Blog Section

ตอนที่43:ปวดกล้ามเนื้อ…ภัยเงียบของคนทำงาน

ตอนที่43:ปวดกล้ามเนื้อ…ภัยเงียบของคนทำงาน

1

โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ myofascial pain syndrome

จุดกดเจ็บ หรือ Trigger Point ซึ่งเป็นจุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เหมือนมีก้อนแข็งๆ เล็กๆ ใต้ผิวหนัง เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่สะสมต่อเนื่องกันนานจนเกิดเป็นก้อนเล็กขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จุดกดเจ็บจำนวนมากที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อมี

ต้นเหตุสำคัญคือ

การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมทั้งออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เกิดการคั่งของเสียในบริเวณนั้น ทำให้กล้ามเนื้อแข็งและเกร็ง มีอาการปวดลามไปยังบริเวณใกล้เคียงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังตามมา ส่วนใหญ่จะเกิดที่กล้ามเนื้อส่วนบนตั้งแต่ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และ กล้ามเนื้อหลัง อาการปวดร้าวลึกของกล้ามเนื้อ อาจจะปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลานั่งทำงาน บางคนอาจเป็นหนักจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้  หรือบางคนอาจลามไปถึงศีรษะ กระตุ้นการเกิดปวดศีรษะชนิดไมเกรน ทำให้นอนไม่หลับ มีอาการชาตามมือ แขน และทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างและการใช้งานของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังโก่งงอ หรือมีปัญหาในการเดินและทรงตัว

อาการปวดคอ และ หลัง จากการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน

1. ท่าทางที่ไม่ถูกต้องในการทำงานพื้นที่ในการทำงานออกแบบไม่ถูกต้อง  ลักษณะนิสัยในการทำงานไม่ถูกต้อง    ทำงานในท่าทางเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

6 5 4

 

2. การยกของหนักด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง การยกของหนัก โดยออกแรงยกเต็มที่และรวดเร็ว หรือด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดข้อแพลง เอ็นหรือกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ และนำไปสู่หมอนรองกระดูกเคลื่อน กดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวด ชา ในรายที่รุนแรงอาจทำให้แขนขาอ่อนแรงเป็นอัมพาตได้

8 7

3. การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก  การลื่นล้มบนพื้นที่เปียก หรือถูกกระแทกโดยวัตถุที่มีน้ำหนักมาก อาจทำให้กระดูกหัก หรือเกิดอาการเนื้อเยื่อรอบๆได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง

15

 3

โครงสร้างและหน้าที่

  • คอและหลังมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วย กระดูกสันหลัง
  • หมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ เอ็น ไขสันหลัง และประสาทไขสันหลัง
  • กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นปล้องรวม 33 ปล้อง ทำหน้าที่ป้องกันไขสันหลังและเป็นแกนให้ร่างกายตั้งตรงได้
  • ไขสันหลัง และประสาทไขสันหลัง ทำหน้าที่แปลงกระแสประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และสร้างการรับรู้ต่างๆ ส่งกลับไปสู่สมอง
  • หมอนรองกระดูกสันหลัง
  • เป็นกระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังปล้องที่เรียงติดกัน
  • กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่นจึงทำหน้าที่เป็นตัวลดแรงกระแทก ปกป้องไขสันหลัง
  • เอ็น ทำหน้าที่ยึดกระดูกสันหลังไว้ด้วยกัน เพื่อให้กระดูกหลังมีการเคลื่อนไหวได้
  • กล้ามเนื้อหลังและคอ ทำหน้าที่พยุงให้เราสามารถทรงตัวอยู่ในท่าทางต่างๆ ได้
  • และทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายด้วย

…ส่งผลให้เกิด…

1.หมอนรองกระดูกสันหลัง

2.ข้อกระดูกสันหลังเคล็ด ( Acute strains and Sprain )

3.ข้อกระดูกสันหลังติดตึง ( Joint Stiffness )

4.กระดูกเสื่อม ( Osteoarthritis )

 

ท่าทางที่ถูกต้อง

13 12 11 10

การนั่ง….

–เก้าอี้สูงพอดีที่เท้าทั้งสองราบติดพื้น
–นั่งให้เต็มที่ของเก้าอี้
–หลังพิงสนิทกับพนั

16

การยืน…

-ยืนนาน ๆ ควรมีที่พักเท้าและ สลับข้างบ่อย ๆ  เพื่อให้ได้งอเข่า

 

 การเดิน…

-หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง

-ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงเกินไป

 

19 18

การยกของ มีลักษณะดังนี้

– ย่อเข่าลง  งอสะโพก หลังตรง

– ของที่ยกต้องอุ้มชิดตัว

– อย่ายกของที่มีน้ำหนักมากเกินไปคนเดียว

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or