Blog Section

ตอนที่81:ลักษณะเท้าผิดปกติ

ตอนที่81:ลักษณะเท้าผิดปกติ

ลักษณะเท้าผิดปกติ

เท้าเป็นอวัยวะที่ทีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับน้ำหนัก และพาเราก้าวเดินไปตามที่ต่างๆ ถึงแม้เท้าจะเป็นอวัยวะเล็กๆแต่รู้หรือไม่ว่า เท้าแต่ละข้างมีกระดูกมากถึง 26 ชิ้น กล้ามเนื้อ 23 มัด และเส้นเอ็น 107 เส้น

ตำแหน่งการรับน้ำหนักของ  “เท้า”

จากการศึกษาพบว่า ขณะยืนน้ำหนักตัวประมาณ 60% กดลงที่ส้นเท้า อีก 40% กดลงที่ส้นเท้าส่วนหน้า ขณะเดินเท้ารับน้ำหนัก 120% ของน้ำหนักตัว และขณะวิ่งเท้ารับน้ำหนักมากถึง275%ของน้ำหนักตัวจึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าปัญหาเรื่องเท้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย นอกจากนี้ยังพบว่าการปวดเท้าจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก และปวดหลัง

 

ปัญหาเท้าที่พบบ่อย

  • นิ้วหัวแม่เท้าเก (hallux หรือ bunion)

เป็นการผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้าโดยกระดูกปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกเบียดไปทางนิ้วเท้าด้านถัดไป และดันให้กระดูกโคนนิ้วหัวแม่เท้านูนออกมามักมีการเบียดและเสียดสีกับรองเท้า

-มักเกิดขึ้นจาก พันธุกรรม โรคข้อบางชนิด การใส่รองเท้าแคบและรองเท้าส้นสูง

-การป้องกันรักษา  ลดการเจ็บปวดโดยการควบคุมน้ำหนัก ใส่รองเท้าส้นเตี้ยที่มีหน้ากว้างเพียงพอ เสริมหรือปรับรองเท้า  รับประทานยา ในรายที่ผิดรูปมากต้องทำการผ่าตัด

 

 

bunion

 

 

  • อาการเจ็บบริเวณหัวกระดูกผ่าเท้า (metatarsalgia)

-มักเกิดจาก การกระจายน้ำหนักลงไปที่ฝ่าเท้าส่วนหน้ามากผิดปกติ ทำให้มีอาการเจ็บเท้าโดยเฉพาะตอนลงน้ำหนัก เกิดตาปลาและหนังหนาด้านขึ้นบริเวณนั้นหรืออาจเกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับความกว้างของรูปเท้า ทำให้เส้นประสาทถูกบีบ เสียดสี และอักเสบ จนบางครั้งอาจบวมเป็นก้อน

-การป้องกันรักษา ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า ใส่รองเท้าที่มีขนาดและความกว้างเหมาะสมกับรูปเท้า พื้นรองเท้านุ่ม เสริมหรือเปลี่ยนรองเท้า จะผ่าตัดเมื่อจำเป็นเท่าน้น

footcheck

  • เท้าแบน (pes planus หรือ flat foot)

เป็นภาวะที่อุ้งเท้าด้านในต่ำหรือไม่มีเลย อาจเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง อาจเป็นภาวะปกติหรือผิดปกติก็ได้

  • *ภาวะเท้าแบนในเด็ก

-มักเป็นทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม เด็กมักบ่นว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดอุ้งเท้าหรือบริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอก อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อลงน้ำหนัก โดยพบว่าส้นเท้าล้มเอียงและปลายเท้าปัดออกมากกว่าปกติ มักพบร่วมกับกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายตึง

-การรักษาอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีอาการ แต่หากส้นเท้าล้มเอียงมากขึ้นเรื่อยๆอาจทำให้ข้อเสื่อมและเคลื่อนไหวได้น้อย

 

images

  • ภาวะเท้าแบนในผู้ใหญ่

-ส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงอายุ 45 – 65 ปี เนื่องจากเอ็นประคองอุ้งเท้าหย่อนหรือสูญเสียหน้าที่ มักเป็นข้างเดียว มักปวดบริเวณอุ้งเท้าและข้อเท้าด้านใน หรืออาจปวดบริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอกร่วมด้วย อาการกำเริบเมื่อใช้งานหนักหรือเดินมาก ถ้าเป็นมากขึ้นอาจเขย่งปลายเท้าไม่ได้ เท้าผิดรูป และข้อติดตามมา

-การบำบัดรักษามุ่งเน้นไม่ให้ผิดรูปมากขึ้น และลดอาการปวดโดยการบริหารข้อเท้าอย่างเหมาะสม การคุมน้ำหนัก การเสริมและปรับรองเท้า พิจารณาผ่าตัดเมื่อจำเป็น

 

  • พังผืดใต้เท้าอักเสบหรือรองช้ำ (plantar fasciitis)

พังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นพังผืดปกติที่ทอดยาวจากกระดูกส้นเท้าถึงกระดูกปลายฝ่าเท้า มีส่วนสำคัญมากต่อการเดินและวิ่ง โดยทำงานสมดุลกับเอ็นร้อยหวาย

-มักเกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินกว่ามาตรฐาน ตำอหน่งที่อักเสบบ่อยคือจุดเกาะที่ตำแหน่งส้นเท้า โดยเริ่มจากบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆที่สะสมมานาน มักร่วมกับเอ็นร้อยหวายตึง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงมานาน การขาดการออกกำลังกาย หรือการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม

-อาการปวดส้นเท้ามักเป็นในช่วงเช้า โดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือเมื่อลุกขึ้นยืนหลังจากนั่งนานๆ เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการจะทุเลา แต่หากอาการอักเสบรุนแรงจะปวดมากขึ้นหลังจากยืนนานหรือเดินนานๆได้

-การบำบัดรักษาที่สำคัญที่สุดคือ การนวดฝ่าเท้าด้วยตัวเอง ร่วมกับการยืดเอ็นร้อยหวายหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้า วันละ 2-3 รอบ รอบละ 10-15 ครั้ง ดังนี้

  • ท่านั่ง

    • นั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืด ใช้ผ้าคล้องปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง
    • ค้างไว้นับ 1-10 ถือเป็น 1 ครั้ง แนะนำให้บริหารท่านี้ทุกเช้าก่อนลงจากเตียง

towelstretch

  • ท่ายืน

    • ยืนหันหน้าเข้ากำแพงใช้มือยันกำแพงไว้วางเท้าที่ต้องการพูดไว้ด้านหลัง งอข้อศอกพร้อมกับงอเข่าลง โดยขาด้านหลังเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา
    • ย่อลงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึงแล้วค้างไว้นับ 1-10 ถือเป็น 1 ครั้ง

 

plantar1

 

-การบำบัดรักษาอื่นๆ ได้แก่ รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใฃ่สเตียรอยด์ การแช่เท้าในน้ำอุ่น การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด การควบคุมน้ำหนัก การคุมน้ำหนัก การเสริมและการปรับรองเท้า

 

ตำแหน่งของการปวดเท้า สัมพันธ์กับท่ายืนอย่างไร?

  • ตัวเอียง

-ลำตัวเอียงไปด้านซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่งเอวและใบหน้าจะเอียงไปด้านตรงข้าม

 

 

ตัวเอียง(1)

 

  • ตัวบิดงอ

-ไหล่ข้างซ้ายหรือขวา ข้างใดข้างหนึ่งเอียงค่อนมาทางด้านหน้า เอวจะเอียงไปทางด้านตรงกันข้าม

-ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเอวด้านใดด้านหนึ่ง

 

images (2)

 

 

 

 

  • หลังโก่ง

-ผู้ที่หลังโก่งกระดูกบริเวณไหล่จะโค้งงอ ซึ่งทำให้ใบหน้ายื่นออกมาข้างหน้า

-ทำให้เกิดอาการเจ็บที่ไหล่และเอว

 

หลังโก่ง(2)

 

 

  • หลังแอ่น

-มีหลายคนที่บริเวณด้านล่างของท้องยื่นออกมาทางด้านหน้า ทำให้หลังแอ่น กระดูกบั้นเอวจะเอียงไปทางด้านหน้าทำให้เอวต้องรับน้ำหนักมาก

-ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเอว

 

 

หลังแอ่น

 

 

  • ขาบิดเข้า

-ข้อต่อกระดูกของหัวเข่า เอว และข้อต่อสะโพกต้องรับหน้าที่หลัก

-มักทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณหัวเข่าทั้งสองข้าง

 

ขาบิดเข้า(1) (1)

 

 

  • ขาโก่ง

-คือสภาพของช่องว่างระหว่างหัวเข่าวัดได้กว้างกว่าสองนิ้วมือ ส้นเท้าทั้งสองข้างบิดเข้าหากัน

-มักจะทำให้เกิดอาการเจ็บที่หัวเข่าทั้งสองข้าง

ขาโก่ง(1)

 

อุปกรณ์เสริมเท้าผิดรูป

1. รองเท้าบำบัด

S027 (2)

ประโยชน์

  • ป้องกันภาวะเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่เท้าและการรุกรามของแผลที่เท้าและนำไปสู่การตัดนิ้วเท้า เท้าในที่สุด
  • ปรับสมดุลเท้า กระจายน้ำหนักได้ดี
  • ผลิตจาก พียู ที่มีความแข็งแรง ทนทานไม่ยุ่ยง่าย
  • ลดแรงกดและแรงบีบที่เท้า ป้องกันการกระแทกที่นิ้วเท้าได้ทุกนิ้ว
  • มีช่องระบายความอับชื้นไม่ให้เกิดเชื้อรา
  • สายรัดข้อเท้าลดภาวะการจิกเกร็งของนิ้วเท้าขณะเดิน (ซึ่งแผลมักเกิดที่นิ้วเท้าก่อน)
  • น้ำหนักเบา ให้ความนุ่มสบายขณะสวมใส่
  • มีสารซิลเวอร์นาโน ช่วยลดกลิ่นเหม็นอับที่เท้า
  • ล้างด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาทำความสะอาดได้
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เท้าผิดรูป ปวดเท้า และผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเท้า

2. แผ่นเสริมอุ้งเท้า

S035

ประโยชน์

  • วัสดุทำจากซิลิโคนเกรด A
  • ถอดทำความสะอาดง่าย
  • นำไปใส่ร่วมกับรองเท้าคู่อื่นได้
  • เพิ่มส่วนโค้งเว้าของอุ้งเท้า
  • เสริมบุคลิกภาพขณะเดิน
  • ลดอาการข้อเท้าเอียง (rearfoot valgus)
  • ลดการอักเสบเส้นเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อส้นเท้า (plantar facilities)
  • กระจายแรกการลงน้ำหนักเท้าได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เท้าแบน

3. แผ่นนวดกดจุดเท้า

S036

ประโยชน์

  • ใส่ในรองเท้าขณะยืนหรือเดิน
  • ถอดทำความสะอาดง่าย
  • ลดอาการชาฝ่าเท้า/เหน็บชา
  • ลดอาการปลายเท้าเย็น
  • ลดอาการปวดฝ่าเท้า และส้นเท้า
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • เพิ่มการผ่อนคลายเท้า
  • เหมาะสำหรับผู้มี่ปวดอุ้งเท้าและส้นเท้าเป็นประจำ

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994

 

Facebook Comments

Leave a Reply

Or