ตอนที่63:กายภาพบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน
Parkinson’s disease
Parkinson’s disease เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียกว่าโรคสั่นสันนิบาต Parkinson’s disease เกิดจากการตายของเซลล์สมองที่เรียกว่า Substantia nigra pars compacta (SNpc) ทำให้สารสื่อประสาทชื่อว่า Dopamine ซึ่งสร้างมาจากเซลล์ประสาทเหล่านี้มีปริมาณลดลง และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยบางอย่างช่วยลดโอกาสการเกิด Parkinson’s disease เช่น การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การใช้ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAID และการใช้ฮอร์โมน Estrogen ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ส่วนปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค Parkinson’s disease เช่น เคยมีอุบัติเหตุทางสมอง การสัมผัสกับยาฆ่าแมลง
ปัจจัยเสี่ยงของโรค Parkinson
- อายุ โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ > 50ปี
- เพศ ชาย > หญิง
- เชื้อชาติ พบมากในทางด้านเหนือของยุโรปและอเริกา
- พันธุกรรม อาจพบได้น้อย
- สิ่งแวดล้อม อาจเิกดจากการติดเชื้อหรือรับสารพิษ
อาการสำคัญในโรค Parkinson
- อาการสั่นขณะพัก (Resting tremor)
- อาการแข็งเกร็ง (Rigidity)
- อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia)
- อาการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability)
อาการอื่นในโรค Parkinson
อาการที่นอกเหนือจากอาการเด่นในการเคลื่อนไหวที่ช้า (Non-motor manifestations) เช่น
- ภาวะซึมเศร้า (Depression)
- ภาวะประสาทหลอน (Hallucinations/delusions)
- ภาวะความจำเสื่อม (Dementia)
ความรุนแรงของผู้ป่วย Parkinson ออกเป็น 5 ระยะ
- ระยะที่ 1 มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยที่แขนหรือขา เพียงซีกใดซีกหนึ่งของลำตัว
- ระยะที่ 2 มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยที่แขนหรือขา ทั้งสองข้างของลำตัว
- ระยะที่ 3 มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวทั้งสองข้างร่วมกับความผิดปกติในการทรงตัวให้สมดุล พบ Rigidity
- ระยะที่ 4 มีอาการแสดงทั้ง4อาการ มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวมาก และต้องได้รับการช่วยเหลือพอสมควรในการดำเนินชีวิต
- ระยะที่ 5 มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวอย่างมากและมักใช้ชีวิตอยู่กับเตียงหรือรถเข็นอาจ
บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน
1. ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)
2. ลดอาการปวดและการตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยใช้ความร้อนตื้น เช่น Thermo pad , กระเป๋าน้ำร้อน
3. ยืดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหดรั้ง
4. พัฒนาการทำงานของปอดและหัวใจ เช่น การสอนหายใจ , โปรแกรมการออกกำลังกาย
5. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดเข่า เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานโดยใช้ ถุงทราย, Quadriceps board
6. สอนวิธีการเคลื่อนย้ายตัวป้องกันการล้ม โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น Tripod cane, Walker
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994