Blog Section

ตอนที่144: การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร

การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร

 

ความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดที่เกิดจากรอยโรคในสมองหรือระบบประสาทส่วนปลายสามารถ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ(Dysarthria)
  2. การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia)

วิธีการฝึกพูด

  1. นักกายภาพบำบัดอธิบายเกี่ยวกับการฝึกพูดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วย
  2. ฝึกการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด โดยมีการแสดงให้ดูเป็นตัวอย่างจากนักกายภาพบำบัด
  3. ฝึกให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูดตามที่นักกายภาพบำบัดแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง
  4. ฝึกให้ผู้ป่วยพูดตามในคำหรือพยัญชนะที่นักกายภาพบำบัดบอก ร่วมกับให้มีการ feedback จากนักกายภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำได้ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การฝึกพูดควรเริ่มจากฝึกในสิ่งที่ง่ายก่อน แล้วค่อยเพิ่มระดับความยากขึ้น
  6. การฝึกพูดควรมีระยะเวลา 20-30 นาที

ความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ(Dysarthria)เป็นการพูดไม่ชัดที่เกิดจากความบกพร่องของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำให้กล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดมีการอ่อนแรง เกร็ง หรือทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน ทำให้มีการพูดเสียงเบา พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูกจังหวะและลีลาการพูดช้า

การฝึกพูดในผู้ป่วยที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria)

1)การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด

–  การฝึกทำกิจกรรมเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการพูดจนเหนื่อยและทำกิจกรรมใหม่ต่อ

Dysarthria

 

2) การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน

–  การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์

–  การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี

–  การอ่านหนังสือออกเสียง

3)  พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ ขณะหายใจออก เช่น  เอ……. , อี………… , โอ…………. , อู…………..

4)  การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว คนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ

        2.การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia)เป็นการพูดไม่ชัดที่เกิดจากความบกพร่องของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ทำให้โปรแกรมการเรียงลำดับก่อนหลังของอวัยวะในการพูดเสียไป จึงไม่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดโดยที่ไม่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การพูดไม่ชัดจะพูดไม่ชัดมากหากตั้งใจพูด

การฝึกพูดในผู้ป่วยที่มีการควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia)

1)การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด

1

 

หมายเหตุ : 1 รอบคือการทำ อ้าปาก ยิงฟัน ปากจู๋  เผยอปาก

2)การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ

2

3

3)  การฝึกกิจกรรมการออกเสียงคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตา หู  จมูก ปาก อาบน้ำ กินข้าว ฯลฯ

4

 

 

 

 

  • >>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
  • >>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
  • >> > LINE ID: 0852644994
  • >>> TEL. 085-264-4994

 

Facebook Comments