ตอนที่143: การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ตอนที่1
การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ตอนที่1
ประโยชน์ของการฟื้นฟูด้านการสื่อความหมาย
- ช่วยให้การสื่อความหมายกลับคืนมาให้มากที่สุดและเร็วที่สุด
- กระตุ้นให้เกิดรูปแบบการสื่อความหมายที่เหมาะสม
- ป้องกันไม่ให้มีพัฒนาการของพฤติกรรมการสื่อความหมายที่ผิด
ความแตกต่างระหว่างพูดไม่ชัด Dysarthria และ Apraxia
Dysarthria | Apraxia | |
สาเหตุจากสมอง | – | / |
สาเหตุจากระบบประสาท | / | – |
พูดไม่ชัด | / | / |
การฝึกภาษาและการพูดเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยอะเฟเซีย (Apraxia)
- กระตุ้นการพูดคุย เรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น บอกชื่อ บุคคล สถานที่ เวลา คำพูดทักทายต่างๆ
- ฝึกชี้หรือทำตามคำสั่งจากง่ายไปหายาก เช่น ยกมือขึ้น ยกมือขวาขั้น เลือกชี้หรือหยิบสิ่งของหรือรูปภาพต่างๆ
- ฝึกบอกชื่อคำนาม คำกริยา เพื่อเรียกชื่อคน สิ่งของ กริยาอาการ ที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน แล้วจึงเป็นคำขยายต่างๆ โดยใช้ของจริงหรือรูปภาพเป็นสื่อ ไม่ควรเริ่มต้นสอนคำศัพท์ที่ยากหรือไม่ได้ใช้บ่อยซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกล้มเหลวในการพูด
- ให้นับเลข เรียกชื่อวัน ชื่อเดือน ซึ่งผู้ป่วยมักจะจดจำสิ่งที่เรียกกันเป็นระเบียบได้ดี
- ฝึกให้พูดตามและ/หรือพูดเอง ระดับคำ วลี หรือประโยค
- ฝึกให้ผู้ป่วยอ่านตามหรืออ่านเอง ตั้งแต่ระดับง่ายๆ คือคำพยางค์เดียวที่ผู้ป่วยคุ้นเคย แล้วจึงค่อยๆให้อ่านเป็นคำหลายๆพยางค์ จนถึงระดับประโยค
- ฝึกให้ผู้ป่วยเขียนคำง่ายๆ เช่น บ้าน ข้าว น้ำ หวี ฯลฯ โดยควรมีรูปภาพประกอบเพื่อให้ผู้ป่วยระลึกคำนั้นๆ ได้ด้วย เมื่อผู้ป่วยมีความสามารถเพิ่มขึ้นจึงค่อยให้ฝึกเขียนคำและประโยคที่ยาวขึ้น
- กรณีอาการรุนแรงมากไม่สามารถสอนพูด หรือเขียนได้ให้ใช้กระดานที่เป็นรูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อใช้สื่อความหมาย
- กระตุ้น บริหารอวัยวะในช่องปาก การกลืนน้ำลาย นวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลิ้น ริมฝีปาก กระตุ้นการเป่าลม เป่าน้ำ เป่าเทียน
- กระตุ้นให้ออกเสียงธรรมชาติ เช่น ไอ กระแอม ถอนหายใจ หาว หัวเราะ
- กระตุ้นออกเสียง สระ อา อู อี
- ฝึกออกเสียง คำหรือพยัญชนะที่มีการขยับริมฝีปากซึ่งผู้ป่วยออกเสียงตามได้โดยง่าย เช่น ม ป พ บ ว
- ฝึกร้องเพลงที่ผู้ป่วยชอบและคุ้นเคย
- ฝึกฟังแยกเสียงที่แตกต่างกันมากๆ เช่น ไก่-หมู แล้วพัฒนามาเป็นเสียงที่คล้ายกัน เช่น หมา-ม้า ปลา-หมา ปู-หมู โดยผู้ฝึกออกเสียงใดเสียงหนึ่ง แล้วให้ผู้ป่วยบอกว่าเป็นเสียงใดใน 2 เสียง
การฝึกพูดเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยพูดไม่ชัด Dysarthria
1.ฝึกการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูด
ริมฝีปากและแก้ม
:อ้าปาก-หุบปาก ห่อปากจู๋-ยิงฟัน เป่าลม เป่าน้ำ เป่าเทียน เปาะปาก ออกเสียง ปา ปา ปา/มา มา มา /บา บา บา ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว
ลิ้น:แลบลิ้นเข้าออกจากปาก แกว่งลิ้นซ้ายขวา ให้ลิ้นแตะฟันบนฟันล่างสลับกัน เดาะลิ้น ออกเสียง ตี ตี ตี/ดี ดี ดี/นีนีนี/ที ที ที/ลี ลี ลี/ลา ลา ลา อย่างเร็ว
ขากรรไกร:ฝึกขยับขากรรไกรขึ้นลง หรือทำท่าเคี้ยว
2.ฝึกการหายใจ: จัดท่านั่งให้สบาย หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ ต่อมาฝึกออกเสียงขณะหายใจร่วมด้วย เช่น สระอา อู อี นับเลข 1-10
3.ฝึกลดอัตราเร็วในการพูด: โดยการเคาะจังหวะช่วยให้พูด ตามเสียงเคาะจังหวะแต่ละครั้ง
4.ฝึกเพิ่มความดังของเสียง: ให้ออกเสียงขณะออกแรงดัน ให้ผู้ป่วยพูดในสถานการณ์ที่มีเสียงจอแจ
5.ฝึกการออกเสียง สระ+พยัชนะให้ชัด: โดดเน้นการวางปาก &ลิ้นให้ถูกต้องโดยผู้สอนออกเสียงเป็นตัวอย่าง เริ่มจากเสียงสระก่อน สระเดี่ยว-สระผสม-พยัญชนะเสียงริมฝีปาก (ป ม บ ว) พยัญชนะเสียงลิ้น (ด ล ต น จ ย)พยัญชนะเสียงเสียดสี (ฟ ช ซ ท พ)หรือเสียงควบกล้ำ
คำจำกัดความ
Diadokokinetic test | การทดสอบการทำงานประสานกันของอวัยวะที่ใช้ในการพูดโดยการเคลื่อนไหวซ้ำๆ |
Sequential movement | การเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูดตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอน |
Maximum of phonation time | ช่วงเวลาการเปล่งเสียงที่นานที่สุดใน 1 ช่วงลมหายใจออก |
Receptive language | การแสดงออกทางภาษาได้แก่การพูด และการเขียน |
Expressive language | ความคล่องในการพูด |
Fluency | การใช้คำหรือเสียงอื่นแทนคำหรือเสียงที่ถูกต้อง |
Paraphasia | การพูดที่มีการใช้คำที่มีความหมายและไม่มีความหมายปะปนออกมาในการพูด |
Jargon | การพูดไม่ชัด เนื่องจากมีปัญหาอ่อนแรงและการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดผิดปกติ |
Dysarthria | การไม่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะในการพูดได้อย่างสมบูรณ์ตามที่ต้องการซึ่งไม่มีสาเหตุอัมพาต ประสาทสัมผัสหรือความบกพร่องของความเข้าใจ |
Apraxia of speech | การใช้รูปแบบการสื่อความหมายอื่นนอกเหนือการพูด เช่น การใช้ท่าทาง ภาษามือ รูปภาพ กระดารสื่อความหมายคอมพิวเตอร์ เพื่อทดแทนการสูญเสียความสามารถในการสื่อความหมาย |
Augmentative communication | การฟังเข้าใจคำพูด คำสั่งต่างๆ |
Auditory comprehension | ความผิดปกติของเสียงพูด |
Voice disorders | ความสามารถในการพูดให้ผู้อื่นฟังรู้เรื่อง |
Intelligibility |
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994