Blog Section

ตอนที่204: ข้อบ่งชี้ของการใช้กายอุปกรณ์ประคองขาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ตอนที่204: ข้อบ่งชี้ของการใช้กายอุปกรณ์ประคองขาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อบ่งชี้ของการใช้กายอุปกรณ์ประคองขาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1.เท้าตก (Foot-drop)

                โรคหลอดเลือดสมองมักทำให้เสียสมดุลในการควบคุมข้อเท้าจึงมักมีเท้าตก เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าขึ้นอ่อนแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่กระดกข้อเท้าลง ร่วมกับมีการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อน่องร่วมด้วย ให้ก้าวเท้าพ้นพื้นใน swing phase ผู้ป่วยต้องเหวี่ยงขาไปด้านข้างหรือยักตะโพกขึ้น แทนที่จะก้าวไปตรงๆ ในกรณีที่มีเท้าตกอย่างเดียวและมีการเกร็งกระตุกไม่มากนัก ใช้ posterior leaf spring อย่างเดียวก็เพียงพอที่จะประคองเท้าให้ก้าวพ้นพื้นได้ แต่ในรายที่มีปัญหา mediolateral instability ร่วมด้วย อาจต้องใช้แบบ solid-ankle plastic orthosis หรือใช้ AFO ชนิดโลหะ ซึ่งจะเลือกข้อโลหะแบบ Klenzak หรือแบบ double-action ก็ได้ โดยใช้ควบคู่กับสายรัดต่างๆ

อย่างไรก็ตาม มีความกังวลว่าการใช้สปริงช่วยในการทำ dorsiflexion อาจกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งกระตุกมากขึ้น แต่จากการศึกษาพบว่าไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก หากกล้ามเนื้อไม่เกร็งมากจนกระทั่งข้อเท้ากระดกขึ้นไม่ถึง 90 องศา

  1. ข้อเข่าทรุด (Knee Bucking)

                การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ Knee extensors ทำให้ข้อเข่าพับลงในช่วงที่ลงน้ำหนัก ผู้ป่วยที่มีกำลังของกล้ามเนื้อกลุ่ม hip extensors และมีการทรงตัวดีพอ จึงจะพิจารณาใช้กายอุปกรณ์ช่วยในการเดิน โดยทั่วไปมักแก้ปัญหาเข่าทรุดโดยใช้ AFO บังคับไม่ให้ข้อเท้ามี dorsiflexion ซึ่งเท่ากับยึดส่วนต้นของกระดูก tibia ไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ประกอบกับกล้ามเนื้อ hip extensors ดึงกระดูก femur มาทางด้านหลังจึงช่วยให้เข่าเหยียดได้

204

 

  1. ข้อเข่าแอ่น (Genu Recurvatum)

                การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ Knee extensors จะทำให้ข้อเข่าแอ่นไปข้างหลังในขณะที่ลงน้ำหนัก ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการแอ่นมากขึ้นคือข้อเท้ายึดติดในท่า plantar flexion การรักษาทำได้โดย การออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่ม Knee extensors ให้แข็งแรงแก้ไขข้อเท้าที่ยึดติดและใช้กายอุปกรณ์แบบ double-action หรือแบบ solid-ankle บังคับไม่ให้ข้อเท้ากระดกทั้งขึ้นและลง

204 1

สำหรับ knee-ankle-foot orthosis (KAFO) หรือ long leg brace มีที่ใช้น้อยมาก เนื่องจากมีขนาดใหญ่เทอะทะ มีน้ำหนักมาก สวมใส่มาก และใช้พลังงานในการเดินมาก อาจพิจารณาใช้ในกรณีที่มีการหย่อนยานของเอ็นภายในเข่าหรือรอบเข่า เช่น เคยมีเอ็นเข่าฉีกขาดหรือเป็นโรครูมาตอยด์ หรือใช้ตอนเริ่มฝึกเดินช่วงสั้นๆ ถ้าพิจารณาใช้ KAFO ควรเลือกแบบข้อเข่าล๊อคในท่าเหยียดตรง เพื่อป้องกันเข่าทรุด

การตรวจสอบ AFO

                หลังจากจัดทำกายอุปกรณ์ประคองขาให้ผู้ป่วยแล้ว ก่อนให้ใช้ต้องตรวจสอบว่ามีลักษณะตรงตามที่สั่งและสวมได้พอดีหรือไม่ ที่สำคัญคือตำแหน่งของข้อโลหะซึ่งต้องอยู่ในระดับและระนาบที่ใกล้เคียงกับข้อจริง ข้อโลหะด้านในต้องตรงกับตำแหน่ง medial malleolus และข้อโลหะด้านนอกต้องอยู่ตรงกับ lateral malleolus ซึ่งต่ำกว่า medial malleolus เล็กน้อย แกนโลหะที่อยู่ขนาบด้านข้างของขาต้องอยู่ประมาณกึ่งกลางของระยะหน้าหลัง แถบรัดน่องต้องอยู่ต่ำกว่าหัวกระดูก fibular อย่างน้อย ¾ นิ้วฟุต เพื่อไม่ให้กดเส้นประสาท common peroneal

ควรตรวจสอบระหว่างที่เดินด้วยว่ามีการขยับหรือเลื่อนหรือไม่ มีจุดกดเจ็บตรงไหนบ้างและที่สำคัญคือต้องประเมินว่ากายอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้เดินได้ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากดูว่าแก้ปัญหาการเดินที่มีอยู่ได้หรือไม่แล้ว ให้ดูด้วยว่าช่วยให้เดินได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

การใช้ AFO ทั้งแบบพลาสติกและแบบโลหะจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้เร็วขึ้น เนื่องจากอัตราการใช้พลังงานลดลง พบว่าความเร็วในการเดินที่ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกรู้สึกสบายที่สุด (comfortable speed) ช้ากว่าคนปกติประมาณร้อยล่ะ 46 แต่เมื่อใช้ AFO จะเดินช้ากว่าคนปกติร้อยล่ะ 39

204 3

การใช้งาน

                ในการใช้ AFO แบบพลาสติก ต้องสวมไว้ในรองเท้า ซึ่งอาจเป็นรองเท้าหนังหรือรองเท้าผ้าใบหุ้มส้นหรือรองเท้าสานรัดส้นที่มีสายด้านบนด้วย รองเท้าแบบหลังนี้มีข้อดีคือสวมใส่ง่ายและไม่อับเหงื่อ ไม่แนะนำไม่ให้ใช้ AFO โดยไม่สวมรองเท้า เนื่องจากพื้นพลาสติกลื่นมาก ถ้าเป็นไปได้ควรสอนให้ผู้ป่วยสวมใส่ได้เองด้วย ทั้งนี้ต้องตรวจสอบความจำเป็นของการใช้กายอุปกรณ์ประคองขาเป็นระยะๆ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ยังมีการฟื้นตัว

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18

Facebook Comments