Blog Section

ตอนที่28:เบาหวาน……เรื่องเบาๆกับการตัดขา

ตอนที่28:เบาหวาน……เรื่องเบาๆกับการตัดขา
 10

โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนทางเส้นประสาท หลอดเลือด การติดเชื้อง่าย ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นความเสี่ยงให้เกิดแผลที่เท้า นอกจากนั้นเท้าที่ผิดรูป เบาหวานที่เป็นมานาน หรือมีประวัติถูกตัดเท้ามาก่อนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลและถูกตัดเท้า โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าซึ่งมีสาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอเกิดแผลเนื่องจากขาดเลือด ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดแผลกดทับ การติดเชื้อที่ผิวหนังก็ทำให้เกิดแผล นอกจากนั้นโรคแทรกซ้อนทางผิวหนังเช่นผิวแห้ง เชื้อราก็เป็นสาเหตุให้เกิดแผลที่เท้า โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้าและเป็นสาเหตุให้ถูกตัดเท้า การป้องกันการถูกตัดเท้าจะต้องมีความรู้เรื่องเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขา การตรวจเท้าเป็นประจำแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเกิดจาก แผลที่เท้าจากปลายประสาทอักเสบ Diabetic neuropathy) โครงสร้างของเท้าผิดปกติ และหลอดเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกตัดเท้าส่วนใหญ่เกิดจากแผลที่เท้าเป็นตัวนำ หากวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรกและให้การรักษาอย่างเหมาะสมจะสามารถป้องกันการถูกตัดขา

2.1-4-56(500)

การเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีส่งผลให้

1.เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงเท้าเสื่อม กล้ามเนื้อเท้าอ่อนแรง การกระจายน้ำหนักเท้าผิดปกติทำให้เป็นแผลง่าย

2.เส้นเลือดที่ขาตีบ เลือดมาเลี้ยงเท้าลดลง ทำให้เป็นแผลแล้วหายยาก  เท้าเบาหวาน หมายถึง กลุ่มอาการของเท้าที่เกิดจากปลายประสาทเสื่อม เส้นเลือดส่วนปลายตีบตันและการติดเชื้อซึ่งก่อให้เกิดบาดแผลและน้ำไปสู่การตัดขาได้ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง เคยเป็นแผลมาก่อน เคยถูกตัดขา สูญเสียประสาทรับความรู้สึกที่เท้า เท้าผิดรูป โรคเบาหวาน อาการแสดงที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ชาเท้า ตาปลา หนังหนาที่เท้าหรือเล็บ ปวดที่เท้าหรือน่องเวลาเดินนานๆ เท้าผิดรูป แผลที่เท้า ดังนั้นการตระหนักและมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยและญาติ สามารถปฏิบัติได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก ทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดแผลที่เท้า การตัดขาของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างดี

13

ผู้ป่วยเบาหวานกับปัญหาเท้า

เนื่องจากหลอดเลือด…เส้นทางลำเลียงอาหาร ออกซิเจน และสารอื่นๆ เมื่อเกิดการติดเชื้อ หลอดเลือดจะเป็นเส้นทางส่งเม็ดเลือดขาว และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อต่อสู้และฆ่าเชื้อโรคให้แผลหายเร็วขึ้น  แต่จากผลต่อเนื่องของการเป็นเบาหวานที่ยาวนาน  ทำให้หลอดเลือดมีปัญหา ทั้งตีบ ทั้งขรุขระ และเป็นหลุมเป็นบ่อ  ส่งผลให้แผลไม่หาย กลายเป็นแผลเรื้อรัง เส้นเลือดยังอุดตันจากผลการอักเสบเกิดเป็นเนื้อเน่าตาย เชื้อโรคร้ายลุกลามถึงกระดูก และสุดท้ายก็ถูกตัดขาเพื่อรักษาชีวิตไว้

 

  • ปวด เป็นอาการที่นำมาพบแพทย์ได้บ่อย อาจจะปวดที่ส้นเท้า ฝ่าเท้า จากการอักเสบเยื่อพังผืดที่รับน้ำหนักตัวมากเกินไป อุบัติเหตุ หกล้ม ถูกเหยียบ ทับหรือกระแทก เกิดฟกช้ำ บวม ซ้น หัก เป็นต้น ปวดจากการอักเสบติดเชื้อของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หรือเป็นฝี หนอง แผลอักเสบ หรือปวดจากการอักเสบของข้อ เช่น จากโรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นต้น ปวดจากหลอดเลือดแดงตีบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเวลาเดินออกกำลังกาย มีอาการปวดที่น่อง ระยะทางที่สามารถเดินได้จะสั้นลงๆ ตามระยะเวลาที่เป็นนานขึ้นและการไหลเวียนเลือดที่ลดลง ในเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนจากปลายประสาทอักเสบที่ทำให้ชา อาการปวดจะลดลงหรือไม่ค่อยปวดเลยแม้กระดูกหักยังไม่รู้สึกปวดก็มี
  • ชา ปลายประสาทอักเสบเป็นโรคแทรกซ้อนระยะท้ายของเบาหวาน ประสาทรับความรู้สึกลดลงทั้งความรู้สึกสัมผัส เจ็บปวด ร้อนเย็น และการทรงตัว ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานจึงเดินเซ สะดุดได้ง่าย ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบหรือสัมผัสของแข็ง ของมีคม ถ่านไฟ น้ำร้อน เป็นต้น และนำไปสู่การเกิดแผลได้ง่าย  จึงเสมือนกลไกการป้องกันผิวหนังสูญเสียไป ไม่สามารถหลบหลีกเท้าหนีจากสิ่งที่ทำร้ายผิวหนัง
  •  เชื้อรา ที่เล็บและซอกนิ้วเท้าเป็นเชื้อราโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่เล็บเดียวแต่เป็นเกือบทุกนิ้ว บ้างเป็นที่ซอกนิ้วจากความอับชื้น ทำให้คันและลอกเป็นแผลมีโอกาสติดเชื้อได้
  • อักเสบ อาการอักเสบคือ ปวด บวม แดง ร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ บางครั้งเกิดจากข้ออักเสบที่ไม่ใช่เชื้อโรค เช่น ข้ออักเสบจากโรคเกาต์ ข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ เป็นต้น ถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากแผล ก็มีการฉีดขาดของผิวหนังมาก่อน และแผลสกปรกมีเชื้อโรคลุกลามอักเสบ กลายเป็นหนองและเนื้อตาย ในรายที่เท้าชาก็จะไม่รู้สึกเจ็บ กว่าจะรู้ว่ามีแผลบางทีก็อักเสบลุกลามมากมาย ต้องใช้เวลานานในการรักษา และสูญเสียเนื้อเยื่อ หรือถึงกับเสียอวัยวะบางส่วน เช่น ตัดนิ้วเท้า เป็นต้น
  •  แผล เป็นการฉีกขาดของผิวหนัง หรือผิวหนังพองเป็นน้ำเหลืองหรือหนอง ไม่ว่าจากอุบัติเหตุหรือเหตุใดเหตุหนึ่ง หรือจากแผลกดทับ เมื่อเกิดแผลถ้ารู้ตัวเร็วรักษาแผลให้ดี ทำความสะอาดให้ถูกต้อง ก็จะหายได้เร็ว แต่ถ้าชะล่าใจปล่อยทิ้งนาน เบาหวานรักษาไม่ดี แผลเกิดอักเสบก็ลุกลามใหญ่โตได้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตัดเท้าจากแผลเบาหวาน สามารถป้องกันได้ หากดูแลรักษาและเอาใจใส่เท้าแต่แรก รวมทั้งควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ดี
    เนื้อตาย หลอดเลือดแดงตีบมากจนนำเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้ส่วนปลายของเท้าขาดเลือด เกิดเนื้อตายเป็นสีดำ และลามขึ้นมาข้างบนได้เรื่อยๆ ในบางรายเป็นมากจนนิ้วเท้าแห้งหลุดร่วงไปเอง เริ่มจากอาการปวดเท้าเวลาเดินมาก ระยะเวลาที่เดินสั้นลง ผิวหนังมัน เลี่ยน ขนหลุดล่วง เล็บเท้าไม่งอก กลางคืนปวดเท้าจากหลอดเลือดหดตัว เป็นมากๆ สีที่ปลายเท้าเริ่มคล้ำขึ้นจนกลายเป็นเนื้อตาย และต้องตัดเท้าในที่สุด

 

 15

วิธีดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา และสบู่อ่อนทุกวันหลังอาบน้ำ ไม่ความใช้แปรงขนแข็งขัดเท้า
  • ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดและนุ่ม เช่น ผ้าขนหนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณซอกนิ้วเท้า
  • ตรวจดูเท้าทุกวันว่ามีอาการปวด บวม มีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสี หรือเม็ดพอง โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า (ถ้ามองไม่เห็นอาจใช้กระจกส่อง) ซอกระหว่างนิ้ว และรอบเล็บเท้า เมื่อพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
  • สวมรองเท้าตลอดเวลา ทั้งในและนอกบ้านป้องกันไม่ให้เกิดแผล ก่อนสวมรองเท้าทุกครั้งควรตรวจสอบภายในก่อนว่ามีสิ่งแปลกปลอมใดที่ทำให้เกิดแผลได้หรือไม่เช่น กรวด ทรายเพราะแม้แต่แผลเล็กมากๆ จากรอยถลอกจากการถูกของแข็งจะทำให้เป็นแผลและหายช้า
  • เลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะหรือรองเท้าสำหรับเบาหวาน  รองเท้าจะต้องนิ่ม ขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไปจนเกิดการเสียดสีเป็นแผล
  • การตัดเล็บเท้าด้วยความระมัดระวัง และตัดอย่างถูกวิธีโดยตัดขวางเป็นเส้นตรงให้พอดีกับเนื้อ ถ้าสายตาไม่ดี ควรให้ผู้อื่นช่วยตัดเล็บให้
  • ทาโลชั่นเพื่อลดความแห้งแข็งของผิวหนัง และหลีกเลื่ยงการทาระหว่างซอกนิ้วเท้า
  • ออกกำลังบริเวณขา และเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 15 นาทีเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • ถ้ามีผิวหนังที่หนาหรือตาปลาไม่ควรตัดเอง ควรได้รับการตัดให้บางทุก 6-8 สัปดาห์โดยผู้ชำนาญ
  • กรณีเกิดบาดแผลต้องรีบรักษาโดยเร็ว

14

ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน

มีปลายประสาทอักเสบ  เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือถูกไฟ ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้การรักษาช้ามีหลอดเลือดแดงที่ขาแข็ง peripheral vascular disease โรคเบาหวานการสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบมากขึ้น เมื่อมีการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าของผู้ป่วยจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น บางท่านเดินแล้วปวดเท้าคลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้ามีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า Diabetic foot ulcer) และติดเชื้อ การออกกำลังจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น

  • การติดเชื้อ(Infection) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล สามารถเกิดได้แม้ว่าจะมีแผลเล็กๆที่เท้า
  • มีประวัติแผลหรือถูกตัดขา พบว่าผู้ที่มีแผลจะเกิดแผลซ้ำที่เดิมภายใน 2-5 ปี
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเท้า altered biomechanical
  • มีจอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน
  • หนังแข็งใต้ฝ่าเท้า
  • เล็บผิดปกติ
  • รองเท้าไม่เหมาะสม
  • พฤติกรรมการดูแลเท้าไม่ถูกต้อง
  • ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี
  • ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
  • เพศชาย
  • สูบบุหรี่
  • มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or