ตอนที่162: เอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (ACL-Anterior Cruciate Ligament)
เอ็นไขว้หน้าข้อเข่า
(ACL-Anterior Cruciate Ligament)
กายวิภาคของข้อเข่า
ข้อเข่า ประกอบด้วย กระดูกฟีเมอร์ (Femur) กระดูกทิเบีย (Tibia) กระดูกสะบ้าด้านหน้าข้อเข่า (Patella)
บริเวณที่กระดูกทั้ง 3 ชิ้น สัมผัสกันจะมีผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน (Articular cartilage) คลุมอยู่และภายในข้อคลุ่มด้วย เยื่อบุข้อ (Synovial membrane) ระหว่างผิวข้อกระดูกพฟีเมอร์ และกระดูกทิเบีย มีหมอนรองข้อเข่ารูปร่างคล้ายตัว C รองอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในซึ่งทำหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทรกบนผิวข้อเข่า และช่วยเสริมความแข็งแรงของ ข้อเข่า และช่วยให้น้ำหล่อลื่นข้อเข่าไปเคลือบผิวข้อได้ดีขึ้น ความมั่นคงของข้อเข่าขึ้นอยู่กับกระดูกฟีเมอร์และกระดูก ทิเบีย ที่ประกอบเป็นข้อเข่าที่ยังมีลักษณะปกติไม่แตกไม่ทรุด หมอนรองกระดูกข้อเข่าและเอ็นที่ยึดข้อเข่า รวมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ข้อเข่า
กล้ามเนื้อที่สำคัญ คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าที่ทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า เรียก Quadriceps muscles และกล้ามเนื้อที่อยู่ต้นขาด้านหลัง เรียก Hamstring muscles ถ้าส่วนต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเสียไป หรือทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติก็จะเสียความมั่นคงของข้อเข่า
ความมั่นคงของข้อเข่า จากเอ็นใหญ่ 4 เส้น
1. เอ็นเข่าด้านนอก (Lateral collateral ligament)
2. เอ็นเข่าด้านใน (Medial collateral ligament)
3. เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament)
4. เอ็นไขว้หลัง (Posterior cruciate ligament)
เอ็นเข่าด้านนอก, ด้านใน ช่วยป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เอียงไปด้านข้าง
เอ็นไขว้หน้า ป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เลื่อนไปด้านหน้า
เอ็นไขว้หลัง ป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เลื่อนตกไปด้านหลัง
ภยันตรายที่เข่าปิดอย่างรุนแรงหรือภาวะที่ทำให้เข่าเคลื่อนมากกว่าปกติ เช่น ล้ม เสียหลัก ถูกกระแทรก เข่าเหยียดจนแอ่นไปทางด้านหลังหรือด้านข้างมากเกินไป จะทำให้เอ็นใหญ่ที่ยึดข้อเข่าฉีกขาดได้ อาจจะมีการฉีกขาดเพียงอันเดียวหรือหลายอัน หรือมีการบาดเจ็บร่วมกับผิวข้อแตก, หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดร่วมด้วยก็ได้
เอ็นไขว้หน้าเป็นเอ็นยึดข้อเข่าที่สำคัญภายในเข่า ช่วยให้มีความมั่นคงของเข่า ในการบิดหรือหมุนข้อเข่า( Rotational stability )คนที่ไม่มีเอ็นไขว้หน้า เมื่อบิดข้อเข่าจะรู้สึกเข่าอ่อนจะล้ม เกิดอาการปวดเข่า และอาจจะมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนผิวข้อร่วมด้วย ถ้าเข่าเสียความมั่นคงเกิดอาการบิดเช่นนี้บ่อย ๆ จะทำให้การบาดเจ็บของหมอนรองข้อและผิวข้อมากขึ้น กลายเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยเอ็นไขว้หน้า ( Anterior cruciate ligament – ACL)เป็นเอ็นที่อยู่ในข้อเข่า ช่วยป้องกันกระดูกทีเบีย (Tibia) เคลื่อนที่ไปข้างหน้าใต้กระดูกฟีเมอร์(Femer) เอ็นไขว้หน้า จะตึงเวลาเหยียดเข่า แรงบิดหมุนที่รุนแรงทำให้เอ็นไขว้หน้าขาดได้ และความมั่นคงของเข่า ที่ป้องกันไม่ให้กระดูกทีเบีย(Tibia) เลื่อนไปข้างหน้าใต้เข่า หรือบิดหมุน ก็จะเสียไป ถ้าไม่ได้รับการรักษา หมอนรองข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนผิวข้อ ก็จะได้รับแรงที่ผิดปกติมากเกิน ทำให้ข้อเสียเกิดภาวะข้อเสื่อมได้
อาการแสดง
อาการในระยะแรกได้แก่ การมีข้อเข่าบวม เนื่องจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ต่อมาผู้ป่วยจะรู้สึกว่าข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคง มีอาการเข่าพลิกหรือข้อเข่าเคลื่อนออกจากกัน โดยเฉพาะเวลาบิดขา หรือเดินผิดท่าทาง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถวิ่งซิกแซ็กได้ หรือวิ่งแล้วจะหยุดทันทีทันใดไม่ได้เนื่องจากข้อเข่าจะเคลื่อน บางทีอาจจะเข่าหลุดเลยก็มี ในรายที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ซึ่งพบร่วมกันได้ คนที่เอ็นขาดแล้วยังเล่นกีฬาต่อไป จะมีอาการเจ็บตามแนวข้อต่อหรือมีอาการข้อเข่าติดร่วมด้วย บางทีเข่าล็อก
ความรุนแรงของการฉีกขาดของเอ็น แบ่งได้เป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 มีการฉีกขาดภายในเนื้อเยื่อของเอ็น แต่เอ็นยังไม่ยึดหรือขาดให้เห็นชัดเจน
ระดับที่ 2 เอ็นฉีกขาดบางส่วน
ระดับที่ 3 เอ็นฉีกขาดแยกออกจากกันทั้งหมด
การจำแนกลักษณะของการบาดเจ็บเส้นเอ็น
- การบาดเจ็บระดับ 1 grade 1 sprain ( mild or first-degree)
การบาดเจ็บแบบนี้จะเกิดมีการฉีกขาดบางเส้นใยของส่วนในเนื้อเอ็นและมีเลือดออกเกิดขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ดีไม่ทำให้เกิดการเสียสมรรถนะของเอ็นไปมาก (functional loss ) เส้นเอ็นไม่เสียความแข็งแรง การรักษาใช้แบบตามอาการ
- การบาดเจ็บระดับ 2 grade 2 sprain ( moderate or second – degree)
ลักษณะการบาดเจ็บจะมีการฉีกขาดของตัวเส้นเอ็นบางส่วน ผู้ป่วยจะมี functional loss เช่นเจ็บมากเดินลำบากหรือเดินไม่ไหว อาการแสดงจะมีอาการปวด บวม เจ็บ มีรอยเขียวช้ำชัดเจน และใช้เวลา 2-3 สัปดาห์จึงจะค่อยๆยุบบวม ข้อต่อจะยังคงมีความแข็งแรงมั่นคงอยู่ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถกลับไปเล่นกีฬาที่ชอบหากรักษาได้ถูกต้องและรวดเร็วรวมถึงการระมัดระวังการใช้ข้อในช่วงรักษาโดยที่จะต้องกายภาพบำบัดรักษาการเคลื่อนไหวขัอต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อและไม่รีบกลับไปเล่นจนกว่าเอ็นนั้นจะหายสนิทโดยทั่วไปจะใช้เวลารักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์เอ็นที่บาดเจ็บจะสมานและประมาณว่าใช้เวลาประมาณ 4 เดือนเอ็นจึงหายสมบูรณ์ดี
- การบาดเจ็บระดับ 3 grade 3 sprain ( severe or third – degree)
การบาดเจ็บแบบนี้ก่อให้เกิดการเสียสมรรถภาพของตัวเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บกล่าวคือจะมีการฉีกขาดของเอ็นทำให้เส้นเอ็นไม่มีความต่อเนื่อง ( Complete tears) ซึ่งจะขาดที่ตัวเอ็นหรือที่ๆเอ็นเกาะกับกระดูกก็ได้ ลักษณะการบาดเจ็บแบบนี้ทำให้มีการหลวมหลุดของข้อต่อเกิดความไม่มั่นคงขึ้น (instability) การรักษาโดยมากมักจะต้องอาศัยการทำผ่าตัดซึ่งมีหลายแบบตั้งแต่ผ่าตัดเย็บซ่อม (primary repair) ไปจนถึงการผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ (reconstruction)
การวิเคราะห์โรค (Investigations)
เอ็นไขว้หน้าขาดเพียงอย่างเดียวมักไม่ทำให้เกิดอาการปวด นอกจากมีอาการ 2 – 3 สัปดาห์แรก หลังเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาของเอ็นไขว้หน้าขาดเกิดจากเข่าไม่มีความมั่นคง เวลารับน้ำหนักแล้วบิดเข่า (เช่น เวลาเดินจะเลี้ยว หรือเปลี่ยนทิศทาง) การวิ่งหรือขี่จักรยานยังสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหามากนักแต่กิจกรรมที่ต้องการความว่องไว และมีการบิดหมุนเข่า มักจะทำไม่ค่อยได้ถ้าไม่มีเอ็นไขว้หน้ายึดเข่าให้มั่นคง
การตรวจพบทางด้านการแพทย์
1. ตรวจน้ำหรือเลือดออกในข้อเข่า ซึ่งจะพบภายในข้อเข่าที่บวมมาก
2. ตรวจความมั่นคงด้านข้างข้อเข่า
3. ตรวจความมั่นคงในแนวหน้า – หลังของข้อเข่า
4. ตรวจการเคลื่อนไหว, หมุนเข่า เพื่อดูว่าหมอนรองข้อเข่าขาดหรือไม่
- เอ๊กซเรย์ข้อเข่าเพื่อดูว่ามีลักษณะกระดูกหักข้อเคลื่อนหรือไม่ การเอ็กเรย์ สามารถทำให้ทราบถึงการบาดเจ็บร่วมที่มีต่อกระดูกเช่นกระดูกหักหรือเตกร้าว แต่ไม่สามารถมองเห็นเส้นเอ็นที่ขาดได้โดยตรงแต่อาจดูได้โดยอ้อมก็คือดู ลักษณะของข้อที่อ้าออกมากกว่าปกติซึ่งบ่งบอกถึง grade 3 หรือเอ็นหลายเส้นบาดเจ๊บ การเอ็กเรย์ควรทำในกรณีที่ผู้ป่วยมี disability หรือ functional loss หรือมี swelling หรือ hematoma, echimosis ที่ชัดเจน
นอกเหนือจากเอ็กเรย์เป็นที่น่ายินดีที่ว่าในปัจจุบันนี้มีการใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magmatic resonance ) มาช่วยให้การวินิจฉัยได้ละเอียดแม่นยำขึ้นอันได้แก่ความสามารถในการดู พยาธิสภาพของ กระดูกอ่อน หมอนรองข้อเข่า เส้นเอ็นทั้งภายในและภายนอก กล้ามเนื้อ และการบาดเจ็บของเนื้อกระดูก ที่เอ็กเรย์ธรรมดาไม่สามารถทำได้ อันจะทำให้ทราบถึงการวางแผนการรักษารวมไปถึงการพยากรณ์โรคด้วย อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังคงมีราคาแพงและใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการตรวจ นอกจากนี้การให้บริการเครื่องในการตรวจยังมีไม่แพร่หลายสามารถตรวจได้ตามโรง พยาบาลใหญ่ที่เป็นระดับโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่หรือ ตามศูนย์ MRI ของเอกชน
- การตรวจภายใต้การดมยาสลบและการผ่าตัด ส่องกล้อง วิธีการนี้มักใช้กับการรักษาที่มีความรุนแรงสูงเพื่อที่จะประเมินการบาดเจ็บ และทำผ่าตัดรักษาหรือผ่าตัดแก้ไขหรือสร้างเอ็นโดยมีการใช้การส่องกล้องเพื่อ ตรวจดูความผิดปกติภายในข้อเข่าและในขณะเดียวกันสามารถทำการผ่าตัดรักษาหรือ ผ่าตัดเสริมสร้างเอ็นไปพร้อมกันได้เลยโดยใช้เครื่องมือที่ออกแบบมาพิเศษให้ ทำการรักษาได้โดยใช้กล้อง ข้อดีของการรักษาแบบนี้ก็คือแผลจากการผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก เห็นพยาธิสภาพชัดเจน
จะรักษาเส้นเอ็นที่ขาดได้อย่างไร
เมื่อเอ็นไขว้หน้าของเข่าขาด แพทย์จะไม่แนะนำให้เย็บซ่อมเข้าหากัน แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันที โดยไม่ได้ปล่อยให้เรื้อรัง เนื่องจากผลการรักษาไม่ดี เอ็นไขว้หน้าที่เย็บซ่อมโดยตรง จะไม่แข็งแรง และมักจะขาดซ้ำเมื่อกลับไปใช้งานตามปกติ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ในการรักษาเอ็นไขว้หน้าที่ขาด โดยการใช้เส้นเอ็นใหม่ใส่เข้าไปแทนเอ็นเส้นเดิม โดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้งานเข่าของผู้ป่วย
เอ็นไขว้หน้าขาดไม่สามารถต่อเองได้ ถ้าต้องการความมั่นคงของเข่าที่มีการบิดหมุนร่วมด้วย ต้องสร้างเอ็นไขว้หน้าขึ้นมาใหม่ มีเอ็นที่นำมาสร้างแทนเอ็นไขว้หน้า มาได้จาก 3 แห่ง
1. ใช้เอ็นจากกล้ามเนื้อด้านหลังข้อเข่า (Hamstring tendons )
2. ใช้บางส่วนของเอ็นลูกสะบ้า (Kneecap or patellar tendon)
3. ใช้เอ็นจากที่อื่น ที่ไม้ใช่จากตัวผู้ป่วยเอง (Allograft)
รักษาได้ในทันทีหรือวางแผนการรักษาได้ การฟื้นตัวกลับมาสู่สภาวะปกติเร็วมาก ขยับงอข้อได้เร็ว การอักเสบของแผลภายหลังผ่าตัดมีน้อยกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิมมาก โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อย สามารถใช้ติดตามการรักษาได้ วิธีการนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีราคาแพงและต้องใช้ทักษะในการผ่าตัด สูงไม่สามารถให้การรักษาได้ทุกโรงพยาบาล
การรักษา
การบาดเจ็บระดับ 1 แนะนำว่าให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาเบื้องต้นทำได้โดยใช้หลักการ ” RICE”
กล่าว คือ R = rest คือการหยุดพักและงดจากการเล่น
I = ice คือ การใช้ความเย็นโดยใช้น้ำแข็ง
C = compression คือการประคบด้วยความเย็นเพื่อลดปวด ลดบวม
E = elevation คือการทำให้ส่วนที่บาดเจ็บยกสูงในที่นี้ก็คือยกขาสูงเพื่อที่จะช่วยลดการบวม จากนั้นหากเดินลงน้ำหนักไม่ได้ให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน
การบาดเจ็บ ระดับ 2การรักษานอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหากข้อเข่าบวมมากในช่วงแรกอาจต้อง พัน compressive dressing ไว้ในช่วงแรกเพื่อ immobilization จากนั้นเมื่อยุบบวมก็มาประเมิณการบาดเจ็บซ้ำอีกครั้งหรือจะต้องส่ง investigation เพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษาหากเป็นแค่ sprain ของ MCL หรือ LCL ก็ใช้เป็น knee brace หรือ knee support หรือ strapping ก็ได้
การ บาดเจ็บระดับ 3 โดยมากการรักษายังคงเป็นการทำผ่าตัดเพื่อเข้าไปซ่อมโดยตรงยกเว้นเอ็นไขว้ หน้า และ ไขว้หลังซึ่งผลของการผ่าตัดทำการเย็บซ่อมทราบแล้วว่าได้ผลไม่ดีไปกว่าการผ่า ตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ ส่วนเอ็นประกับเข่าด้านในหากบาดเจ็บระดับนี้สามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้ การรักษาจะใส่เฝือกไว้จากนั้นเปลี่ยนเป็น knee brace ที่ปรับองศาได้แต่หากบาดเจ็บร่วมกับเอ็นเส้นอื่นในกรณีที่เป็น knee dislocation และมี multiple ligaments injuries แนะนำทำการผ่าตัดซ่อม หากพบร่วมกับ ACL ควรรักษา MCL ให้ดีก่อนโดยการ conservative จากนั้นจึงค่อยพิจรณาทำ ACL reconstruction โดยวิธีการนี้จะลดปัญหา ข้อเข่าติดภายหลังการผ่าตัดได้มาก
กล้องส่องข้อ หรือ Arthoscope เป็นเครื่องมือพิเศษที่มีกล้องลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายตะเกียบ ขนาดประมาณ 2 ถึง 5 มิลลิเมตร ยาวประมาน 20 – 30 เซนติเมตร สำหรับการส่องตรวจดูพยาธิสภาพของข้อ อาทิ ความผิดปกติของเยื่อหุ้มข้อเข่า การฉีกขาดของเส้นเอ็นและกระดูกอ่อน ช่วยค้นหาสาเหตุของอาการบาดเจ็บและโรคต่าง ๆ รวมถึงใช้ในการผ่าตัดข้อต่าง ๆ โดยการเจาะรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 เซนติเมตร ราว 2-3 รู (ไม่ต้องเปิดเป็นแผลขนาดใหญ่) เพื่อใส่อุปกรณ์ และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ โดยแสดงภาพที่จอคอมพิวเตอร์ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคกระดูกและข้อได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากแพทย์จะสามารถเห็นพยาธิสภาพของโรคภายในข้อได้โดยตรง โดยทำการรักษาทางบาดแผลที่เจาะเป็นรูเล็ก ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง หลังการผ่าตัด ทำให้บาดแผลหายเร็ว โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน ซึ่งฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเก่า แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดไม่มากนักก็สามารถรับประทานยาระงับอาการปวดได้ และสามารถกลับบ้านได้เลย
การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic surgery)
เป็นการตรวจภายในข้อเข่า จะได้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องชัดเจน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการฉีดยาเข้าในเยื่อหุ้ม ไขสันหลังเพื่อให้ส่วนล่างของร่างกายชา ผู้ป่วยสามารถรับการผ่าตัดรักษาได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ใช้แผ่นรัดห้ามเลือดบริเวณ ต้นขา เพื่อที่ไม่ให้เลือดออกมากระหว่างการผ่าตัดรักษา เจาะรูบริเวณด้านหน้าเข่าชิดกับเอ็นลูกสะบ้า ใส่ท่อโลหะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 มิลลิลิตร ซึ่งมีเลนส์และท่อนำแสงส่องเข้าไปในข้อเข่าสามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า โดยต่อภาพเข้ากับจอทีวีได้ ซึ่งจะเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า จะเป็นภาพขยายจากของจริงประมาณ 5 ถึง 10 เท่า สามารถจะอัดเป็นภาพวีดีโอ เพื่อมาดูภายหลังการผ่าตัดได้
ในการตรวจโดยวิธีส่องกล้อง จะเห็นพยาธิสภาพต่าง ๆ ในข้อเข่า เช่น ผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน, เอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลัง, หมอนรองข้อเข่า, เยื่อบุข้อ เพื่อพบพยาธิสภาพหรือการผิดปกติก็สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น การทำผิวข้อให้เรียบ การเอาส่วนของหมอนรองข้อเข่าขวาออกรวมทั้งการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลังได้
การรักษาหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยจะได้รับการพันเข่าด้วยสำลีหนา ๆ แล้วรัดด้วยผ่ายืดให้แน่นเพื่อไม่ให้บวมประมาณ 3 – 4 วันหลังจากนั้น ให้ผู้ป่วยเริ่มบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่าได้
อย่างไรก็ตามการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เป็นการแก้ ปัญหาข้อเข่าหลวมได้ดี อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาประมาณ 8 เดือน กว่าเส้นเอ็นใหม่จะแข็งแรงพอที่เราจะสามารถกลับมาวิ่งหรือเล่นกีฬาได้ และเราไม่สามารถที่จะทำให้เส้นเอ็นใหม่นี้แข็งแรงเท่าเส้นเอ็นดั้งเดิมได้ส่วนใหญ่แล้ว มักจะผ่าตัดในคนอายุน้อยอยู่ และต้องการกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ผ่าตัดแล้ว ต้องขยันทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อกลับมาให้ได้ปกติ ผลการรักษาจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด
การรักษาเพิ่มเติม
ใน ทุกระดับของการบาดเจ็บควรจะต้องให้ยา ลดปวด พวก Analgesics เช่น paracetamal ยากลุ่ม NSAIDS เพื่อลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ (tissue inflammation) การกายภาพบำบัดอันได้แก่ การประคบด้วยความร้อน การเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆเข่า การบริหารกล้ามเนื้อเมื่ออยู่ในเฝือก
เวลาที่เหมาะสมในการกลับไปเล่นกีฬาใหม่
ควร ที่จะต้องรอให้เอ็นที่รักษาหายสนิทดีเสียก่อนโดยดูได้จาก การงอ การเหยียดข้อจะต้องไม่ติดขัด ข้อจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงที่พอเพียง สามารถวิ่งได้ กระโดดโดยไม่เจ็บเมื่อใช้ข้อข้างนั้น สามารถวิ่งซิกแซกเป็นรูปเลข 8 ได้ และควบคุมการหยุดได้ดีในขณะวื่ง นอกจากนี้ขนาดกล้ามเนื้อรอบเข่าต้องได้ใกล้เคียงเข่าข้างปกติ
โดย ทั่วไปมักจะใช้เวลา 3-4 เดือนในการบาดเจ็บระดับ 2 ส่วนระดับ 3 อาจใช้เวลายาวนานกว่าขึ้นอยู่กับความรุนแรง วิธีการรักษา ชนิดของวัสดุที่ใช้ผ่าแทนเอ็น โดยทฤษฎีแล้วเอ็นไขว้หน้าหลังจากผ่าตัดจะมีสภาพแข็งแรงพอที่จะออกกำลังกาย เบาได้ที่ 6 เดือนหายสมบูรณ์ที่ 9 เดือนเมื่อใช้เอ็นลูกสะบ้ามาใช้ทดแทน
การบาดเจ็บจากการกีฬาเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะการบาดเจ็บของนักกีฬาซึ่งเป็นความหวังของทีมหรือนักกีฬาอาชีพ จากสถิติพบว่าการบาดเจ็บที่บริเวณข้อเข่านั้นมีอุบัติการณ์ที่เกิดการบาด เจ็บสูงมาก โดยเฉพาะบริเวณเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าในนักกีฬาฟุตบอล ซึ่งปัจจุบันเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง การรักษาของแพทย์ในปัจจุบันถ้าไม่ผ่าตัดจะแนะนำให้สร้างความแข็งแรงของกล้าม เนื้อต้นขา แต่ในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดแพทย์นิยมใช้วิธีผ่าตัด 2 วิธีคือวิธีแรกนำเอ็นที่1/3กึ่งกลางลูกสะบ้ามาใช้ทดแทนเอ็นที่ขาด อีกวิธีคือการนำเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมาทดแทน
การ รักษาการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดนั้นมีความหลากหลายซึ่งแต่ละวิธี นั้นจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีขั้นตอน วิธีการฟื้นฟูที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดปัญหา การบาดเจ็บเรื้อรัง และการบาดเจ็บซ้ำซ้อน จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อในน้ำช่วยลดการอักเสบบวมรวมถึงหน้าที่ การทำงานของข้อต่อดีกว่าการฟื้นฟูบนบกภายหลังการผ่าตัด 8 สัปดาห์ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะนำการฟื้นฟูด้วยการออกกำลังกายในน้ำ ในการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะแรก หลังจากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว 2 วัน ซึ่งผู้ป่วยยังไม่สามารถลงน้ำหนักได้เต็มที่
ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า ที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา มุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ระดับความเจ็บปวด เส้นรอบวงของข้อเข่าระหว่างการออกกำลังกายในน้ำลึก กับการออกกำลังกายเพื่อการรักษาโดยทั่วไปภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการอาสาสมัคร แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มโดยการจัดเข้ากลุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 10 คน กลุ่มที่ 1 ให้โปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำลึก กลุ่มที่ 2 ให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาทั่วไป 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริก วัดมุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่า วัดระดับความปวด และวัดเส้นรอบวงข้อเข่า ก่อนการผ่าตัดและภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์
ผลการวิจัยพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาท่าเหยียดและท่างอ มุมการเคลื่อนไหวท่างอข้อเข่า และ เส้นรอบวงของข้อเข่า ก่อนและภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสองกลุ่ม และจากการเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายระหว่างกลุ่มการออกกำลังกายในน้ำลึก และ การออกกำลังกายเพื่อการรักษาทั่วไป พบว่า มุมการเคลื่อนไหวท่าเหยียดและงอข้อเข่า และระดับความเจ็บปวด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการออกกำลังกายในน้ำจะช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อน ไหวของผู้ป่วย และลดระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าระยะเฉียบพลัน
ตัวอย่างท่าการออกกำลังกายในน้ำลึก
สำหรับการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าระยะเฉียบพลัน
หมายเหตุ การออกกำลังกายในน้ำลึกควรเลือกสระที่มีระดับน้ำลึกโดยที่เมื่อลอยตัวอยู่บนอุปกรณ์
(โฟมเส้น ช่วยลอยตัว)แล้วเท้าไม่แตะพื้น
การป้องกัน
1 ฝึกทักษะในกีฬาที่จะเล่นและหลีกเลี่ยงการประทะที่รุนแรง ในประเทศไทยจากการสังเกตของผู้เขียนที่มีโอกาสรักษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บ ของข้อเข่าจากการเล่นกีฬา (มากกว่า 200 รายต่อปี) โดยพบว่ามีสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นฟุตบอลมากที่สุด
2 ฝึกซ้อมให้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อรอบเข่า quadriceps และ hamstrings
3 ฝึกซ้อมให้มีความยืดหยุ่นของร่างกายและการฝึกเกี่ยวกับการทำงานประสาน (coordination) และการทรงตัว
4 มีการอบอุ่นร่างกายก่อนและภายหลังการเล่นร่วมกับทำ stretching exercise ของกล้ามเนื้อรอบเข่าก่อนการลงเล่น
อุปกรณ์ป้องกันบาดเจ็บ / อุบัติเหตุกีฬาสำหรับนักกีฬา
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994