Blog Section

ตอนที่46: นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ตอนที่46: นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

1

นอนกรนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆมีผลกระทบต่อชีวิตทางสังคม และยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพด้วย โดยเฉพาะถ้ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่ยวดยานหรือทำงานกับเครื่องจักรกล ในระยะยาวยังอาจมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

การกรน    คือ เสียงดังที่เกิดขึ้นจากการหย่อนตัวและสั่นสะเทือนของลิ้นไก่ เพดานอ่อน และผนังช่องคอเมื่อมีการหายใจเข้าขณะนอนหลับ เป็นภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างหนึ่ง พบได้ในบุคคลทั่วไป ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะเกิดขณะที่เราหลับสนิท เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และโคนลิ้น จะหย่อนตัวและอุดกั้นทางเดินหายใจทำให้ไม่มีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายในคนที่หยุดหายใจขณะนอนหลับ เมื่อเขาเริ่มหลับก็จะเริ่มกรน เมื่อหลับสนิทก็จะกรนเสียงดังมากขึ้น ต่อมาจะเริ่มเห็นผู้ป่วยมีอาการกรนที่ไม่สม่ำเสมอและหยุดกรน เมื่อเกิดการขาดอากาศหายใจจะเห็นผู้ป่วยมีอาการนอนกระสับกระส่าย พยายามหายใจแรง สะดุ้งตื่น หรือมีอาการสำลักน้ำลายจนบางครั้งตื่นขึ้นมาให้ร่างกายหายใจได้อีกครั้ง หลังจากนั้นจะเริ่มนอนหลับอีกครั้ง ละเริ่มวัฏจักรภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีกวนเวียนไปตลอดคืน

ผลเสียของผู้ป่วยที่นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ผลเสียทางสังคม เสียงกรนรบกวนคู่นอนและบุคคลอื่นในบ้าน เสียบุคลิกภาพ ถ้ามีภาวะหยดหายใจร่วมด้วย จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ภาวะหยุดหายใจดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อสมองในวันถัดมา ทำให้มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ ปวดหัว ขี้ลืม ไม่สดชื่น ความคิดอ่านช้าลง สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบระยะยาว ทำให้เกิดคามดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในเด็กจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า

 ถ้ามีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรทำอย่างไร

พบแพทย์เพื่อสอบถามประวัติ ตรวจร่างกายหาความผิดปกติในช่องปาก ลำคอ ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยเครื่องตรวจการนอนหลับ(Polysomnography) เพื่อดูว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ มีคามผิดปกติที่อวัยวะไหนและมีความรุนแรงเพียงใด

 การรักษา

1. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย

2. หลีกเลี่ยงการนอนหงาย พยายามนอนตะแคงข้าง

3. หลีกเลี่ยงบุหรี่ เหล้า ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และสารเสพติด

4. หลีกเลี่ยงการอดหลับอดนอน

5. การรักษาด้วยการผ่าตัด

6. รักษาด้วยเครื่อง CPAP ( Continuous Positive Air Pressure )

 

 

3

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or