ตอนที่153: อุปกรณ์ดามกันเท้าตกในแบบต่างๆ
อุปกรณ์ดามกันเท้าตกในแบบต่างๆ
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอกเลือดสมองมีปัญหาในการเดิน เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบังคับควบคุมกล้ามเนื้อขา ได้แก่ อาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก (spasticity) และความบกพร่องในการรับความรู้สึก proprioceptive ปัญหาบางอย่างสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้กายอุปกรณ์ขา ซึ่งจะทำหน้าที่ประคองหรือดาม (supportive,stabilizing) ป้องกันไม่ให้มีการขยับข้อในบางทิศทาง เช่น ป้องกันข้อเท้าไม่ให้มี plantar flexion ในช่วงที่ก้าวเท้า (swing phase) หรือป้องกันไม่ให้เข่าทรุดในช่วงที่เท้าข้างนั้นสัมผัสพื้น (stance phase) นอกจากช่วยประคองแล้ว กายอุปกรณ์ยังทำหน้าที่ทดแทนกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงด้วย เช่น ช่วยให้กระดกข้อเท้าขึ้น เป็นต้น
กายอุปกรณ์ประคองขาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ankle-foot orthosis (AFO) ซึ่งเดิมเรียกว่า short leg brace ส่วน knee-ankle-foot orthosis (KAFO) หรือ long leg brace ไม่ค่อยมีที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากมีขนาดใหญ่เทอะทะ น้ำหนักมากสวมใส่ยาก และใช้พลังงานในการเดินมาก
ชนิดของ AFO
1.ชนิดพลาสติก
ทำจากพลาสติกซึ่งอ่อนตัวได้ในอุณหภูมิ จึงสามารถหล่อและดัดให้มีรูปทรงพอดีกับขามีข้อดีคือน้ำหนักเบา ดูสวยงาม สวมไว้ในรองเท้าได้ ข้อห้ามใช้คือกรณีที่เท้าบวมหรือกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกมาก เพราะอาจมีการกดจนเกิดแผล และต้องระวังในรายที่มีความบกพร่องในการรับความรู้สึก
AFO ชนิดพลาสติกที่นิยมใช้มี 3 แบบ ได้แก่
- Posterior leaf spring (PLS)
ข้างหน้าเล็กน้อย เมื่อเท้ายกขึ้นจากพื้น พลาสติกที่แอ่นจะดีดกลับทำหน้าที่คล้ายสปริงช่วยแก้ปัญหาเท้าตกและเท้าจิกลงในช่วงที่ยกก้าวขา (swing phase) เนื่องจากพลาสติกที่ประคองข้อเท้าแคบและอยู่เฉพาะด้านหลัง จึงไม่ช่วยเพิ่มความมั่งคงในแนว mediolateral กายอุปกรณ์ชนิดนี้มีจำหน่ายแบบสำเร็จรูป มีราคาค่อนข้างแพง
- Solid ankle AFO
มีลักษณะคล้าย PLS ส่วนที่แตกต่างกันคือแผ่นที่ประคองน่องและข้อเท้ากว้างกว่า PLS มาก ขอบหน้าของ Solid ankle AFO คุมตาตุ่มทั้งด้านในและด้านนอก ทำให้สามารถบังคับข้อเท้าให้อยู่นิ่งได้ โดยป้องกันทั้ง dorsiflexion, plantarflexion, inversion และ eversion เนื่องจากต้องมีขนาดพอดีกับข้อเท้าและน่อง จึงต้องทำเฉพาะสำหรับแต่ล่ะคน
- Floor reaction (Salteal) orthosis
เป็นแผ่นพลาสติกที่ประคองตั้งแต่ patella จนถึง metatarsal heads ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ข้อเท้ามี dorsiflexion และล็อกให้เข่าเหยียดในช่วงที่เท้าสัมผัสพื้น (stance phase) ช่วยแก้ปัญหาเข่าทรุด
- ชนิดโลหะ
เป็นกายอุปกรณ์ที่ใช้กันมานานแล้ว ประกอบด้วยแกนโลหะ 2 แกน ดามด้านนอกและด้านในของขา ติดกับข้อโลหะซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับข้อเท้าของผู้สวมใส่ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถสวมใส่ชนิดพลาสติกได้
2.1 รองเท้า
ที่เป็นส่วนประกอบของ AFO ชนิดโลหะต้องเป็นรองเท้าที่แข็งแรงและทนทานนิยมใช้รองเท้าที่เรียกว่า orthopaedic shoes ซึ่งเป็นรองเท้าหนังหุ้มส้น มีแกนเป็นเหล็ก (steel shank) และเพิ่มความแข็งแรงของผนังด้าน medial (medial long counter) เพื่อให้รองรับส่วน longitudinal arch ของเท้าได้ดี พื้นรองเท้าทำจากยางเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและเกาะพื้นทางเดินได้ดี ขอบหน้าของยางส้นรองเท้ามีส่วนยื่นทาง medial เรียกส้นแบบนี้ว่า Thomas heel รองเท้าต้องมีขนาดพอดี เพื่อให้รองเท้ารองรับการลงน้ำหนักและประคองส่วนส้นเท้าและ longitudinal arch ได้ดี หากไม่พอดีอาจต้องหล่อพลาสติกประกบไว้ด้านในรองเท้าอีกชั้นหนึ่ง
2.2 ข้อโลหะ
เป็นส่วนที่เชื่อมต่อจากโครงโลหะใต้พื้นรองเท้า (stirrup) กับแกนตั้งที่เป็นโลหะ 2 แกน (double upright bars ) ข้อโลหะนี้มีตัวควบคุมแบบแกนเดียวและแบบแกนคู่ ตัวควบคุมแบบแกนเดียว (single channel) มีสปริงช่วยในการทำ dorsiflexion และเสียบหมุดไว้ป้องกันไม่ให้มี plantar flexion เรียกว่า ข้อแบบ klensak ส่วนแบบแกนคู่หรือ double-action joint มีหมุดป้องกันทั้งแบบ dorsiflexion และ plantar flexion สามารถปรับมุมการขยับของข้อโลหะได้โดยเปลี่ยนตำแหน่งที่เสียบหมุด
2.3 แกนโลหะ
มักทำจากอลูมิเนียม นิยมใช้แบบ 2 แกน ต่อระหว่างข้อโลหะบริเวณใกล้ข้อเท้ากับแทบรัดน่อง ช่วยบังคับไม่ให้มีการขยับของเท้าและข้อเท้าในแนว mediolateral บางกรณีต้องเพิ่มสายรัดช่วยดึงรั้งไม่ให้ข้อเท้าตะแคงในท่า varus หรือ valgus สายรัดที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ varus collection T-strap ติดจากขอบของส้นรองเท้าด้านนอกไปยึดกับแกนโลหะทางด้านใน เพื่อรั้งไม่ให้ข้อเท้าพลิกเข้าใน
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: @firstphysio
>>> TEL. 085-264-4994