ตอนที่206: ES for Brachial Plexus Injury
ES for Brachial Plexus Injury
หลักในการกระตุ้นไฟฟ้า สำหรับผู้ป่วย Brachial Plexus Injury
การกระตุ้นไฟฟ้าสามารถชะลอการลีบของกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงไว้ แต่ผลที่ได้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.ชนิดของกระแสที่ใช้กระตุ้น : ใช้กระแสไฟตรงแบบเป็นช่วงๆ ในกรณีกล้ามเนื้อไม่ได้ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงทั้งมัดหรืออยู่ใกล้กับกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง กระแสที่ใช้กระตุ้นควรเป็น Triangular wave form เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงเกิดการปรับตัว ทำให้ช่วยหลีกเลี้ยงการหดตัวของกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงได้ แต่ถ้าผู้ป่วยเป็น complete BPI การกระตุ้นกล้ามเนื้อไม่จำเป็นที่จะต้องระวังเส้นประสาทข้างเคียงที่จะไวต่อการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ดังนั้น Regtangular wave form จึงเหมาะสมกว่าเพื่อให้ได้กระแสเต็มพื้นที่ในช่วงกระตุ้น
2.Current Intensity : Maximal stimuli level เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
3.Frequency : ความถี่ที่นำมาใช้ในการกระตุ้นคือ ความถี่ต่ำ (low frequency)
4.ช่วงการกระตุ้น : ช่วงกระตุ้นจะมากน้อยขึ้นอยู่กับ chronaxie ของกล้ามเนื้อที่ทำการรักษา pulse duration ที่จะนำมาใช้รักษาควรจะมากกว่าหรือเท่ากับ chronaxie ส่วนการเลือก pulse duration ช่วงพักที่มักใช้ในแต่ละครั้งของการ contraction ประมาณ 500-1000 ms ถ้าให้ช่วงพักแคบเกินไปการเกิดการล้าจะง่ายขึ้น การฟื้นตัวของกล้าเนื้อทีขาดประสาทมาเลี้ยงจะใช้เวลานานมากกว่ากล้ามเนื้อปกติ
5.Technique bipolar technique : โดยวางขั้วกระตุ้นครอบคลุมส่วนต้นและส่วนปลายของ muscle belly ถ้าวางแบบ monopolar technique ควรให้ dispersive วางไว้บนส่วนของร่างกายที่ห่างจากบริเวณที่กระตุ้น ส่วน active electrode ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเป็นขั้วที่วางอยู่บนกล้ามเนื้อที่ต้องการรักษา ซึ่งควรจะเคลื่อนขั้วกระตุ้นไปทั้วๆ เพื่อให้กระแสไฟกระตุ้นทุกมัดของใยกล้ามเนื้อ การวางขั้วกระตุ้นที่คิดว่าเป็นบริเวณ motor point จะเกิดผลได้เพียงบางส่วนของกล้ามเนื้อเท่านั้น
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18