Blog Section

ตอนที่56:เบาหวานกับการดูแลเท้า

ตอนที่56:เบาหวานกับการดูแลเท้า

Glucose level blood test

เบาหวานกับการดูแลเท้า

การดูแลรักษาเท้าเป้นสิ่งจำเปนสำหรับผู้ที่เบาหวาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็ยเบาหวาน มีอัตตราเสี่ยงต่อการเป็นแผลเรื้อรัง หรือเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงมากกว่าคนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อาจลุกลามถึงเสียนิ้วหรือเสียขา สิ่งเหล่านี้ามารถป้องกันได้โดยการเอาใจใส่สำรวจเท้าทุกกวันถ้าเกิดคววามผิดปกติควรได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะสั้น

107

  สาเหตุที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานเกิดแผลทีีเท้าได้ง่ายกว่าปกติ

1.ผู้ที่เป็นเบาหวานมานาน ส่วนใหญ่พบมีการเสื่อมของประสาทส่วนปลายที่ไปเลี้ยงมือและเท้า การรับความรู้สึกที่น้อยที่น้อยลงเกิดอาการชา โดยเฉพาะนิ้วเเท้ามีโอกาสเป้นแผลได้ง่ายโดยไม่รุ้ตัวหหรือกว่าจะสังเกตพบแผลได้ลุกลามไปมากแล้ว เมื่อประสาททที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาและเท้าเสื่อมกล้ามเนื้อจะแฟบลงทำให้รูปร่างของเท้าผิดปกติ นิวเท้างอขึ้น การรับนำ้หนักไม่สมำ่เสมอ บริเวณที่รับนำ้หนักมากหรือถูกกดอยู่เป็นเวลานานจะหนาขึ้นเกิดเป็นตาปลาหรือเป็นแผล

2.การไหล่เวียนของโลหิตที่ไปสู่ขาลดลง เนื่องจากผนังของหลอดเลือดแดงหนาขึ้น ทำให้ขาออาหารและออกซิเจนผิวหนังจะบางลง แผลหายช้า เกิดอาการปวดน่องเวลาเดิน ถ้าเป้นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายมีคลำ้ดำขึ้น จนต้องตัดนิ้วหรือนิ้วที่แห้งดำหลุดไปได้

3.ผู้ป่วยที่มีระดับนำ้ตาลในเลือดสูงอยู่นาน จะเกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อราที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้าทำให้ผิวหนังถลอกมีแผลที่เกิดขึ้น อาจมีเชื้อโรคที่เกิดขึ้นตามมา

101 - Copy

วิธีป้องกันการเสื่ออมของประสาทส่วนปลาย

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีที่ดีพอสำหรับป้องกันไม่ให้เกิด แต่อาจทำให้เกิดช้าลงหรือความรุนแรงน้อยลง โดยการควบคุมเบาหวาน รักษาระดับนำ้ตาลให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับคนปกติ

3

วิธีการเพิ่มการไหลเวียน

1.บริหารทุกวันซึ่งทำได้โดย

1.1เดินทุกวันอย่างน้อย1/2-1 ชั่วโมง

1.2 บริหารขา

ท่าแกว่งลูกตุ้มนาฬิกา

-ยืนตรงใช้มือจับโตะ๊หรือสิ่งที่ตึงกับที่ป้องกันการ้ม

-แกว่งขาไปข้างหลังไม่งอเข่า

-แกว่งขาไปข้างหน้าไม่งอเข่า พยายามยกขาให้สูงเท่าที่จะได้ เกร็งขาแล้วนับ11ถึง10

-แล้วแกว่งขาไปข้างหลังโดยไม่ต้องเกร็งขาและไม่ต้องนับ1-10

1.บริหารเท้าทุกวัน ซึ่งทำโดย

1.3 เดินทุกวันอย่างน้อย1/2-1ชั่วโมง

-นั่งบนเก้าอี้

-ยกเท้าให้สูงจากพื้นเล็กน้อยเหยียดเท้าตรง

-เกร็งปลายนิ้วเท้าชี้เข้าหาตัวให้ส้นเท้าชี้ออกไปข้างหน้าเกร็งกล้ามเนื้อที่น่องนับ1-10

-คลายกล้ามเนื้อที่น่องทำสลับกัน

1.4บริหารข้อเท้า กล้ามเนื้อหลังเท้าและฝ่าเท้า

-นั่งเก้าอี้ เหยียดเท้าตรง ยกสูงจากพื้นเล็กน้อย

-หมุนเฉพาะข้อเท้า ให้ปลายเท้าหหมุนเป็นวงกลมระวังอย่าหมุนเท้าจาหัวเข่า

หมุนปลายเท้าเป้นวงกลม ทวนเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกา ปฎิบัติทีละข้างหรือจะหมุนเท้าพร้อมหันทีละ2ข้าง

105

1.5เขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง 6-12 ครั้งพยายามทำเสมอเมื่อมีโอกาส

2.งดบุหรี่ บุหรี่ทำให้เส้นเลือดตีบแคบ

104

การป้องกันการเกิดแผลที่เท้า

1.สำรวจเท้าทุกวัน เช่นรอยบวมแดง ผื่นคัน ตุ่มนำ้ใส ขุยขาวที่ซอกนิ้วเท้า ตาปลา สีเล้บ

2.ทำความสะอาดเท้า ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยนำ้สบู่และนำ้ธรรมดาหรือนำ้อุ่น ไม่ใช่นำ้เย้นจัดหรือนำ้ร้อน เช็คเท้าทั้งตามซอกนิ้วเท้าให้แห้ง อย่าถูแรง

3.นวดผิวหนังที่ขาและเท้าด้วยนำ้มันวาสลินหรือโลชั่นให้ผิวนุ่มป้องกันผิวแห้ง จะทำให้คันและเกาเกิดเป็ยแผล

4.อย่าใช้มีดหรือของมีคมตัดตาปลา

5.ถ้าเท้าชื้นมีเหงื่อออกมา ต้องเช้ดให้แห้งเสมอ

6.ถ้ามีแผลเล็กน้อย ล้างด้วยนำ้สะอาด ห้ามใช้นำ้ยาฆาเชื้ออย่างแรงหรือทิงเจอร์ไอโอดีน  เพราะอาจทำให้แผลถลอกเป้นมากขึ้น ถ้าแผลใหญ่บวมแดงต้องรีบปรึกษาแพทย์

7.การตัดเล้บ ระวังการตัดเล็บเท้า ต้องตัดเล้บในที่สว่างเห้นได้ชัดเจน ควรตัด เล็บภายหลังอาบนำ้ เพราะเล้บจะนุ่มตัดง่ายขึ้น ควรตัดตรงๆไม่ควรตัดสั้นเกินไป

8.ใส่ถุงเท้าที่สะอาด และไม่ใช่ถุงเท้าที่รัดเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่สะดวก

9.รองเท้า ต้องนุ่มใส่สบาย ระวังถ้าใส่รองเท้าคู่ใหม่ ไม่ควรเดินเกินครั้งละ1/2-1ชั่วโมง ควรมีรองเท้า2-3คู่ที่เหมาะสมไว้สับเปลี่ยน

ปกป้องเท้า ไม่เดินเท้าเปล่า และควรสวมรองเท้านุ่มๆพื้นรองเท้าทำด้วยวัสดุกันลื่นขณะอยู่บ้าน

11.อยาวางกระเป๋านำ้ร้อนหรือนำ้อุ่นที่เท้าถ้าเย้ยเวลานอนใส่ถุงเท้า แต่เป้นถุงเท้าที่ไม่รัด

12.อย่านั่งไขว้ขา จะกดเส้นเลือดทำให้โลหิตไปเลี้ยงเท้าไม่สะดวก

13.บริหารเท้าเพื่อให้กรไหลเวียนลงไปสู่เท้าได้ดี

ควบคุมระดับนำ้ตาลให้ดี ให้อยู่ในช่วง90-150 มก/ดล.

15.มีปัญหาให้ปรึกษาแพทย์

11106

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or