ตอนที่72:Brachial plexus injury
Brachial plexus injury
ในปัจจุบันนี้ Brachial plexus injury เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อย เนื่องจากเป็นข่ายประสาทสำคัญที่วางตัวอยู่ทั้งบริเวณคอและรักแร้ เกิดจากการรวมกลุ่มของรากประสาทไขสันหลัง 5 เส้น คือC5,C6,C7,C8,T1 เมื่อรวมตัวกันแล้วจะแบ่งออกเป็นเส้นประสาทต่างๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกตั้งแต่กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ไปจนถึงปลายนิ้ว
สาเหตุของการบาดเจ็บแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
1. การบาดเจ็บที่เกิดกับส่วนบนของ brachial plexus มักจะเป็นผลมาจากการแยกหรือดึงต้นคอและไหล่ไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น ล้มลงในท่าศีรษะและหัวไหล่กระแทกพื้นหรือในระหว่างการคลอด ซึ่งทารกถูกดึงศีรษะออกมาในขณะที่ยังตะแคงข้าง ผลจากการบาดเจ็บอาจทำให้ dorsal root และ ventral root ของเส้นประสาทไขสันหลังระดับ C5 และ C6 ถูกกระชากมาจากไขสันหลัง ในผู้ป่วยเหล่านี้ อาจพบอัมพาตของกล้ามเนื้อของกระดูกสะบักและสูญเสียความรู้สึกในบริเวณผิวหนังของหลังที่เลี้ยงโดย C5 และ C6 หรืออาจมีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อและสูญเสียความรู้สึกของแขน
2. การบาดเจ็บที่เกิดกับส่วนล่างของ brachial plexus มักจะเป็นผลมาจากการเกิดขึ้นในท่าที่แขนถูกดึงไปด้านหลังอย่างแรง เช่นคลอดทารกโดยดึงแขนขึ้น หรือท่าหล่นต้นไม้แล้วคว้ากิ่งไม้เพียงแขนเดียว จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บของ C8 และ T1 โดย dorsal root และ ventral root ถูกกระชากออกมาจากไขสันหลังลักษณะอาการคือกล้ามเนื้อแขนยังทำงานได้ดี แต่กล้ามเนื้อมือใช้การไม่ได้ ไม่สามารถงอข้อมือได้ ข้อนิ้วส่วนต้นจะเหยียด ข้อนิ้วกลางและปลายจะงออยู่ในท่าที่เรียกว่า “claw hand”
การบาดเจ็บของ brachial plexus อาจแบ่งออกเป็น
1. การบาดเจ็บชนิดที่มีบาดแผล (open injuries )
- บาดแผลจากของมีคม (sharp)
- บาดแผลจากการยิง หรือระเบิด (gun shot or blast)
- เส้นประสาทนั้นมีการฉีกขาดจาดการกระแทกหรือถูกตัดผ่าน
2. การบาดเจ็บชนิดไม่มีบาดแผล ( close injuries )
- การบาดเจ็บที่ตำแหน่ง supraclavicular
- เป็นการบาดเจ็บจากแรงดึงเป็นสำคัญ จะทำให้เกิดพยาธิสภาพในลักษณะ root avulsion นอกจากนี้ อาจได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกหรือแรงกด ซึ่งอาจเกิดโดยตรงหรือจากการที่ชิ้นกระดูกบริเวณหัวไหล่ไปกดทับ
3. การบาดเจ็บจากรังสี (post radiation injury)
- เกิดขึ้นภายหลังได้รับรังสีรักษาที่บริเวณหัวไหล่ และหน้าอกข้างหน้า เพื่อรักษามะเร็งของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ที่พบบ่อยสุดคือมะเร็งเต้านม
4. การบาดเจ็บจากการคลอด (obstetrical palsy)
- เกิดกับทารกที่กำลังคลอดจากครรภ์มารดา โดยมีปัจจัยต่างๆมาทำให้การคลอดเป็นไปโดยความยากลำบาก ปัจจัยต่างๆได้แก่ ทารกมีน้ำหนักมาก ความไม่สมดุลของขนาดทารกกับช่องทางในการคลอด ไหล่ตืดขนาดคลอด และการคลอดท่าก้น การบาดเจ็บนี้เกิดจากแรงที่ดึงศีรษะแยกออกจากไหล่ที่ติดอยู่
การรักษาทางการแพทย์
- ผ่าตัดซ่อมแซมเส้นประสาท
การักษาการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. การใช้แผ่นความร้อนไฟฟ้า เพื่อลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
2. การใช้แผ่นความเย็นในระยะอักเสบ หรือช่วงหลังผ่าตัด
3. การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง เพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อที่มีการตึงตัว หรืออักเสบ
4. การขยับดัดดึงข้อต่อ เพื่อป้องกันข้อไหล่ หรือข้อศอกติด
5. แนะนำการออกกำลังกาย โดยการใช้รอก, ถุงทราย และดัมเบล เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ