ตอนที่163: กิจกรรมทำเพื่อเท้าให้ห่างไกลจากโรครองช้ำ
กิจกรรมทำเพื่อเท้าให้ห่างไกลจากโรครองช้ำ
‘อวัยวะเท้า’ จะมีอายุการใช้งานยาวนานหรือสั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลของเราด้วยหากเราใช้เท้ามากไปแต่กลับไม่มีการดูแลรักษาอย่างดีสุขภาพของเส้นเอ็นที่ฝ่าเท้าจะทำให้เอ็นฝ่าเท้าฉีกขาดได้
โรครองช้ำมีชื่ออีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า plantar fasciitis เกิดได้ในวัยทำงาน คนอ้วนหรือคนน้ำหนักตัวมาก และ ผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการเกิดได้ในหญิงมากกว่าชายโดยมีสาเหตุดังนี้คือ
- ใช้เท้ามากไป สาเหตุนี้มักเกิดในวัยทำงานหนักอาจจะเดินมากไปหรือยืนมากไปแล้วแต่อาชีพอย่างพนักงานขนของ เลขาธิการ นักธุรกิจ เป็นต้น
- เสื่อมตามอายุ วัยกลางคนอายุ 40 ปีขึ้นไปเป็นวัยที่เสี่ยงมากที่สุดเพราะใช้งานมานานแต่จะไม่ค่อยพบในคนที่ไม่ค่อยยืนหรือเดินส่วนใหญ่
- รองเท้าแข็งหรือผิดรูปจากเจ้าของ จะเกิดในผู้หญิงมากเพราะมีหลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ชอบสวมรองเท้าส้นสูงมักพบปัญหาปวดเท้าเป็นประจำ บ้างครั้งก็เกิดในชายได้หากที่รองฝ่าเท้าในรองเท้าแข็งเกินไป
- น้ำหนักตัวมาก สาเหตุนี้พบได้บ่อยมากที่สุดเนื่องจากน้ำหนักตัวจะลงมาที่เท้าที่แบกรับร่างกายไว้ทั้งหมดทำให้กระดูกเท้ารับได้ไม่ไหวจนแบะออกและเกิดรูปเท้าที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมคือ อาการเท้าแบน (flat foot) น้ำหนักตัวที่เหมาะสมต้องอยู่ระหว่าง 40 – 60 กิโลกรัมไม่มากกว่านี้
- ประสบอุติเหตุ การเกิดเช่นนี้มักเกิดในนักกีฬาและเป็นรูปแบบของ การบาดเจ็บเฉียบพลัน (acute injury) หรือบางครั้งก็เกิดได้กับการกระแทกเหยียดอย่างแรงเช่น กระโดดถีบตัวออกแรง เป็นต้น
การป้องกันและการดูแลรักษา
การดูแลรักษาฝ่าเท้าของเรานั้นไม่ใช่เรื่องยากไม่จำเป็นต้องรอให้ปวดก่อนถึงจะรักษาแต่ต้องป้องกันไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการรองช้ำขึ้นโดยการออกกำลังกายเหยียดฝ่าเท้าขึ้นลง 20 ครั้งช้าๆเพื่อให้เกิดความเคยชินกับการเหยียด และเหยียดค้างไว้เพื่อเพิ่มแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นมากขึ้น
ในบางครั้งอาจมีอุปกรณ์ร่วมด้วยเพื่อที่จะสามารถทำที่บ้านก็ได้และต่างสถานที่ได้คือ
- ผ้าขนหนู ใช้รองใต้ฝ่าเท้าแล้วดึงขึ้นทำได้ทั้งท่ายืน ท่านั่ง และ ท่านอน (แนะนำให้เป็นท่านั่งกับนอนเพราะท่ายืนจะไม่ค่อยมั่นคง)
- ลูกแก้ว ใช้เท้าหยิบลูกแก้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ท่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงมั่นคงของเอ็นฝ่าเท้าส่วนหน้ามากขึ้น
- กำแพง ให้เอามือวางไว้บนกำแพงแล้วเหยียดขาเอาเท้าไปไว้ด้านหลัง ท่านี้จะเสริมความยืดหยุ่นของเอ็นฝ่าเท้าส่วนหลังมากขึ้น
- ขั้นบันได เอาปลายนิ้วเท้าวางไว้บนขั้นบันไดให้เกิดการวางเอียงพิงไว้โน้มลำตัวไปด้านหน้าใช้มือจับราวบันไดเอาไว้ ท่านี้จะเสริมความยืดหยุ่นและมั่นคงของเอ็นเท้าส่วนกลาง
ท่าอื่นๆ
การรักษา
มีสามขั้นตอนคือ
- ผ่าตัดเย็บ
- ยึดเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวเพื่อรอแผลสมาน
- บำบัดเสริมความแข็งแรง(ตามวิธีการของการป้องกันและการดูแลรักษาด้านบน) เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอาจใส่รองเท้าที่มีความนุ่มในช่วงแรกอย่างรองเท้ากีฬาหรือผ้าใบ
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994