Blog Section

ตอนที่164: ท่าบริหารในผู้ป่วยขาโก่ง

ตอนที่164: ท่าบริหารในผู้ป่วยขาโก่ง

ขาโก่ง(Genu varum)

ความพิการอาจเกิดขึ้นในเด็กแรกคลอดหรือเด็กเล็ก  ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผ้าอ้อมหนา  ซึ่งจะหายไปเองได้ในระยะที่โตขึ้น  ส่วนใหญ่ที่พบการผิดรูปมักจะอยู่ที่ปลายบนกระดูกหน้าแข้งโก่งงอ  ซึ่งอาจเกิดจากแผ่นการเจริญของกระดูกที่ปลายบนกระดูกหน้าแข้งเจริญไม่พร้อมกัน คือ ด้านในและด้านหลังเจริญช้ากว่าส่วนอื่น หรืออาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บไม่พร้อมกัน คือ ด้านในและด้านหลังเจริญช้ากว่าส่วนอื่น หรืออาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บ เช่น กระดูกหัก และแผ่นศูนย์ความเจริญแตก เป็นต้น  สาเหตุที่พบบ่อยอีกสาเหตุหนึ่งได้แก่ โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (rickets) พวกที่เอ็นยึดข้อเข่าด้านนอกยืดจากท่าที่ผิดปกติ เช่น พวกที่ขี่ม้า  สาเหตุอื่นที่อาจจะพบได้อีก คือ เนื้องอกของกระดูกบริเวณใกล้เคียงข้อเข่าหรือ เกิดได้จากการเสื่อมของกระดูกข้อเข่า ทำให้เข่าโก่งผิดรูปได้เช่นกัน

อาการ

มีการผิดรูปของขามากน้อยแล้วแต่ความรุนแรงของโรค  การติดตามการเปลี่ยนแปลงความผิดปรกติของเข่าอาจใช้การวัดระยะห่างของเข่า โดยวัดจากขอบในของเข่าหนึ่งไปยังอีกเข่าหนึ่งว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง  ถ้าวัดในท่ายืนจะได้ผลการวัดที่แน่นอนกว่าการวัดในท่านอน  ถ้าระยะที่วัดได้เกินกว่า 5 ซม.  นับว่ามีความพิการที่ต้องหาสาเหตุให้พบ  เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง  จะไม่พบว่ามีอาการบวมที่ข้อเข่า  กล้ามเนื้ออาจลีบทำให้ข้อเข่าแลดูเหมือนว่ามีขนาดใหญ่ขึ้น  ภาพรังสีอาจพบเงาของส่วนสร้างกระดูกลาดลงทางด้านนอก

 

การวินิจฉัยโรค

ในระยะแรกเด็กที่มีขาโก่งเมื่อหัดเดิน  ปลายเท้าอาจบิดเข้าข้างในเวลาเดิน  พวกที่กระดูกหน้าแข้งโก่งงอจะเห็นขาโก่งมาก  การที่ปลายเท้าบิดเข้าในเวลาเดิน  อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของข้อตะโพกก็ได้  ต้องแยกให้ดี

 

การรักษา

ในพวกที่เป็นเองในเด็กเล็ก อาจไม่จำเป็นต้องรักษา  ถ้าเป็นมากควรเสริมรองเท้าช่วย คือ เสริมฝ่าเท้าทางขอบนอกของรองเท้า  ถ้าอายุเกิน 10 ปี ขายังโก่งอยู่มาก อาจต้องทำการผ่าตัดรักษาโดยวิธีผ่าตัดหยุดการเจริญของกระดูกหน้าแข้งส่วนบน หรือถ้าเป็นมากต้องผ่าตัดดัดมุมของกระดูกที่โก่งงอให้ตรง  ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยจะเดินเท้าแป คือ เดินด้วยขอบนอกของเท้า ทำให้เท้าพิการตลอดไป การผ่าตัดอาจต้องผ่าหลาย ๆ ครั้งจนขาตรงตามต้องการในรายที่เป็นไม่มาก การออกกำลังกายของข้อเข่าก็สามารถทำให้ขากลับสู่ปกติได้

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  1. การแนะนำท่าทางออกกำลังกายข้อเข่าที่ถูกต้อง

2.การดัดดึงข้อต่อกระดูกเข่า ในกรณีที่ข้อเข่ายึดติด

3.การแนะนำท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง

 

ท่าบริหารในผู้ป่วยขาโก่ง

  • ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน

 

 

164 1

  • ท่าที่ 2 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า

 

164 2

  • ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและ กล้ามเนื้อน่อง

 

164 3

 

วิธีการ :2.มือประสานกันแล้วเหยียดแขนไปแตะปลายเท้า

 

164 4

 

 

  • ท่าที่ 4 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า

 

164 5 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

 

 

 

 

Facebook Comments