Blog Section

ตอนที่169: วิธีสอนไอในผู้ป่วยกระบังลมอ่อนแรงข้างเดียว หรือกลุ่มโรคเส้นเลือดสมอง

ตอนที่169: วิธีสอนไอในผู้ป่วยกระบังลมอ่อนแรงข้างเดียว หรือกลุ่มโรคเส้นเลือดสมอง

 

วิธีสอนไอในผู้ป่วยกระบังลมอ่อนแรงข้างเดียว หรือกลุ่มโรคเส้นเลือดสมอง

             การไอ (coughing) เป็นเทคนิคการรักษาอีกวิธีหนึ่ง ช่วยขับเสมหะออกมาจากหลอดลมได้ เนื่องจากภาวะปกติเราจะไม่ค่อยไอ เพราะมีซีเลียเป็นตัวทำความสะอาดอยู่แล้ว แต่จะมีการไอต่อเมื่อมีความผิดปกติภายในปอด หรือนอกปอด เช่นมีของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องฝึกให้ผู้ป่วยไอได้อย่างถูกต้อง

  1. Manually assisted techniques
    • Costophrenic assist

ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายหรือนั่ง นักกายภาพบำบัดวางมือที่ด้านข้างของผนังทรวงอกบริเวณมุมของ rib cage ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ขณะที่ผู้ป่วยหายใจออกสุด ให้นักกายภาพบำบัดออกแรงกดอย่างรวดเร็วในทิศทางลงด้านล่างและเฉียงเข้าหาสะดือ (applies a quick stretch) และผ่อนแรงเมื่อผู้ป่วยหายใจเข้า

169

 

  • Heimlich-type assist or abdominal thrust assist

เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็น อัมพาตครึ่งท่อน อัมพาตทั้งตัว อัมพาตครึ่งซีก

จัดผู้ป่วยในท่านอนหงาย นักกายภาพบำบัดวางมือข้างเดียว หรือสองข้างซ้อนกันที่บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าใต้ลิ้นปี่ ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ค้างไว้ และสั่งให้ผู้ป่วยไอ ในขณะที่นักกายภาพบำบัดออกแรงผลักในทิศทางเข้าด้านในทรวงอก (แรงผลักต้องพร้อมกับที่ผู้ป่วยไอ)

169 1

  • Anterior chest compression

จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย นักกายภาพบำบัดวางมือข้างขวาไว้ที่บริเวณขวาง lower chest หรือบริเวณท้อง มือซ้ายวางขวางบริเวณ upper chest

169 2

 

  • กระตุ้นการไอบนรถเข็น

ผู้ป่วยนั่งบนรถเข็น ล๊อครถเข็นของผู้ป่วย นักกายภาพบำบัดอยู่ทางด้านหลังหลังพิงผนังมือสองข้างซ้อนกันที่บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าใต้ลิ้นปี่ ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ค้างไว้ และสั่งให้ผู้ป่วยไอ ในขณะที่นักกายภาพบำบัดออกแรงผลักในทิศทางเข้าด้านในทรวงอก (แรงผลักต้องพร้อมกับที่ผู้ป่วยไอ)

169 3

ผู้ป่วยนั่งบนรถเข็น ล๊อครถเข็นของผู้ป่วย นักกายภาพบำบัดอยู่ทางด้านหน้าผู้ป่วย มือสองข้างซ้อนกันที่บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าใต้ลิ้นปี่ ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ค้างไว้ และสั่งให้ผู้ป่วยไอ ในขณะที่นักกายภาพบำบัดออกแรงผลักในทิศทางเข้าด้านในทรวงอก (แรงผลักต้องพร้อมกับที่ผู้ป่วยไอ)

169 4

ผู้ป่วยนั่งบนรถเข็น ล๊อครถเข็นของผู้ป่วย นักกายภาพบำบัดอยู่ทางด้านหน้าผู้ป่วยวางมือที่ด้านข้างของผนังทรวงอกบริเวณมุมของ rib cage ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ขณะที่ผู้ป่วยหายใจออกสุด ให้นักกายภาพบำบัดออกแรงกดอย่างรวดเร็วในทิศทางลงด้านล่างและเฉียงเข้าหาสะดือ (applies a quick stretch) และผ่อนแรงเมื่อผู้ป่วยหายใจเข้า

169 5

  1. Self-assisted techniques
    • Prone on elbows head flexion self-assisted cough

ใช้ในผู้ป่วย paraplegia เช่น spinal cord injury ระดับ C4

ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนคว่ำ prone on elbows ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยแอ่นหลัง (trunk extension) พร้อมกับหายใจเข้า จากนั้นให้ผู้ป่วยไอออกมาพร้อมกับโน้มตัวและก้มหัวลง

169 6

  • Long sitting self-assisted cough

ใช้ในผู้ป่วย paraplegia

ผู้ป่วยอยู่ในท่า long sitting มือสองข้างประสานกันไว้บนท้ายทอย กางแขน ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก จากนั้นไอออกพร้อมกับก้มตัวลงไปยังขา

169 7

  • Short sitting self-assisted cough

ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งกับเก้าอี้หรือรถเข็น มือซ้ายจับมือขวาวางไว้บริเวณหน้าท้อง ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยแอ่นหลัง (trunk extension) พร้อมกับหายใจเข้าให้ลึกที่สุด โน้มตัวมาข้างหน้าพร้อมกับไอเร็วและแรงพร้อมกับกดมือดันท้องขึ้น

169 8

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

Facebook Comments