Blog Section

ตอนที่42:ไหล่ติดต้องทำไง….

ตอนที่42:ไหล่ติดต้องทำไง….

010

ไหล่ติดต้องทำไง….

ข้อไหล่ติด หรือ ข้อไหล่ยึดติดแข็ง

               มักเกิดจากเอ็นกล้าเนื้ออักเสบ  เส้นเอ็นฉีกขาด กระทั่งกระดูกแตกหัก รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ตลอดจนพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ค่อยได้ขยับเคลื่อนไหว หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เหล่านี้เป็นภาวะร่วมที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ยึดติดได้ง่าย

กลุ่มคนไข้ที่มีโอกาสเป็นโรคไหล่ติด

  • อายุและเพศ คนที่มีอาการไหล่ติดมักจะเป็นคนไข้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี โดยทั่วไปจะเป็นในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า และมักเป็นกับแขนที่ไม่ถนัดใช้มากกว่าข้างที่ถนัด
  • ต่อมไร้ท่อผิดปกติ คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไทรอยด์จะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการไหล่ติด
  • มีแผลหรือผ่าตัดบริเวณหัวไหล่มาก่อน คนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุที่หัวไหล่เป็นประจำ หรือเคยได้รับการผ่าตัดบริเวณหัวไหล่ เกิดมีแผลเป็น มีการหนาตัว และการหดตัวของเยื่อหุ้มหัวไหล่ ทำให้เกิดอาการข้อไหล่ยึด
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ อัมพาตครึ่งซีก และพาร์กินสัน จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไหล่ติดมากขึ้น

 

  • 090

กิจกรรมต่อไปนี้ทำแล้วท่านเจ็บหัวไหล่เป็นการเตือนว่า  ท่านกำลังไหล่ติด คือ

  • กางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น
  • เหยียดแขนขึ้นไปหยิบของเหนือศีรษะ
  • เอื้อมมือไปหยิบของซึ่งวางบนเบาะหลังของรถ
  • ดันประตูหนักๆ ให้เปิดออก
  • การขับรถในคนไหล่ติดจะมีความลำบากในการหมุนพวงมาลัยรถ
  • เมื่อสระผมตัวเอง
  • เมื่อถูหลังตัวเอง
  • เมื่อสวมหรือถอดเสื้อยืดเข้าออกทางศีรษะ
  • เมื่อติดกระดุมเม็ดล่างด้านหน้าของเสื้อเชิ้ต
  • เมื่อล้วงของออกจากกระเป๋าหลังของกางเกง

การรักษาประกอบไปด้วย

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID

  1. ยาคลายกล้ามเนื้อ
  2. การทำกายภาพ

การรักษาในช่วงแรกจะเน้นการรักษาเพื่อลดอาการปวด เช่น ฉีดยา สเตียรอยด์ที่ข้อไหล่ การรับประทานยาแก้ปวดร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การประคบแผ่นร้อน การดัดดึงข้อต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง และการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายมีส่วนสำ คัญ อย่างมากในการบรรเทาและรักษาอาการของโรค โดยเน้นออกกำลังกายที่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว การใช้น้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบ  การฉีดยา steroid เข้าข้อการบริหารเพื่อทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น

080

 

การบริหารโดยการใช้รอก…..

19 E006 EE0006

เพิ่มเติม….

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

 

Facebook Comments

Leave a Reply

Or