ตอนที่142:เทคนิคการเคาะปอดในทารกและเด็ก
เทคนิคการเคาะปอดในทารกและเด็ก
ข้อบ่งชี้ในการทำกายภาพบำบัดทรวงอก
- มีเสมหะเหนียวข้นหรือมีปริมาณมาก เช่น pneumonia, lung abscess , bronchiectasis
- ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน นอนบนเตียงนานๆ เช่น เด็กที่เป็นสมองพิการ อัมพาต
- มีภาวะปอดแฟบ (atelectasis) เนื่องจากเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ
- พิการแต่กำเนิด เช่น ไส้เลื่อนกะบังลม
- หลังถอดท่อช่วยหายใจใหม่ๆ เพื่อป้องกันปอดแฟบ
- ทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็กที่มีเสมหะ ไม่สามารถไอเอาเสมหะออกเองได้
- ทารกที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (bronchopulmonary dysplasia), สูดสำลักน้ำคร่ำ (meconium aspiration)
หยุดทำกายภาพบำบัดทรวงอก
- ไม่มีเสมหะตลอดช่วง 24-48 ชม. หลังจากที่ไม่ได้ทำกายภาพบำบัดทรวงอก
- เสียงปอดปกติ ไม่มีเสียงเสมหะ
- ภาพถ่ายรังสีทรวงอกปกติ
ข้อแนะนำ
- ควรทำขณะท้องว่าง คือก่อนหรือหลังให้นมหรือรับประทานอาหารแล้ว 1-2 ชม. เพื่อหลีกเลี่ยงอาเจียนและสำลักเอาเศษอาหารลงไปในหลอดลม
- รายที่ได้รับ aerosol therapy เช่น nebulized bronchodilators, warm NSS ควรพ่นก่อนการทำกายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเสมหะถ้าจัดท่าเพียงวิธีเดียว ให้อยู่ท่าต่างๆ นาน 15 นาที
- ถ้าจัดท่าร่วมกับการเคาะหรือสั่นทรวงอกจะใช้เวลาท่าละ 3-5 นาที ในเด็กโต ทารกแรกเกิดใช้เวลาท่าละ 2-3 นาที ใช้เวลารวมทั้งหมดไม่เกิน 30 นาที
Chest physiotherapy ประกอบด้วย
1.การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ (postural drainage) เป็นวิธีการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้หลอดลมของปอดส่วนที่จะทำการระบายเสมหะอยู่ในแนวดิ่งเพื่อให้เสมหะสามารถเคลื่อน ตัวตามแรงโน้มถ่วงของโลกจะทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่หลอดลมใหญ่ (ในทารกแรกเกิดและทารกนิยมจัดท่าร่วมกับการเคาะและการสั่นทรวงอก)
ข้อห้ามในการจัดท่าระบายเสมหะ
- มีอากาศคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด (tension pneumothorax) ยังไม่ได้รักษา
- เลือดออกในปอดหรือไอเป็นเลือด (hemoptysis)
- โรคทางหัวใจและหลอดเลือดที่ยังไม่รักษา เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- ผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดอาหาร หลังผ่าตัดหัวใจ หัวใจ สมอง และผู้มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
- Pulmonary edema, congestive heart failure, large pleural effusion (น้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เป็นบริเวณกว้าง)
- Acute asthma หรือหายใจลำบากรุนแรง
- มีภาวะไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะอาหารไปสู่หลอดอาหาร (gastroesophageal reflux disease: GERD)
- ทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันในปอดสูง (persistent pulmonary hypertension of newborn: PPHN) ที่เกิดอาการหายใจลำบากรุนแรง
ไม่จัดท่าศีรษะต่ำ ในทารกแรกเกิดที่อยู่ในภาวะวิกฤต สมองบวม ท้องอืดมาก รวมทั้งทารกคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 800 กรัม เพราะท่าศีรษะต่ำทำให้ความดันในสมองสูง เสี่ยงต่อเลือดออกในโพรงสมอง หรือเด็กที่เป็นBPD ซึ่งมักมีภาวะหายใจลำบากและมีปัญหา GERD ร่วมด้วยถ้าจำเป็นต้องระบายเสมหะควรจัดเป็นท่านอนราบหรือยกศีรษะสูงเล็กน้อย เน้นเคาะทรวงอกหรือสั่นทรวงอกตำแหน่งปอดส่วนล่าง เด็กที่มีท่อหลอดลมคออาจไม่สะดวกจัดท่าบางท่า ให้ระวังท่อเลื่อนหลุด
2.การเคาะทรวงอก (percussion) เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนบริเวณทรวงอก แรงสั่นสะเทือนจะผ่านไปยังหลอดลมทำให้เสมหะที่ติดอยู่ผนังหลอดลมหลุดออก โดยการทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วแต่ละนิ้วชิดกัน (cupped hand) เคาะขนานกับกระดูกซี่โครง ในทารกแรกเกิดใช้ปลายนิ้วช้อนกันแล้วเคาะโดยใช้ข้อมือเคาะเบาๆเป็นจังหวะสม่ำเสมอหรือใช้แก้วยาขนาดเล็กหรือส่วนหัวของสเตทโตสโคปเคาะแทนมือได้ บริเวณที่ทำการเคาะควรรองด้วยผ้าบาง
3.การสั่นทรวงอก (vibration) เป็นการช่วยให้เสมหะเคลื่อนตัวออกจากหลอดลมเล็กเข้าสู่หลอดลมใหญ่ ในเด็กโตใช้มือข้างเดียวหรือสองข้างวางซ้อนกัน วางราบบนผิวหนังบริเวณทรวงอก ในเด็กเล็กใช้นิ้วมือทั้งสี่นิ้ว และในทารก/ทารกแรกเกิดใช้ปลายนิ้วมือ โดยทำปลายนิ้วมือสั่นในขณะหายใจออก หรือทำการสั่นสะเทือนด้วยเครื่องมือ เช่น เครื่องนวดตัวหรือนวดหน้า ใช้ในเด็กโต แปรงสีฟันไฟฟ้า ใช้ในทารกและเด็กเล็ก
ข้อควรระวังในการเคาะหรือสั่นทรวงอก
- ไม่เคาะหรือสั่นทรวงอกในทารกหรือเด็กที่กระดูกซี่โครงหัก เลือดออกในปอด/ไอเป็นเลือด มีแผลเปิดที่ผนังทรวงอกหรือใส่ท่อระบายจากทรวงอก เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดต่ำกว่า 30000/ลบ.มม. วัณโรคปอดชนิดเฉียบพลัน ทารกแรกเกิดที่ไม่สามารถทนต่อการทำได้ เช่น หัวใจเต้นช้าลง , SaO2ลดลง, หายใจลำบากมากขึ้น, ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เพราะเสี่ยงเลือดออกในโพรงสมอง และผู้ที่มีข้อห้ามในการจัดท่าระบายเสมหะ
- ขณะไอไม่ควรทำการเคาะปอด นอกจากไม่ได้ผลแล้วยังรบกวนการไอ ทำให้ไอไม่ได้ผล
- หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณท้อง หลังด้านล่าง กระดูกสันหลัง หัวไหล่ ต้นคอ และทรวงอกเด็กหญิงที่เริ่มเป็นสาว
- ระหว่างทำควรประเมินการหายใจร่วมกับ SaO2หากมีภาวะหายใจลำบากมากขึ้น หรือ SaO2ลดลงอย่างรวดเร็ว ควรหยุดทำเป็นระยะๆรอจนกว่าอาการแสดงหรือ SaO2 กลับสู่สภาพเดิมก่อนการทำ
- การกำจัดเสมหะ (secretion removal) เช่น การดูดเสมหะ การไอ
การดูดเสมหะ
ตั้งความดันลบในการดูดเสมหะ ดังนี้
- ทารกคลอดก่อนกำหนด ใช้ความดันลบ 40-80 mmHg (4-8 cmHg)
- ทารก ใช้ความดันลบ 60-100 mmHg (6-10 cmHg)
- เด็ก ใช้ความดันลบ 100-120 mmHg (10-12 cmHg)
ข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะ
- เด็กมีอาการของการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น RR เพิ่ม , HR เพิ่ม, ปีกจมูกบาน, SaO2 ลดลง, กระสับกระส่าย, เสียงเสมหะครืดคราดในลำคอ
- ไม่รู้สึกตัว ใส่ท่อช่วยหายใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้
ข้อห้ามในการดูดเสมหะ
- ตอบสนองไวกว่าปกติต่อการดูดเสมหะ, มีภาวะ thrombocytopenia หรือกำลังได้รับการรักษาด้วย systemic anticoagulant, ผ่าตัดบริเวณ pharynx, กล่องเสียงอักเสบ (epiglotitis) หรือเพิ่งได้รับอาหาร
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ
- ขาดออกซิเจน, ชีพจรเต้นผิดจังหวะ, ติดเชื้อ, ความดันต่ำ, ปอดแฟบ, เยื่อบุหลอดลมถูกทำลาย, การอาเจียนและสำลักอาหาร
>>>ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994