Blog Section

ตอนที่172: Cardiac Rehabilitation Program

Cardiac Rehabilitation Program

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

ทำไม ถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ หลังผ่าตัด ?
1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลับมามีความสามารถและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนปกติ

  1. เพื่อให้อาการหอบเหนื่อยน้อยลง มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนก่อนป่วยทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ

3.สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ

ระยะต่างๆของการฝึก

ระยะที่  1  ระยะที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ในโรงพยาบาล

ระยะที่ 2 ระยะที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลโดยใช้ ระยะเวลาประมาณ  8-12 สัปดาห์

ระยะที่ 3 ระยะผู้ป่วยนอกต่อเนื่อง(เริ่มในระยะ 3 เดือน)

ระยะที่ 4 หลังจากสิ้นระยะที่ 3 แล้วผู้ปวยสามารถออกกำลังกายไดเองอยางปลอดภัยภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด

ข้อหามในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

  1. Unstable angina
  2. ภาวะหัวใจวายที่ควบคุมไม่ได 
  3. ลิ้นหัวใจตีบขั้นปานกลางถึงรุนแรง
  4. Recent pulmonary embolism หรือ severe pulmonary arterial hypertension
  5. ความดันโลหิตซิสโตลิก ขณะพัก > 200 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิก ขณะพัก> 100 มม.ปรอท
  6. ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง> 20 มม.ปรอท เมื่อเปลื่ยนจากที่นั่งเป็นท่า
  7. ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือ เต้นชามากที่ควบคุมไม่ได้
  8. ไขหรือภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน
  9. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  10. ปัญหาทางกระดูกและข้อที่จะเป็นอุปสรรคในการออกกำลังกาย

ต้องหยุดออกกำลังกายเมื่อ?

  1. เมื่อยล้ามาก
  2. เครื่องติดตามผู้ป่วยทำงานไม่ปกติ
  3. เวียนศรีษะ มึนงง เซ ซีด เขียว เหนื่อยหอบ คลื่นไส้อาเจียน
  4. เริ่มมีเจ็บหน้าอก
  5. ความดันโลหิตตก
  6. ความดันโลหิตสูงขึ้นมาก (ความดันซิสโตลิก มากกว่า 220 หรือ ไดแอกโตลิก มากกว่า 110 มม.ปรอท)
  7. อัตราการเต้นหัวใจต่ำลงมากกว่า 10 ครั้ง/นาที เมื่ออกกำลังกาย
  8. ถ้าคืนที่ผ่านมานอนไม่หลับจนร่างกายอ่อนเพลียมาก
  9. อากาศร้อนจัด หนาวจัด มีฝุ่นละออง ควัน ไอเสียมาก

คำแนะนำทั่วไปสำหรับการออกกำลังกาย

  • การออกกำลังกายหลังอาการ ควรรอ 1-2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการดื่ม กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • ไม่ควรออกกำลังกายในที่เปลี่ยว
  • ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ อากาศถ่ายเทได้สบาย
  • รองเท้าควรเป็นรองเท้าผ้าใบสำหรับออกกำลังกาย เลือกรองเท้าให้พอดี กับเท้าสวมใส่สบาย
  • ควรมีป้ายชื่อของท่าน และ แพทย์ประจำตัว
  • ควรพกยาอมใต้สิ้น หรือ ชนิดพ่น
  • ควรพกโทรศัพท์เผื่อติดต่อฉุกเฉิน
  • ควรบอกญาติว่ากำลังไปไหน ทำอะไร
  • ระยะการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ด้วยความถี่ 3-5 วัน

 

การฟื้นฟูสภาพหัวใจ ระยะที่ 1 (Phase 1)

ระยะผู้ป่วยใน (Inpatient Phase)

ระยะที่ 1 คือระยะที่ผู้ป่วยอยู่ ในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์

  1. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ
  2. ช่วยให้ ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัย
  3. ช่วยให้ผู้ป่วยมี ความมั่นใจในการปฏิบัติตน และ ลดความเครียดอาจที่เกิดขึ้น
  4. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหลังออกจากโรงพยาบาลรวมทั้งสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้

วิธีการ

ก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้ฟื้นฟูต้องพิจารณาข้อห้ามสำหรับการออำกำลังกายและควรเฝ้าระวังขณะผู้ป่วยออกกำลังกาย และหยุดออกกำลังกายเมื่อมีข้อบ่งชี้

โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจประกอบด้วย ขั้นตอนย่อยจากระยะต้น ซึ่งมีระดับการใช้ออกซิเจน (METs) ต่ำจนถึงขั้นที่สูงขึ้น วิ่งต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น การให้โปรแกรมตามขั้นตอนจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ช้า หรือเร็วขึ้นกับอาการและสภาพของผู้ป่วย แต่ละขั้นตอนย่อยของโปรแกรมประกอบด้วย

1.การฝึกกิจวัตรประจำวันต่างๆ

2.การออกกำลังกาย

3.การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการปฎิบัติตัว

การออกกำลังกาย

รูปแบบ (mode) ใช้การออกกำลังกายแบบ callisthenic exercise และการเดินเป็นหลัก

ความหนักเบา (intensity)

ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (post- myocardial  infraction) ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยมีชีพจรขณะออกกำลังกายมากกว่าชีพจรขณะพักไม่เกิน 20 ครั้ง/นาที ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ หรือการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยมีชีพจรขณะออกกำลังกายมากกว่าชีพจรขณะพักไม่เกิน 30 ครั้ง/นาที

ระยะเวลาในการออกกำลังกาย (duration)

5-10 นาทีในระยะแรก และค่อยๆเพิ่มขึ้นได้ 20-30 นาที

ความถี่ (frequency)

วันละ 2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพผู้ป่วย

เป้าหมายของการฟื้นฟูสภาพในระยะที่ 1 คือ ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และทำกิจกรรมหรืออกกำลังกายในระดับ 5 METs ได้

METs คืออะไร ?

คืออัตราการใช้พลังงานระหว่างการทำกิจกรรมใดกิจรรมหนึ่งเมื่อเทียบกับขณะพัก ยกตัวอย่าง การใช้พลังงาน 4 MET กล่าวคือ การใช้พลังงานเป็น 4 เท่า เมื่อเทียบกับขณะพัก

ตารางเทียบกิจกรรม

สถานที่ ขั้นตอน การฝึกกิจกรรม การออกกำลังกาย งานบ้านและงานอดิเรก
ICU

CCU

< 2METs -นั่งห้อยขาข้างเตียง 15 นาที เช้า เย็น

– นั่งเก้าอี้ 15 -30 นาที 2-3 ครั้ง/วัน

– ช่วยตนเองบางส่วน เช่น กินเอง หรือ หวีผม

– เริ่มขยับข้อ แขน ขา ตามรูป 1-3 ท่าละ 5 ครั้ง

 

 

 

 

 

ตึกผู้ป่วยในหรือบ้าน < 2 METs -นั่งเก้าอี้ได้บ่อยขึ้น

– เริ่มเดินในห้องได้

– เดิน 15 เมตร ไป –กลับ

– ออกกำลังกาตามรูป 1-6 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น

 
ตึกผู้ป่วยใน หรือ บ้าน   3 METs -เดินไปห้องน้ำได้

– เดินตามทางตึกผู้ป่วยได้

-เดิน 24 เมตร ไป-กลับ

-ออกกำลังกายตามรูป 1-7 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น

– ขึ้นลงบันได 2-3 ขั้นบันไดได้

– เดิน 90 เมตร เช้าและเย็น

– ทำงานในสำนักงานความหนักปานกลาง

– อาบน้ำฝักบัว

– เตรียมผักและผลไม้

–  ขับรถ

– เต้นจังหวะช้าๆ

– ทำสวนเบาๆ

– เล่นโบว์ลิ่ง

 

ตึกผู้ป่วยใน หรือบ้าน 4 METs –       อาบน้ำเองได้(มีคนเผ้า)

–       ช่วยเหลือตนเองได้เกือบทุกอย่าง เช่น เดิน

 

–  เดิน 150 เมตร เช้าและเย็น

–  เดินลงบันได 1 ชั้น-กลับด้วยลิฟท์

–  ออกกำลังกายจามรูป 1-8 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น

 

–   กวาดบ้าน ทำความสะอาดบ้านด้วยเครื่องดูดฝุ่น ถูพื้น

–   ใช้คราดกวาดใบไม้

–   ล้างรถหรือเช็ดหน้าต่าง

–   เล่นกับลูกหลาน ห้ามอุ้มเด็ก

–   เต้นความเร็วระดับปานกลาง

–   เล่นกอล์ฟโดยไม่ใด้ถือถุงกอล์ฟเอง

–   ว่ายน้ำช้าๆ

–   เล่นปิงปอง

–   ไทชิ

ตึกผู้ป่วยใน หรือ บ้าน 5 METs –       ทบทวนการปฎิบัติตนที่บ้าน –  เดิน 150 เมตร เช้าและเย็น

–  เดินลงบันได 1 ชั้น-กลับด้วยลิฟท์

–  ออกกำลังกายจามรูป 1-8 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น

 

–   ขุดดินด้วยเสียมหรือพลั่ว

–   ตัดหญ้าด้วยมือ

–   ทำความสะอาดรางน้ำ

–   ทาสี

–   เต้นด้วยความเร็วขึ้น

–   แบดมินตัน

–   เล่นปิงปองคู่

–   เพศสัมพันธ์ ห้ามอุ้มคู่รักหรือผลักดัน

 

 

การฟื้นฟูสภาพหัวใจ ระยะที่ 2 (phase 2)

ระยะผู้ป่วยนอก (outpatient phase)

ระยะที่ 2 คือ ระยะที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลในช่วงแรก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการฝึกประมาณ 8-12 ผู้ป่วยต้องการการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

วัตถุประสงค์

1.เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยการให้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม

2.เพิ่มความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน

3.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายที่ดี โดยเร็วอันจะเป็นการทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น

4.เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจในขบวนการการฟื้นฟู ซึ่งเน้นที่การเข้าใจและลดปัจจัยเสี่ยง

5.เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรับทราบถึงบทบาทในการร่วมรักษาผู้ป่วย

วิธีการ

ในระยะที่2 เป็นโปรแกรมที่มีการควบคุมติดตาม (monitoring) ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ได้แก่ วัดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ก่อนและหลังการออกกำลังกาย โดยทั่วไประยะนี้ใช้เวลา 8-12 สัปดาห์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้น และมีข้อบ่งชี้ในการเข้าระยะที่ 3  ผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมระยะที่ 3 ได้เลย

การออกกำลังกาย

รูปแบบ (mode)

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) คือ  การออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง อาทิเช่น การเดินทางราบ การเดินบนสายพาน การปั่นจักรยานมือหรือแขน เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายที่ใช้แขนหรือมีการเคลื่อนไหวของทรวงอก จะเริ่มได้ภายหลัง 4-6 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วย post-MI, post-PCI และภายหลัง 8 สัปดาห์สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจ

การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (resistance exercise or weight training)ได้แก่ dumbbell ระยะนี้ให้เริ่มจากน้ำหนัก 1 กิโลกรัมก่อน (หรือน้ำหนักน้อยที่สุดที่มี)

ความถี่ (frequency)

ในการออกกำลังแบบแอโรบิคควรออกอย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์  15-45 นาทีRPE 12-13

การปรับเพิ่มการออกกำลังกาย (Progression)

ในระยะแรกของการออกกำลังกายให้เริ่มจาก intensity น้อยๆ และปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายโดยเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายให้ครบตามที่กำหนด เช่น เดินนานขึ้นจนครบ แล้วจึงค่อยเพิ่มความหนักเบาในการออกกำลังกาย (intensity) เช่น เดินเร็วขึ้น เป็นต้น

 

 

สถานที่ ขั้นตอน การฝึกกิจกรรม การออกกำลังกาย งานบ้านและงานอดิเรก
บ้าน 6 METs ปั่นจักรยาน 16 กม. ต่อ ชม.

ออกกำลังกายแบบ แอโรบิคและ แรงต้าน

-เต้นแอโรบิกบัลเล่ย์หรือลีลาศจังหวะเร็ว

– พิลาเต้

– เบสบอล

– เทนนิสคู่

 

 

 

การฟื้นฟูสภาพหัวใจในระยะที่ 3 (phase 3) “ระยะต่อเนื่อง”

ระยะที่ให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องการการติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นระยะที่ 2

ผู้ป่วยแบบใด สามารถอยู่ในระยะนี้ได้?

  1. ผ่านการเข้าโปรแกรมฟื้นฟูระยะที่ 2 แล้ว อย่างน้อย 6 ครั้ง
  2. การออกกำลังกายในระยะที่ 2 สามารถออกกำลังกายได้มากกว่าหรือเท่ากับ 5 METs
  3. มีความเข้าใจและสามารถออกกำลังกายตามโปรแกรมได้ด้วยความเหมาะสมและปลอดภัย และสามารถจับชีพจรของตนเองได้อย่างแม่นยำ

วิธีการ

การออกกำลังกายแบบ resistance exercise หรือการยก dumbbell โดยใช้หลักการ  1 repetition maximum (น้ำหนักมากที่สุดที่ผู้ป่วยสามารถยกได้ 1 ครั้ง) หรือ 90% repetition maximumโดยให้ผู้ป่วยลองยกน้ำหนักจากจำนวนน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้น้ำหนักที่ผู้ป่วยสามารถยกได้ 2-3 ครั้ง

ระยะเวลาในการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายชุดละ 12-15 ครั้ง ทำ 2 ชุด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง RPE 12-16

ข้อบ่งชี้ในการสิ้นสุดระยะที่ 3

  1. ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมระยะที่ 3 เป็นเวลา 3-6 เดือน และแพทย์วินิจฉันแล้วว่า ผู้ป่วยสามารถออกจากระยะที่ 3 ได้
  2. สามารถออกกำลังกายได้อย่างน้อย 8 METs และไม่มีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหนาอกเมื่ออกกำลังกาย ใน intensity ปานกลาง
  3. สามารถออกกำลังกายที่บ้านด้วยตนเองอย่างปลอดภัย
  4. มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

 

สถานที่ ขั้นตอน การฝึกกิจกรรม การออกกำลังกาย งานบ้านและงานอดิเรก
บ้าน 7 METs ปั่นจักรยาน 19.2 กม. ต่อ ชม.

ออกกำลังกายแบบ แอโรบิคและ แรงต้าน

–       ว่ายน้ำท่ากรรเชียง

–       ปีนเข่า ไม่มีสัมภาระ

–       เต้นจังหวะเร็ว

–       เล่นฟุตบอล(ซ้อม)

 
บ้าน 8 METs เดินด้วยความเร็ว 8 กม. ต่อ ชม.

ปั่นจักรยานด้วยความเร็ว 20.8 กม. ต่อ ชม.

–       ปีนเขา สัมภาระหนัก 5 กิโลกรัม

–       ฮอกกี้ สนาม/น้ำแข็ง

–       กระโดดเชือก

–       เทนนิสเดี่ยว

 

 

ระยะที่ 4 ระยะคงสภาพ

ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายเพื่อรักษาสภาพความแข็งแรงของหัวใจได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย และออกกำลังกายแบบ แอโรบิคและแบบแรงต้าน

ความถี่  3-5 ครั้ง/สัปดาห์

ระยะเวลา 30-60 นาที RPE 12-16

 

ตารางแสดงระดับความเหนื่อย RPE (rate of perceived exertion)

6 รู้สึกเหนื่อยเหมือนกับนั่งเล่นเฉยๆ
7
8
9 เริ่มรู้สึกเหนื่อยเล็กน้อย แต่สามารถคุยได้ปกติ
10
11 รู้สึกเหนื่อยมาก แต่ยังทนได้ ไม่มีอาการใจสั่น พูดสื่อสารได้
12
13 รู้สึกเหนื่อย หายใจเร็ว ต้องหยุดพัก พุดได้เป็นคำๆ
14
15 รู้สึกเหนื่อยตนหอบ พูดไม่ไหว ในสั่น/ต้องหยุดพัก
16
17 รู้สึกเหนื่อยมาก หายใจไม่ทัน รุ้สึกหัวใจเต้นเร็ว
18
19 รุ้สึกเหนื่อยมาก หายใจหอบลึก ใจสั่นมาก อ่อนเพลียมาก ไม่มีแรงต้องนอนพัก
20

 

ตารางแสดงการบันทึกโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านของ

ชื่อ-สกุล ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สัปดาห์ที่ วันที่ วิธีการออกกำลังกาย เวลา (นาที) RPE หมายเหตุ
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           
           

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

Facebook Comments