Blog Section

ตอนที่23:การรักษา ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าเคล็ดอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม

ตอนที่23:การรักษา ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าเคล็ดอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม



1

ปวดเท้า

           เท้า เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตวหลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขาประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail) ฝ่าเท้าจะเป็นส่วนที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เพราะฝ่าเท้าจะเป็นจุดรวมของปลายประสาทและเส้นเลือดจากส่วนต่างๆ ซึ่งจะสื่อสารโดยผ่านประสาทหรือต่อมน้ำเหลือง

2

โครงสร้างของเท้า

ท้าจะประกอบไปด้วยกระดูก 28 ชิ้น ต่อเข้ากับข้อเท้า มีกล้ามเนื้อที่เกาะมาจากขาท่อนล่างมาที่เท้า 13 มัด และกล้ามเนื้อภายในฝ่าเท้าอีก 19 มัด โครงสร้างของเท้ามีส่วนโค้งของฝ่าเท้าทั้งตามยาวและตามขวาง ทำให้เท้าสามารถรับน้ำหนักได้หลายเท่าของน้ำหนักตัว เท้ามีความแข็งแรงรับน้ำหนักไปที่ปลายเท้าได้ เช่น นักเต้นระบำบัลเล่ห์ และยังสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นผิวที่รองรับฝ่าเท้า เช่น เดินเท้าเปล่าบนพื้น

  • เท้าส่วนหน้า จะประกอบไปด้วยนิ้วเท้า และกระดูกตรงส่วนฝ่าเท้า
  • เท้าส่วนกลาง จะประกอบไปด้วยส่วนโครงของฝ่าเท้า
  • เท้าส่วนหลัง จะเป็นส้นเท้า
  • 3

ส่วนประกอบของเท้า

นอกจากนั้นเท้ายังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเส้นเอ็นต่างๆมากกว่า 100 ชิ้นเพื่อเป็นตัวช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า plantar fascia และ Achilles tendon หรือเรียกอีกอย่างว่า เอ็นร้อยหวาย เป็นเส้นเอ็นที่สำคัญมากและเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาได้

4

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหมายถึงเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า และก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า และส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้น แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไป มีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัต ิและตรวจร่างกาย

5

กลไกการเกิดโรค

เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง

โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง

อลงมาดูภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียดสุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)ซึ่งดังวงกลมในรูป

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

  • น้ำหนักเกิน
  • ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
  • ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
  • ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
  • การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ

อาการ

จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหากไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ

การรักษา

6 

การรักษาด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด

  • ใช้อัลตร้าซาวหรือคลื่นเหนือเสียงในการลดอาการปวด
  • ใช้ไฟฟ้าแรงดันสุญญากาศในการลดปวด IFC
  • แผ่นร้อนหรือแผ่นเย็น
  • ออกกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
  • เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
  • สวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อเท้าเพื่อลดแรงกระแทกและลดอาการบวมของข้อเท้า

***กาารักษาขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ในแต่ละราย****

  • ใช้ขวดใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
  • เมื่อการอาการปวดเลยระยะอักเสบไปแล้วสามารถใช้น้ำอุ่นในการแช่ หรือ ถุงน้ำร้อนเพื่อวางประคบได้(ต้องไม่มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน แล้ว)
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน

การรักษาอื่นๆ

  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่น ฝ่าเท้าแบนราบหรือ โค้งเกินไป
  • แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
  • การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้น เพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน

8

 

ข้อเท้าแพลง


4

         ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเดินสะดุดก้อนหิน ขอบถนน หรือพื้นที่ไม่เรียบ หรือขึ้นลงบันไดแล้วพลาด เป็นต้น สำหรับในกลุ่มที่เล่นกีฬาก็พบได้บ่อยเช่นกัน จากการวิ่งแล้วล้มลง หรือปะทะกันแล้วล้มลง ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงเป็นปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬาประเภทต่างๆ เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล นักกีฬายิมนาสติก เป็นต้น

2

สาเหตุ

คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬาก็สามารถพบได้บ่อยส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ใส่ส้นสูงเกิดเท้าพลิก ตกบันได อุบัติเหตุรถยนต์ ข้อเท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าได้รับการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วน แต่ในรายที่รุนแรง เอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง การออกกำลังกาย ถ้าเราทำอย่างไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้  ข้อเท้าแพลงเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดจากการออกกำลังกายที่พบบ่อย การเกิดข้อเท้าแพลง เกิดจากการบิดของข้อเท้าที่เกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การหกล้ม หรือการวิ่ง ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ จะทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อเท้ามีการฉีก หรือการกระชากออก ทำให้เกิดอาการบวมและปวดของข้อเท้าตามมา

1

  ข้อเท้าแพลงแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ

ระดับ 1 : ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง คือ เอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เอ็นบาดเจ็บ แต่เส้นใยของเอ็นไม่ฉีกขาด มีอาการปวด บวม แต่น้อย

ระดับ2: ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง มีอาการปวด บวม เฉพาะที่ และอาจมีเลือดคั่ง

ระดับ3 : ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทางด้านนอกหมดทั้ง 3 เส้น ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง มีอาการปวด บวมมาก และมีเลือดคั่ง อาจต้องผ่าตัด

3

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดข้อเท้าจากการบาดเจ็บ

  1. Rest:  ลดการใช้งานของข้อที่ได้รับบาดเจ็บ
  2. Ice: ในการประคบเย็น อาจจะใช้น้ำแข็งผสมน้ำใส่ถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่งหรือใช้ cold pack แล้ววางที่บริเวณที่บาดเจ็บโดยปกติสามารถวางได้นานถึง 20 นาที หรือจนมีความรู้สึกชา โดยให้ทำเช่นนี้ทุก 2-4 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 วัน
  3. Compress:  ใช้ผ้ายืดพันรอบตั้งแต่โคนนิ้วเท้าจนถึงกลางหน้าแข้งโดยพันแน่นบริเวณส่วนปลายเพื่อลดบวม
  4. Elevation:  นอนยกข้อเท้าข้างที่เจ็บสูงเหนือหัวใจโดยอาจนำหมอนมาหนุน เพื่อป้องกันของเหลวสะสม

5

 

การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด

1.การใช้ความร้อน หรือความเย็น เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่ การประคบร้อนหรือการประคบเย็น และ การใช้เครื่อง ultrasound ขึ้นอยุ่กับลักษณะอาการของคนไข้แต่ละคนและเทคนิคของนักกายภาพแต่ละบุคคล

2.การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดอาการปวด ได้แก่ TENS  IFC

3. การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า

4. การยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆข้อเท้า

5.สวมใส่ที่พยุงข้อเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนัก คลิกที่นี่

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or