Blog Section

ตอนที่24:โรคนิ้วล็อก tigger finger

ตอนที่24:โรคนิ้วล็อก tigger finger

 

 

4

 

โรคนิ้วล็อก tigger finger

โรคนิ้วล็อก tigger fingerหรือโรคเหนี่ยวไกปืน  ทำไมถึงต้องเป็นโรคเหนี่ยวไกปืน หลายคนคลสงสัยมาฟังเฉลยกันเนื่องจากอาการแสดงของท่าทางที่นิ้วติดเหมือนกับว่ากำลังเหนี่ยวไกปืนอยุ่จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าโรคเหนี่ยวไกลปืน บางคนคงทราบและอาจจะกำลังเป็น หรือ เป็นและรักษาแล้ว โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ นิ้วมือที่ไม่สามารถกำ หรือ เหยียดนิ้วมือได้เป็นปกติ เกิดภาวะสะดุดหรือล็อก

โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 พบในผู้ชายร้อยละ 20 พบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด ในกลุ่มอายุ 50 – 60 ปี ส่วนในผู้ชายพบในกลุ่มอายุ 40 – 70 ปี พบโรคนิ้วล็อกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานที่ซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปถ้ามีประวัติการใช้งานที่รุนแรง เช่น หิ้วถุงหนักๆ การบิดผ้า ซักผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู สับไก่

59

สาเหตุ

อาชีพบางอย่างมีความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกอย่างมาก เช่น คนทำซาลาเปา ต้องนวดแป้ง ทุกนิ้วต้องบีบขยำแป้ง ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ที่ต้องใช้คีม ไขควงขันเจาะเนื้อไม้ แม่ครัวโรงเรียนที่ต้องยกหม้อหนัก คนสวนต้องตัดกิ่งไม้ ขุดดิน ดายหญ้า ฯลฯ การทำงานเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เอ็นนิ้วมือเสียดสีกับเข็มรัดเอ็น ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของเข็มขัดรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์ ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิด การฝืด การตึง สะดุด กระเด้ง จนถึง นิ้วล็อกในที่สุด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น และโรคนี้มักจะพบร่วมกับโรค carpal tunnel syndrome และ De Quervain tenosynovitis เด็กที่เป็นนิ้วล็อกแต่กำเนิดโรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กซึ่งเป็นนิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิด (congenital trigger finger) กลุ่มเด็กที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่จะเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ (trigger thumb) ซึ่งเกิดจากที่ปลอกเอ็นหนา จนทำให้เอ็นผ่านไปไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการนิ้วล็อกทั้งสองมือ ซึ่งพบได้ร้อยละ 20 – 30 ในบางรายสามารถหายเองได้หากปมไม่ใหญ่มากนัก ประกอบกับการที่พ่อแม่ช่วยนวดคลึงบริเวณฐานนิ้วบริเวณปลอกเอ็นให้เกิดความยืดหยุ่น

อาการนิ้วล็อก

นิ้วจะเหยียดและงอทำให้มีอาการปวดที่บริเวณโคนนิ้ว ถ้าอาการของโรคนิ้วล็อกรุนแรง นิ้วมือจะงอหรือเหยียดไม่ได้เลย นิ้วล็อก จะมีอาการรุนแรงแตกต่างกัน และแบ่งตามอาการออกเป็นระดับของความรุนแรง ดังนี้
ระดับที่ 1 นิ้วไม่มีการล็อก แต่นิ้วมือจะรู้สึกฝืด เวลาเหยียดหรืองอนิ้วมือในตอนเช้าหรือในอากาศเย็นๆ
ระดับที่ 2 นิ้วมือจะงอและเหยียดมีเสียงดัง แต่ยังคงเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เริ่มมีอาการปวดที่โคนนิ้ว
ระดับที่ 3 นิ้วมือเวลางอหรือเหยียดจะมีเสียงดัง และล็อก ต้องใช้มือด้านตรงข้ามมาเหยียดออก และจะมีอาการปวด
ระดับที่ 4 นิ้วมือจะล็อก และทำให้นิ้วเหยียดออกหรืองอไม่ได้เลย

10

วิธีการรักษา

การรักษาโรคนิ้วล็อกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะแรกคือ การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ

 

6

การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวนด์ ก็อาจช่วยลดการอักเสบและการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกเอ็นการใช้เครื่องดามนิ้วมือ การนวดเบา ๆ การใช้ความร้อนประคบ และ การออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง

SAMSUNG

การรักษาด้วยวิธีการฉีดยา

แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจจะให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณปลอกเอ็น ซึ่งสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น และปลอกเอ็นทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่ การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นานประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล็อก ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สอง ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิด tendon rupture ได้ ในกรณีที่มีการล็อกติดรุนแรงหรือพังผืดหนามาก ฉีดยาก็ไม่ได้ผล

8

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

การผ่าตัดจึงเป็นวิธีสุดท้ายและดีที่สุดในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองการรักษาด้วยวีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล เพราะจะเปิดลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและ ปลอกเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้ผ่านไปได้การรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถทำในแผนกผู้ป่วยนอกได้ทันที ในกรณีที่คนไข้เป็นหลายนิ้วในมือเดียวกัน ก็สามารถทำพร้อมกันได้ทีเดียว ส่วนถ้าเป็นอีกมือหนึ่งแนะนำให้ทำภายหลังจากที่มืออีกข้างหายดีแล้ว การผ่าตัดด้วยวิธีนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่อง จากเจ็บตัวน้อยมาก (ขณะฉีดยาชา) ไม่มีแผลเป็น หายเร็ว ไม่ต้องเปิดแผล ไม่ต้องทำแผล ไม่มีเลือดออก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท

 

E014

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or