ตอนที่89:โอกาสเกิดนิ้วล็อก
โอกาสเกิดนิ้วล็อก
นิ้วล็อก คือ อาการที่สามารถมีโอกาสเกิดได้กับทุกคนและเกิดได้กับทุกนิ้วหากได้รับการใช้งานมากเกินไปหรือใช้นิ้วมือข้างนั้นเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบหรือฉีกขาดของเอ็นนิ้วมือได้ โดยการเกิดนิ้วล็อกจะเกิดในคนที่ทำอาชีพด้านหัตถกรรมส่วนใหญ่ อย่างเช่น ทันตแพทย์ รับจ้างยกของ จัดสวน ซักผ้าด้วยมือ ถือของหนัก ฯล
อาการของนิ้วล็อค trigger finger
- มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว
- กำและเหยียดนิ้วไม่สะดวก
- นิ้วติดหรือล็อคเมื่องอนิ้ว
- รู้สึกขัด ๆ ที่บริเวณโคนนิ้ว
- อาการเจ็บนิ้ว โดยเฉพาะเมื่อกำมือ
- อาการจะเป็นมากในช่วงเช้าตื่นนอน
- อาจคลำเจอก้อนบริเวณโคนนิ้ว
- เมื่อกดบริเวณโคนนิ้วตรงปุ่มกระดูกจะปวดมาบริเวณที่กด
- เมื่อกำมืองอนิ้วเข้ามาแล้ว จะเหยียดนิ้วคืนออกไม่สะดวกเหมือนกับนิ้วล็อคติดอยู่
การรักษาทางการแพทย์
– การรับประทานยา เพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็น และลดอาการปวด
– การฉีดยาสเตียรอยด์ ที่บริเวณเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ อาการอักเสบจะดีขึ้นหลังจากฉีดยา ไม่ควรฉีดยามากกว่า 3 ครั้ง เพราะการฉีดยาอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยหรือขาดได้
– การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อตัดปลอดหุ้มเส้นเอ็นที่อักเสบ แล้วเลาะพังผืดบริเวณนั้นที่หนาตัวขึ้นและขาดความยืดหยุ่นออก
– การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดและอาการตึงของเส้นเอ็น ได้แก่ การทำอุลตร้าซาวน์และการออกกำลังกายนิ้วมือ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1. การใช้ความร้อนในการรักษา เช่น การแช่พาราฟิน แช่น้ำอุ่น
2. การใช้ความเย็นรักษาในระยะอักเสบ
3. การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การรักษาด้วยวิธีการขยับ ดัดดึง ข้อต่อ
5. การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว เช่น Wrist Splint
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994