Blog Section

ตอนที่191: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก

นักกายภาพบำบัดมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มเข้ารักษาจนกระทั่งสามารถช่วยตนเองได้ คือ

-ลดภาวะแทรกซ้อน

-ลดบวม

-คงช่วงการเคลื่อนไหว

-ลดการหดรั้งของข้อต่อ

-คงกำลังกล้ามเนื้อ

-ลดการนูนของแผล

-ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถยืนเดินได้อย่างอิสระ

1.การลดภาวะแทรกซ้อนของการหายใจ

ภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจในผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

-inhalation injury                                  -tracheal damage

-airway obstruction                              -pulmonary edema

-pneumonia                                         -restrictive chest wall

จะเห็นว่าภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจสามารถเกิดได้ตั้งแต่ระยะแรกของการบาดเจ็บจนถึงทุกระยะของการรักษา

  • เป้าหมายการกายภาพบำบัดทางด้านการหายใจ

-ป้องกันการสะสมของเสมหะ

-ร่อนระบายเสมหะ

-ช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย

-เพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก

-เพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ

1.2 การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจ

การรักษาทางกายภาพบำบัดประกอบด้วย

-Breathing exercise ควรฝึกสอนให้ผู้ป่วยทำในทุกรายเพื่อป้องกันการสะสมของเสมหะ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ ร่วมถึงช่วยให้เกิดการผ่อนคลายควรเริ่มทำตั้งแต่เริ่มรับผู้ป่วยต่อเนื่องตลอดเวลาที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล

-Percussion and Vibration เพื่อร่อนระบายเสมหะแต่จะทำได้ยากในรายที่มีบาดแผลบริเวณทรวงอก

-Postural drainage การจัดเพื่อร่อนระบายเสมหะต้องประยุกต์ท่าทางให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกว้าง ทำให้จัดท่าได้ยาก

-Coughing and huffing การสอนไอ ควรทำในผู้ป่วยทุกราย เพื่อป้อ

กันการสะสมของเสมหะและช่วยในการขับเสมหะออกจากปอด

1.3กายภาพบำบัดเพื่อลดบวม สามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

-elevation จัดท่าโดยยกส่วนที่บวมให้สูง

-pumping exercise เคลื่อนไหวส่วนปลายของแขนขาเร็วๆอาจทำร่วมกับ elevation

-bandage or elastic stocking ใช้ผ้ายืดพันแขนขาที่บวม หรือใส่ถุงเท้ายืด

1.4 กายภาพบำบัดเพื่อป้องกันและลดการยึดติด และการผิดรูปของข้อต่อ

-การจัดท่าทางและการดาม (position and splinting)

-การบริหารร่างกาย

-การยืนเดิน

 

การจัดท่าทางและการดามข้อต่อ (position and splinting)

การจัดท่าทางป้องันการหดรั้งและการผิดรูปของข้อต่อตั้งแค่เริ่มรับต่อเนื่องตลอดการรักษา ท่าที่จัดมีดังนี้

-คอ อยู่ในท่า hyperextension โดยผู้ป่วยนอนไม่หนุนหมอน และมีหมอนบางๆหนุนบริเวณสะบัก เพื่อให้ทออยู่ในท่าเงย จัดท่านี้ในรายที่มีบาดแผลบริเวณด้านหน้าของคอและใต้คาง

-ไหล่ ให้อยู่ในท่าต้นแขนกาง 90-100 องศา ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลบริเวณด้านหน้าข้อไหล่ บริเวณรักแร้หรือด้านหน้าและด้านข้างของลำตัว

-ข้อศอก จัดในท่าเหยียดและหงายแขน

-ข้อมือ จัดในท่าเหยียดเล็กน้อย หรือในท่าปกติในรายที่มีบาดแผลบนฝ่ามือ

-มือ จัดในท่าเหยียดข้อมือในรายที่มีบาดแผลหน้าฝ่ามือและจัดในท่าคว่ำมือถ้าบาดแผลอยู่ด้านหลังมือ ถ้ามีบาดแผลระหว่างนิ้วต้องมีผ้าคั่นระหว่างนิ้วกันนิ้วติดกัน

-ข้อสะโพก จัดในท่าต้นขากางออกและเหยียดตรง

-ข้อเข่า ให้อยู่ในท่าเหยียดตรง

-ข้อเท้า จัดในท่าเหยียดถ้าบาดแผลอยู่บริเวณหลังเท้า และในท่ากระดกข้อเท้าขึ้นถ้าบาดแผลอยู่อยู่บริเวณฝ่าเท้าหรือบริเวณน่องและเอ็นร้อยหวาย

การจัดท่าและการดามข้อต่อควรจัดให้อยู่ในท่ายืดบริเวณที่มีบาดแผลเท่าที่ผู้ป่วยจะรับได้ ถ้ายืดมากเกินไปผู้ป่วยจะออกแรงต้าน ทำให้มีการตึงตัวมากตลอดเวลาก่อให้เกิดความกดดันในข้อต่อสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการปวดในข้อต่อได้ทั้งๆที่บาดแผลอยู่บริเวณผิวหนัง

การบริหารร่างกาย (exercise)

การบริหารร่างกายในผู้ป่วยBurn สามารถทำได้หลายวิธีตามสภาพของผู้ป่วย

1.Passive exercise การทำการเคลื่อนไหวให้ผู้ป่วย ทำได้โดยนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ทำให้ในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือไม่ให้ความร่วมมือ ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ใช้ความรุนแรง (gentle passive exercise) เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการเกร็งต่อต้าน (Protective muscular spasm) ซึ่งจะเกิดเมื่อผู้ป่วยเจ็บหรือกลัว จึงควรเริ่มด้วยการอธิบายให้ผู้ป่วยเพื่อไม่ต่อต้าน และเริ่มขยับด้วยองศาการเคลื่อนไหวน้อยๆ และค่อยๆเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวจนได้เต็มพิสัย

-auto passive exercise ให้ผู้ป่วยเป็นผู้ทำการเคลื่อนไหวให้ตนเอง เช่น ใช้มือข้างหนึ่งจับอีกข้างหนึ่ง วิธีนี้ช่วยลดการต่อต้านของผู้ป่วยและทำได้ตลอดเวลา

-equipment เป็นการทำ passive exercise โดยใช้อุปกรณ์ เช่น  รอก สปริง suspension จักรยาน และอุปกรณ์การออกกำลังกายอื่นๆ ซึ่งควรจัดให้มีภายในหน่วยรักษาผู้ป่วย Burn

2.Active exercise สอนและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำการบริหารให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อทุกส่วนโดยเน้นให้ทำบ่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป เน้นการเคลื่อนไหวมากกว่าการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ถ้าผู้ป่วยทำด้วยตนเองแล้วได้มุมการเคลื่อนไหวไม่เต็มที่ นักกายภาพบำบัดอาจช่วยบางส่วน เป็น Assisted exercise ในรายที่ผู้ป่วยกลัวเจ็บหรือเกร็งต้าน เทคนิค hold relax จะช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อนไหวได้ดี

3.Stretching exercise เป็นการบริหารเพื่อยืดส่วนที่ตึงหรือมีการหดรั้ง อาจทำได้โดยให้ผู้ป่วยยืดเองหรือนักกายภาพบำบัดยืดให้ในระดับที่ไม่เจ็บปวดแล้วตามด้วย Splinting

Contraindication foe exercise

ผู้ป่วยที่มีอาการหรืออยู่ในภาวะต่อไปนี้ห้ามทำการ exercise ทั้ง.Active และ passive

  1. Exposed joint, rupture tendon
  2. Thrombophlebitis
  3. Deep vein thrombosis
  4. Compartment syndrome
  5. Skin graft ที่ยังไม่ติดดี
  6. Fracture, dislocation ระยะห้ามเคลื่อนไหว

การยืนและเดิน (Ambulation)

ผู้ป่วยที่มีบาดแผลบริเวณขาเมื่อบาดแผลหายใหม่ๆ เมื่อลุกขึ้นยืนหรือเดินใหม่ๆอาจมีอาการต่อไปนี้

  1. หน้ามืดเป็นลม
  2. ปวดบริเวณแผล
  3. มีเลือดออกบริเวณแผล

อาการที่กล่าวมานี้เกิดจากการที่เลือดไหลเวียนลงมาขามาก (Venous pooling) แต่ไหลกลับได้ช้า อาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดย

  1. Pumping exercise
  2. Bandaging พันผ้ายืดตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงต้นขาหรือใส่ถุงผ้ายืด
  3. ค่อยๆปรับความดันจากไขเตียงขึ้นนั่ง นั่งห้อยขาบนเตียงก่อนที่จะนำผู้ป่วยลงยืนและเดินต่อไป

1.5 กายภาพบำบัดเพื่อลดการนูนของแผลเป็น (Hypertrophic scar)

หลังจากบาดแผลหายใหม่ๆจะเป็นแผลเป็น (Scar) และแผลเป็นนี้จะนูนเป็น Hypertrophic scar ซึ่งนอกจากจะดูไม่ดีแล้ว แผลเป็นนี้จะมีความเหนียวและตึงมาก ทำให้เกิดการดึงรั้งของข้อต่อทำให้ผิดรูป ถ้าเป็นบริเวณลำตัวก็จะดึงให้ตัวงุ้มงอเสีย Posture  จึงควรป้องกันตั้งแต่บาดแผลเริ่มสมานโดยใช้ Pressure garment ร่วมกับ Stretching exercise ระวังไม่ให้มีการเสียดสีเพราะผิวหนังยังใหม่ง่ายต่อการพุพอง

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18

 

 

Facebook Comments