ตอนที่68:ใครบ้างมีบทบาทในขบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ใครบ้างมีบทบาทในขบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
1. แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- เน้นการควบคุมโรค ป้องกันโรคแทรก
- บำบัดรักษาผู้ป่วย/ผู้พิการ
- ชี้แจงการพยากรณ์โรคและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
- วางแผน กำหนดเป้าหมาย และติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่วมกับบุคลากรในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- ประสานงานกับแพทย์ต่างสาขา เพื่อให้เป้าหมายบรรลุอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิ
2. นักกายภาพบำบัด
- เน้นการออกกำลังกาย การบริหารร่างกาย เพื่อบำบัดฟื้นฟู
- คงหรือเพิ่มการเคลื่อนไหวหรือพิสัยข้อและกำลังกล้ามเนื้อ
- ฝึกทรงตัวปรับเปลี่ยนท่า เคลื่อนย้ายตัว และการเดิน
- เลือกอุปกรณ์เครื่องช่วย เช่น ไม้เท้า รถนั่งคนพิการ ให้แก่ผู้ป่วย ผู้พิการ
3. นักกิจกรรมบำบัด
- เน้นการฝึกเพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น การกิน การดื่ม การทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การดูแลส่วนต่างๆของร่างกายเป็นต้น
- ช่วยจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อุปกรณ์ช่วยกิน เบาะรองนั่งเพื่อป้องกันแผลกดทับ
- การฝึกเพื่อเพิ่มพัฒนาการให้กับทารกและเด็ก
- การให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความพิการและระดับความสามารถของผู้ป่วย/ผู้การ
4. นักกายอุปกรณ์
- เน้นผลิตอุปกรณ์พยุงข้อให้ผู้ป่วยสามารถยืนได้และให้กระดูกสันหลังที่หักเคลื่อนสมานและไม่กดทับไขสันหลัง
- ช่วยปรับอุปกรณ์และซ่อมอุปกรณ์เครื่องช่วย
5. นักอรรถบำบัด
- เน้นการฝึกและแก้ไขการพูด และอาจรวมถึงการฝึกกลืน
6. นักจิตวิทยา
- เน้นสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์
7. นักสังคมสงเคราะห์
- เน้นการแก้ปัญหาด้านสังคม และหาแหล่งช่วยเหลือ สนับสนุนยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ที่จำเป็นให้แก่ผู้ป่วยผู้พิการที่ยากไร้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinics.com สายด่วน 085-264-4994
Facebook Comments