Blog Section

ตอนที่92 : Ankle Foot Orthosis (AFO) กายอุปกรณ์เสริมสำหรับข้อเท้าและเท้า

ตอนที่92 : Ankle Foot Orthosis (AFO) กายอุปกรณ์เสริมสำหรับข้อเท้าและเท้า

Ankle Foot Orthosis (AFO)

กายอุปกรณ์เสริมสำหรับข้อเท้าและเท้า

 Ankle Foot Orthosis หรือ AFO คือกายอุปกรณ์เสริมที่คลุมหรือดามผ่านส่วนของเท้าและข้อเท้า เหมาะแก่บุคคล เช่น ผู้ที่มีโครงสร้างของเท้าที่ผิดปกติหรือมีการบิดผิดรูป ผู้ที่มีภาวะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงช่วงขาส่วนล่าง ภาวะเกร็งที่ขา ภาวะเดินแล้วปลายเท้าตก รวมไปถึงผู้ที่มีกระดูกหักในส่วนของกระดูกขาส่วนล่างลงไป หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้

1

 

วัตถุประสงค์ของ AFO

–          เพื่อควบคุมข้อเท้าและเท้าในทุกการเคลื่อนไหว

–          ช่วยพยุงกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง

–          แก้ไขการผิดรูปของโครงสร้างข้อเท้าและเท้า

–          จัดแนวโครงสร้างของขาท่อนล่างให้อยู่ในแนวปกติ                  

–          เพิ่มความมั่นคงและการลงน้ำหนัก

 

2

ชนิดของ AFO (Plastic AFO)

1.  Solid AFO เป็นกายอุปกรณ์เสริมที่ไม่มีข้อต่อที่ข้อเท้าและขอบของอุปกรณ์คลุมถึงหน้าต่อตาตุ่มทั้งสองข้างซึ่งเหมาะสำหรับ ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ปลายเท้าตก  การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การบาดเจ็บที่เส้นประสาท โปลิโอ เป็นต้น ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองพิการ เป็นต้น และการผิดรูปของข้อเท้าและเท้า เช่น เท้ากระปุก เป็นต้น

3

2.  Posterior leaf spring AFO มีลักษณะคล้าย Solid AFO แตกต่างกันที่ขอบของอุปกรณ์ไม่คลุมถึงหน้าตาตุ่ม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยปลายเท้าตกเนื่องจากการบาดเจ็บของเส้นประสาท4

3.  Articulating AFO เป็นกายอุปกรณ์เสริมที่มีข้อต่อที่ข้อเท้า ซึ่งจะทำให้สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ แต่สามารถทำได้ในแนวกระดกเท้าขึ้นและลงเท่านั้น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยปลายเท้าตกแต่ไม่มีการหดสั้นของกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า และภาวะสมองพิการที่ไม่มีอาการเกร็งของขาหรือมีเล็กน้อยเท่านั้น

5

ระยะเวลาในการสวมใส่ AFO

                ในช่วงแรกที่ใส่ AFO อาจรู้สึกอึดอัด จึงควรค่อยๆใส่ AFO ตามตารางดังนี้

วันที่

ระยะเวลาการใส่

1

30 – 60 นาที

2

1 – 2 ชั่วโมง

3

3 – 4 ชั่วโมง

4

4 – 5 ชั่วโมง

S023S034

 

การดูแล AFO

                สามารถทำความสะอาด AFO ได้โดยเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำ และใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้ง หากมีปัญหาเกี่ยวกับ AFO ควรปรึกษานักกายอุปกรณ์หรือนักกายภาพบำบัด ห้ามปรับแต่งหรือซ่อมด้วยตัวเอง

ด้วยความปรารถนาดีจาก… คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

ติดต่อสายด่วน  085-264-4994

www.firstphysioclinic.com

รับปรึกษาปัญหาสุขภาพและแนวทางการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด

 

 

Facebook Comments

Leave a Reply

Or