Blog Section

ตอนที่150: การประเมินประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

การประเมินประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

ในการประเมินประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของความบกพร่อง (Impairment) ความด้อยสมรรถภาพ (Disability) ความด้อยโอกาสทางสังคม (Handicap) หรืออาการทางระบบหายใจ (Symptoms) โดยทำการประเมินก่อนและหลังการรักษาด้วยแบบประเมิน

  • การประเมินคุณภาพชีวิต (Quality of Life)
  1. แบบประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแยกตามมิติการประเมินด้านต่างๆ
วิธีการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม Impairment Disability Handicap Symptoms
Exercise ability        
 Incremental exercise tests /      
 Submaximal exercise tests /      
 Walking tests   /    
General health status        
 Sickness Impact Profile (SIP)   / /  
 Quality of Well Being Scale (QWM)   / /  
 Medical Outcome Study, Short – Form 36   / / Pain
 Respiratory – specific health status        
 St.George’s Respiratory Questionnaire (SGRQ)   / / Dyspnea
Chronic Respiratory Disease Questionnaire (CRQ)   / / Fatiques
Respiratory – specific functional status        
 Pulmonary Functional Status and Dyspnea Questionnaire (PFSDQ) / / / Dyspnea
 Pulmonary Functional status Scale (PFSS) / / / Dysp/Fatique
 Clinical COPD questionnaire (CCQ) /      
Exercise dyspnea        
 Visual analog scale during exercise testing       Dyspnea/Fatiques/Pain
 Category rating (Borg) during exercise      
Overall dyspnea        
 Medical Research Council Scale (MRC)   /    
 Baseline and Transitional Dyspnea Indexes (BDI)   /    

ข้อมูลดัดแปลงและอ้างอิงจาก American Thoracic Society; Pulmonary Rehabilitation; 1999

  1. แบบสอบถามทางคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Clinical COPD Questionnaire)
ในช่วง 7 วัน หรือ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บ่อยแค่ไหนที่คุณมีอาการ หรือความรู้สึกต่อไปนี้ ไม่เคยเลย แทบจะไม่เคยเลย นานๆครั้ง หลายครั้ง บ่อยๆ บ่อยมากๆ เกือบตลอดเวลา
1.หายใจลำบากขณะพัก 0 1 2 3 4 5 6
2.หายใจลำบากขณะที่กำลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง 0 1 2 3 4 5 6
3.กังวลว่าจะเป็นหวัดหรือการหายใจของคุณจะแย่ลง 0 1 2 3 4 5 6
4.หดหู่ (หม่นหมอง) เพราะปัญหาการหายใจของคุณ 0 1 2 3 4 5 6
5.คุณไอบ่อยแค่ไหน 0 1 2 3 4 5 6
6.คุณมีเสมหะบ่อยแค่ไหน 0 1 2 3 4 5 6
ในช่วง 7 วัน หรือ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ปัญหาการหายใจไปจำกัดการทำกิจกรรมเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ไม่เลย น้อยมาก บ้าง ปานกลาง มาก อย่างมากๆ สิ้นเชิง
7.กิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เช่น ขึ้นบันได เวลาทำอะไรรีบๆ หรือเล่นกีฬา เป็นต้น 0 1 2 3 4 5 6
8.กิจกรรมที่ต้องใช้แรงปานกลาง เช่น เดิน ทำงานภายในบ้าน หรือหิ้วของเป็นต้น 0 1 2 3 4 5 6
9.กิจวัตรประจำวันที่บ้าน เช่น แต่งตัว หรืออาบน้ำเป็นต้น 0 1 2 3 4 5 6
10.การทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น เช่น พูดคุย อยู่กับเด็กๆ เยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติเป็นตัน 0 1 2 3 4 5 6

แบบสอบถามนี้ได้แปลเป็นภาษาไทยและได้รับอนุญาตจาก นายแพทย์ Prof. wen der Molen ให้เผยแพร่เอกสารนี้ได้

 

ใช้สูตรคำนวณคะแนนดังนี้

[(คะแนนรวมในหัวข้อ1, 2, 5, 6) x4]+[ (คะแนนรวมในหัวข้อ 7-10) x4]+[ (คะแนนรวมในหัวข้อ3 และ 4) x4]

10

***คะแนนรวมที่สูง แสดงถึงคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ส่วนคะแนนรวมที่ต่ำแสดงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีมาก

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

 

Facebook Comments