ตอนที่120: Functional Electrical Stimulation (FES) for gait
Functional Electrical Stimulation (FES) for gait
คือเทคนิคการกระตุ้นกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพาตด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อให้มีกระแสประสาทมาเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้นและควบคุมการเคลื่อนไหวให้เกิดการทำงานในกิจวัตประจำวัน กระแสไฟฟ้านี้จะใช้งานในลักษณะคล้ายอุปกรณ์เสริม (orthotics) ในการเดิน โดยมุ่งเน้นให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวขณะทำงานทดแทนการใส่อุปกรณ์
โดยในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตจะสูญเสียการควบคุมจากระบบประสาทส่วนกลางทำให้สูญเสียการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ไม่สามารถทรงท่าหรือเคลื่อนไหวได้อย่างราบเรียบ โดยการกระตุ้นจะมีลักษณะกระตุ้นที่ระบบประสาทส่วนปลาย ซึ่งยังมีเส้นประสาทมาเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้นๆ ในสภาพปกติ เพียงแต่สูญเสียการควบคุมจากระบบประสาทส่วนกลาง
โดยกระแสไฟที่เราใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกิดการทำงานนั้นๆ เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่สูญเสียการควบคุมจากระบบประสาท โดยการกระตุ้นเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการทำงานจำเป็นต้องกระตุ้นกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานานให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบเกร็งค้างเพื่อเกิดการทำงานตามที่ต้องการ ดังนั้นการเลือกชนิดของกระแสไฟฟ้าและเทคนิคการกระตุ้น ต้องไม่ให้เกิดการล้าของกล้ามเนื้อ กระแสที่ใช้ในกระตุ้นจึงไม่แตกต่างจากการกระตุ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความแรงของกระแส ควรปรับให้เกิดการหด ตัวของกล้ามเนื้อที่แรงพอที่จะสามารถทำงานนั้นๆได้
ตัวแปรทางกระแสไฟฟ้า | การเลือก/ปรับค่า |
ลักษณะกระแส/คลื่น | Faradic stimulator |
Frequency | 20-40 Hz |
Pulse duration | 100- 600 ไมโครวินาที |
Intensity | ปรับให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ |
FES นิยมอย่างมากสำหรับการนำมาใช้แทนเครื่องช่วยพยุงในการเดิน
การใช้กระแสไฟกระตุ้นในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาข้อเท้าตก foot drop ขณะเดินในช่วง swing phase แทนการใส่อุปกรณ์ช่วยเดิน AFO (ankle-foot orthotic) วิธีการกระตุ้นจะใช้ขั้วกระตุ้น 2 ขั้ว (bipolar) โดยการวางขั้วกระตุ้นไฟฟ้ามีหลายแบบ
แบบที่ 1 โดยการวางขั้วที่ 1 ไว้ที่ทางออกของ peroneal nerve ที่อยู่ใต้เข่า ขั้วกระตุ้นที่ 2 วางที่บริเวณกล้ามเนื้อ Hamstring กระแสไฟจะช่วยกระตุ้นในช่วงที่ก้าวขาไม่ให้ข้อเท้าตกและช่วยเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้าขณะเดินให้ราบเรียบ และถ้าเราติดขั้วที่กล้ามเนื้อ Hamstring จะช่วยกระตุ้นในช่วง stance phase ในการทำ hip extension และ ยับยั้ง knee hyperextension
แบบที่ 2 โดยการวางขั้วกระตุ้นที่กล้ามเนื้อ tibialis anterior และ Quadriceps หรือ Gluteus medius ซึ่งการติดขั้วแบบนี้มักใช้ในการฝึกการเดินในผู้ป่วย stroke
โดยเวลาในการกระตุ้นจะถูกควบคุมโดยปุ่มใต้ฝ่าเท้าข้างที่เป็นอัมพาต ปุ่มควบคุมการทำงานจะหยุดการกระตุ้นในช่วง stance phase และจะกระตุ้นอีกทีในช่วง swing phase จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีการพัฒนาการเดินที่ดีขึ้นจากการกระตุ้นด้วย FES
นศก.ทัศนีย์พร หรรษนันท์
มหาวิทยาลัวหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ด้วยความปรารถนาดีจาก…คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ