่า โรคถุงลมโป่งพอง นี้ จะทำให้เกิดโรคเมื่อมีอายุมากก็ตาม แต่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคควรรับการตรวจสมรรถภาพปอด เพราะหากตรวจพบ โรคถุงลมโป่งพอง ในระยะเริ่มแรกก็อาจหลีกเลี่ยง หรือป้องกันได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or