ตอนที่195: การจัดการทางกายภาพบำบัดในเด็กที่มีภาวะเกร็ง
การจัดการทางกายภาพบำบัดในเด็กที่มีภาวะเกร็ง
(Physical Therapy Management in Children with Spasticity)
ความหมายและกลไกทางระบบประสาทของ Spasticity
- มี Stretch reflex แรงกว่าปกติ
- แขนขามีท่าทางที่ผิดปกติ
- กล้ามเนื้อกลุ่ม antagonist หดตัวมากเกินปกติ
- มีการเคลื่อนไหวร่วม(associated movement) เกิดขึ้น
- มี clonus
- การเคลื่อนไหวรูปแบบเดิมเกิดขึ้นซ้ำๆ(stereotyped movement synergies)
แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติแบ่งตาม tone spectrum แบ่งออกเป็น
- flaccidity หมายถึง แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงอย่างสมบูรณ์
- hypotonicity หมายถึง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง จะพบในผู้ป่วยที่มีรอยโรคบริเวณ spinocerebellum ผู้ป่วยระบบประสาทและเด็กดาวน์ซินโดรม
- normal muscle tone หมายถึง ความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้ออยู่ในระดับปกติ ประกอบด้วย – non-neural component คือความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งต้านทานต่อการ เปลี่ยนแปลงความยาว
– neural components คือ จะแสดงระดับของ motor unit activity, stretch reflex ซึ่งต้านทานการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ
การตรวจประเมินภาวะ Spasticity ในทางคลินิก
การเมินทางคลินิกของภาวะ spasticity อย่างถูกต้องนักกายภาพบำบัดควรเข้าใจทั้งความหมายและการวิเคราะห์ผลควบคู่ไปกับอาการของ upper motor neuron ที่เกิดกับผู้ป่วยเด็กแต่ละคน ความเชื่อมต่อของภาวะ spasticity กับความผิดปกติของการเคลื่อนไหว ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มอาการทาง upper motor neuron นักกายภาพบำบัดจึงไม่ควรตรวจประเมิน spastic จาก passive movement เพียงอย่างเดียว แต่ควรประเมินความผิดปกติของ postural tone, postural alignment, voluntary movement และ positional stability ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวและทักษะการทำหน้าที่ต่างๆในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
นักกายภาพบำบัดสามารถตรวจประเมิน spasticity ในเด็ก CP โดยสังเกตจาก
- แนวแรงของร่างกาย (alignment) : โดยสังเกตแนวแรงของร่างกายที่เปลี่ยนไปในการเคลื่อนไหวแต่ละท่าทางหรือสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงท่าทางของร่างกายโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง เช่น สังเกตท่าทางการเดินรูปแบบของ crouched postural pattern โดยใช้ความรู้ด้านกลศาสตร์การเคลื่อนไหวมาร่วมการประเมินด้วยจะช่วยให้การวางแผนการรักษาได้แม่นยำขึ้น รูปแบบการเดินของเด็ก CP อาจเดินแบบ hip flexion-internal rotation ร่วมกับมีการงอเข่า แอ่นเข่า หรือเข่าอยู่ในท่าปกติก็ได้หรือเดินแบบหย่อนตัวงอเข่างอสะโพก(crouch gait)เมื่อนำมาวิเคราะห์การเดินทั้ง kineticsและkinematic พบว่าผลของการงอเข่าทำให้มีการกระดกข้อเท้าเพิ่มมากขึ้น แกว่งแขนและมีการเคลื่อนไหวของลำตัวในแนว vertical มากขึ้น ซึ่งทำให้เห็นว่าเด็กCP แต่ละคนมีการเดินที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นส่วนใหญ่
- การใช้กลยุทธ์การเคลื่อนไหว(movement strategies) : ปัญหาของการบกพร่องด้านการประสานสัมพันธ์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับ movement strategies คือ ความผิดปกติของเวลาการเคลื่อนไหวท่าทาง(timing problems) และความผิดปกติของสัดส่วนหรือปริมาณการเคลื่อนไหวท่าทาง(scaling problems)
2.1 Timing problems : โดยทั่วไปความผิดปกติของการควบคุมท่าทางไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถสร้างแรงได้เพียงเหตุผลเดียวเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการขาดประสิทธิภาพเรื่องเวลาที่ทำให้เกิดแรงด้วย เช่น เด็กสมองพิการไม่สามารถตอบสนองต่อการทรงท่าขณะถูกทดสอบการทรงตัวได้เหมือนเด็กปกติหรือหากทำได้ย่อมทำได้ช้าหรือการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนท่าทางเด็กมักใช้เวลานาน
2.2 Scaling problems : การคงสภาพสมดุลการทรงท่าต้องอาศัยแรงในการควบคุมท่าทางของร่างกายในที่ว่างโดยมีสัดส่วนหรือปริมาณของแรงพอเหมาะต่อความมั่นคงที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่ากล้ามเนื้อที่มีขนาดเหมาะสมมักตอบสนองต่อการถูกกวนระบบการทรงท่าเพียงเล็กน้อยยังคงสามารถรักษาสมดุลไว้ได้ซึ่งในคนปกติจะใช้กลไกข้อมูลในการคาดการณ์ร่วมกับกลไกในการป้อนกลับเพื่อจัดปริมาณแรงที่จำเป็นต่อการเกิดท่าทางที่มั่นคงซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าของcerebellum ดังนั้นเด็กสมองพิการจะมีรอยโรคบริเวณสมองส่วนนี้
- ปัญหาในการปรับปรุงการเคลื่อนไหวให้เหมาะสม(motor adaptation problems) : การควบคุมท่าทางตามปกติต้องอาศัยความสามารถในการปรับปรุงการตอบสนองให้เหมาะสมต่องานและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ผู้ป่วยระบบประสาททั้งเด็กและผู้ใหญ่มักเกิดปัญหาดังกล่าวการที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวในรูปแบบซ้ำๆเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขาดการเคลื่อนไหวในลักษณะอ่อนตัวและปรับสภาพได้ดีดังเช่นคนปกติ โดยทั่วไปพบว่าเด็กสมองพิการเคลื่อนไหวเตะขาไม่สมมาตรกัน
- ขาดการคาดการณ์ในการควบคุมท่าทาง(Loss of anticipatory postural control) : จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นการที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าควรปรับการเคลื่อนไหวอย่างไรเพื่อให้เหมาะต่องานและสิ่งแวดล้อมต่างๆนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขาดการควบคุมท่าทางให้มั่นคงนอกจากนี้การควบคุมท่าทางจะมีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการคาดการณ์ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับท่าทางเพื่อทำให้มีศักยภาพในการเคลื่อนไหวได้มั่นคงมากขึ้นทั้งนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้ผู้ป่วยระบบประสาทรวมทั้งเด็กสมองพิการมักขาดสิ่งเหล่านี้
วัตถุประสงค์ในการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด มี 3 ประการ คือ
- ช่วยในการวินิจฉัยทางกายภาพบำบัดทำให้ทราบถึงพยาธิสภาพ ตำแหน่งและความรุนแรง
- เป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้เทคนิคการรักษาอย่างเหมาะสม
- เป็นตัวบ่งชี้ผลของการรักษาทั้งก่อนและหลังการรักษาเพื่อการแสวงหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพกว่ามาเปลี่ยน การรักษา
Modified Ashworth scale (MAS) for grading spasticity
grade | Description |
0 | No increase in muscle tone |
1 | Slight increase in muscle tone,manifested by a slight catch and release or by minimal resistance at the end of the range of motion when the effect par is moved in flexion or extension. |
1+ | Slight increase in muscle tone,manifested by a catch, followed by minimal resistance throughout the remainder (less than half) of the range of motion(ROM) |
2 | More marked increase in muscle tone through most of the ROM,but the affected par easily moved. |
3 | Considerable increase in muscle tone,passive movement difficult. |
4 | Affected part rigid in flexion and extension. |
Pendulum test
เป็นวิธีการที่นิยมใช้ทางคลินิก คือ ให้ผู้ตรวจจับขาหรือแขนผู้ป่วยเหยียดตรงในท่านอนหงายและปล่อยให้ตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงอย่างอิสระซึ่งท่าเป็นขาหรือแขนที่ปกติมักแกว่งอย่างนิ่มนวลและสม่ำเสมอโดยลดความเร็วลงทีละน้อยเหมือนการแกว่งลูกตุ้มแต่ในขาหรือแขนที่มีspasticity มักพบว่าการแกว่งไม่สม่ำเสมอเนื่องจากถูกจำกัดจากทั้งคุณสมบัติของการยืดยาวและstretch reflex ที่มากเกินไปตามปกติแล้วตัวแปรที่วัดคือค่าดัชนีการผ่อนคลายโดยนำค่า amplitude ของการแกว่งครั้งแรกหารด้วยค่ามุมข้อเข่าในการเคลื่อนไหวครั้งสุดท้าย
Pendulum test ที่เหมาะสำหรับทดสอบในเด็กได้มีการประยุกต์จากท่านอนหงายมาเป็นท่านั่งห้อยขาลง ขั้นตอนมีดังนี้ ให้เด็กนั่งบนเก้าอี้สูงมีผ้าใบรัดขาท่อนบนไว้กับเก้าอี้ขาล่างทั้งสองข้างปล่อยให้หย่อนลอยไว้ ติด electrogoniometer บริเวณเข่าด้านนอกเพื่อวัดมุมข้อเข่า ติด EMG ไว้บริเวณกล้ามเนื้อquadriceds และ hamstring เพื่อบันทึกค่าการทำงานอย่างต่อเนื่องของกล้ามเนื้อผู้ตรวจบอกให้เด็กปล่อยตัวตามสบายและหลับตาจับขาขึ้นให้เข่าเหยียดออกให้มากที่สุดจนสังเกตเห็นว่า EMG ไม่แสดงการทำงาน ซึ่งหมายถึงกล้ามเนื้อปล่อยสบายเต็มที่ ผู้ตรวจจึงปล่อยขาลงให้แกว่งอย่างอิสระ บันทึกค่ามุมและการทำงานของ EMG ไว้ หลังจากพักแล้วให้ทำซ้ำเดิมอีกรวม 3 ครั้ง อย่างไรก็ตามการตรวจประเมิน spasticity ด้วยวิธี pendulum test ยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยเด็กอยู่หลายประการ ได้แก่ เด็กมักขาดความอดทนต่อการนั่งทดสอบที่ปราศจากอิสระในการเคลื่อนไหว การทดสอบด้วยวิธีนี้เป็นการทำแบบ passive movement ซึ่งทดสอบได้กับกล้ามเนื้อเพียงกลุ่มเดียว คือ quadriceps ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่เป็นที่กว้างขวางเท่ากับการตรวจประเมินวิธีอื่น
วิธีการทางกายภาพบำบัดในการลด Spasticity
- การถ่ายเทน้ำหนัก (weight shift) : เทคนิคทางกายภาพบำบัดที่ใช้ในการลด spasticity ด้วย weight shift ที่ใช้กันทั่วไปคือการใช้มือของนักกายภาพบำบัดควบคุมหรือยับยั้งการเคลื่อนไหวในตำแหน่งที่สำคัญคือส่วนโคนของร่างกาย เช่น หัวไหล่ เชิงกราน ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลการควบคุมต่อไปยังส่วนปลายได้ควรหลีกเลี่ยงการคุมด้วยมืออยู่กับที่ในท่าเดียวนานเกินไป อาจปรับเปลี่ยนไปที่การเปลี่ยนแปลงความเร็วและระยะทางในการเคลื่อนไหวแทน นอกจากนี้ควรพยายามฝึกให้เด็กเปลี่ยนแปลงท่าทางการเคลื่อนไหว เช่น เปลี่ยนจากนั่งเป็นยืน การนอนเป็นนั่ง นักกายภาพบำบัดควรให้ทักษะแก่เด็กด้วยการทำซ้ำๆและหลากหลายรูปแบบด้วย
- การยืดคงค้างไว้ (Maintained stretch) : การยืดคงค้างนำมาใช้ในการจัดท่าและการออกกำลังกายเพื่อการรักษา ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ช่วยยืนในท่าคว่ำเพื่อยืดกล้ามเนื้อ quadriceps ในเวลานานกว่าการยืดด้วยวิธี passive range of motion ปกติ ซึ่งระยะเวลาในการ maintained stretch สามารถทำได้นานตั้งแต่ 30 นาทีไปจนถึง 7 ชั่วโมง หากใช้กับเด็กซึ่งมีความทนทานต่ำกว่าผู้ใหญ่อาจทำได้อย่างมากเพียงประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะยืนบน prone standler อาจให้การรักษาด้วยความร้อนจากแผ่นประคบร้อนร่วมในการช่วยลด spastic ได้
3.การใช้แรงดัน (pressure) : แรงดันทำหน้าที่ในการทำให้เกิดความสมดุลของร่างกายโดยทำให้เกิดสัญญาณประสาทการรับรู้ขาเข้าซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระตุ้นให้ความไวของ alpha motor neurone ลดลง หรือเมื่อให้แรงดันกับเอ็นยึดกล้ามเนื้อที่มี spasticity จะสามารถยับยั้ง stretch reflex ได้ดี เช่น การใช้ elastic bandage และ air splint ซึ่ง air splint นิยมมากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในเด็กโตที่ไม่มีปัญหาในการสื่อสารกับผู้รักษานอกจากนี้ air splint ยังสามารถใช้แทน cold pack ได้เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มี 2 ช่องสามารถบรรจุน้ำและแอลกอฮอล์เข้าไปได้จึงช่วยลดบวมให้ผู้ป่วยได้ด้วย
- การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า(Electrical stimulation) : เพื่อลด spasticity แม้ว่าจะมีข้อห้ามในการใช้ electrical stimulation มีน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือไฟฟ้าทางกายภาพบำบัดชนิดอื่น คือ ไม่ควรใช้กับกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณที่มีกระดูกหัก ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่รับการฝัง pacemaker เนื่องจากทำให้เกิดการแทรกสอดของคลื่นมีผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจและควรระวังการใช้กับคนอ้วนที่มีไขมันมาก อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิดหนังได้ง่าย
4.1 Stimulation of the antagonist
– ในการกระตุ้น antagonist ของกล้ามเนื้อที่มี spasticity เช่น ติดขั้วกระตุ้นบนฝั่งกล้ามเนื้อกลุ่ม wrist extensor เมื่อต้องลด spastic ของกล้ามเนื้อกลุ่ม wrist และ finger flexor ซึ่งสามารถลด spasticity ได้จากผลของ reciprocal inhibition และหากกระตุ้นด้วยวิธีนี้เป็นระยะเวลานานขึ้น spastic มักลดลงในขณะที่ผู้ป่วยมีความแข็งแรงและมีการควบคุมกล้ามเนื้อดีขึ้น
Pulse rate : 35-50 pps
Pulse duration : 300µs
Rise time : 4 sec
Fall time : 2 sec
On/off time : 12 sec / 18 sec
Intensity : ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนเห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อแรงที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยทนได้
4.2 Stimulation for generalized relaxation(นิยมใช้กระแส TENS)
– TENS ที่ใช้เพื่อการลดความเจ็บปวดนั้นจัดอยู่ในกลุ่ม high-rate TENS หรือเรียกว่า acupuncture-like TENS มี pulse rates1-4 pps และ wider pulse width คือ 150-250 µsec ทั้งนี้การติดตั้ง TENS ควรวางบนตำแหน่ง motor point ควรให้ intensity ที่ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างแรงและเป็นจังหวะซึ่งมีผลทางอ้อมต่อการสูบฉีดเลือดบริเวณที่ถูกกระตุ้น การนำ TENS ชนิดนี้มาประยุกต์ใช้เป็นแบบ Neurotransmitter modulator สำหรับเด็กสมองพิการที่มี spasticity มีการอธิบายว่า TENS นี้สามารถยับยั้งการเกิด primitive motor reflexs จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการลด spasticity
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18