Blog Section
โรคหลอดลมโป่งพอง หลายๆคนคงคุ้นเคยกับชื่อโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ คือกลุ่มโรคทางเดินหายใจอุดกั้น ซึ่งเกิดเป็นลักษณะความผิดปกติของหลอดลมแบบถาวรแบบนี้เป็นแล้วเป็นเลยนะเนี่ย! โดยโรคหลอดลมโป่งพอง เมื่อมีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเนื้อเยื่อรอบๆหลอดลมมีการอักเสบและมีการฉีกขาด จนกลายเป็นพังพืด ทำให้มีรูปร่างเป็นกระเปราะ สาเหตุการเกิดโรคโรคหลอดลมโป่งพอง นี้สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก คือ การอุดตันที่หลอดลมทำให้เสมหะคั่งค้างและมีการติดเชื้อได้ น้ำเมือกบุ มีความผิดปกติ พันธุกรรม กลไกการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง หลังจากมีการอักเสบและการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทำให้มีเสมหะเป็นสีเหลืองปนเขียว ตำแหน่งที่พบมีการว่ามีการขยายตัวมากกว่าปกติคือปอดกลีบซ้าย มีรูปร่างที่ผิดปกติ อาการของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง จะมีอาการไอมากในตอนเช้า มีเสมหะสีเหลืองปนหนองเมื่อเก็บมาตั้งทิ้งไว้ มีกลิ่นเหม็น ผู้ป่วย และอาการสะสมของโรคไอเรื้อรัง ไอแห้งๆนานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเลือดปนเสมหะออกมา – น้ำหนักลดเร็ว เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย – เหนื่อยง่าย – เจ็บหน้าอก หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่รักษา จะมีอาการ – หอบเหนื่อย – บวมบริเวณลำคอ หน้า แขน อก – กลืนอาหารลำบาก – หายใจมีเสียงอึ๊ดในหน้าอก โรคถุงลมโป่งพอง […]
More
การตัดขา การดูแลตนเองในผู้ป่วยตัดขา ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยตัดขาจะถูกประเมินว่าสามารถช่วยเหลือตัวเองว่าสามารถได้มากน้อยเพียงใด เดินเองหรือต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเข็น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวทีเป็นอุปสรรคในการฝึกเดินและการใส่ขาเทียมหรืออไม่ เคยมีแขน ขา อ่อนแรงจากโรคอัมพาต รวมทั้งอาชีพ และผู้ดูแล ลักษณะบ้าน ฐานะทางบ้าน และนอกจากนี้ควรทำความคุ้นเคยกับกิจกรม ต่างๆหลังการตัดขาแล้ว เช่นการพลิกตัว การลุกขึ้นนั่งบนเตียง การบริหารแขน ขา การเดินโดยใช้อุปกรณ์เดิน การใช้รถเข็นและอุปกรณ์เทียมชนิดต่างๆ การประเมินผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยตัดขา เพื่อใช้วางแผนในการรักษา สภาพของตอขา ความทุพพลภาพที่มีอยู่ สุขภาพโดยทั่วไป สภาพทางจิตใจและอารมณ์ ปัญหาที่มักเจอบ่อยในการตัดขา กรณีตัดเหนือเข่า มีแนวโน้มที่ขาจะติดในท่าสะโพกงอและกางออก กรณีที่ติดใต้เข่ามีแนวโน้มที่ติดในท่างอของข้อเข่า เกิดการถลอกเป็นแผลที่ผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับเบ้าขาเทียม ปัญหาเกิดจากภาวะแขน ขา หลอน ความเจ็บปวดที่ตอขา ความรู้สึกเหมือนไฟช็อต ที่เป็นช่วงๆ ความรู้สึกแสบร้อน กายภาพบำบัด กับ การตัดขา ลดบวม การป้องกันการติดของข้อ การบริหารเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกการเดิน การทำให้ตอขาเข้ารูป พิจารณาการใส่ขาเทียมชั่วคราว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส […]
More
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก อัมพฤกษ์ อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือกระดุกกระดิกได้ และการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางส่วน ที่เกิดจากภาวะเหล่านี้ สาเหตุการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต – เส้นเลือดในสมองแตก สาเหตุมาจากหลายปัจจัย ที่สำคัญได้แก่การเกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคเครียด ติดแอลกอฮอล์ โรคอ้วน – เส้นเลือดในสมองตีบ สาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันมากจนเกิดการสะสมในผนังหลอดเลือด และเลือดมีความเข้มข้นสูงเนื่องจากสูบบุหรี่ทำให้ปอดขาดออกซิเจน ร่างกายจึงเร่งสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เลือดเข้มข้นจนหนืด เลือดจึงไม่สามารถแทรกไปเลี้ยงสมองได้ – เส้นเลือดในสมองอุดตัน สาเหตุเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจเต้นผิดปกติทำให้เกิดลิ่มเลือด และหลุดเข้าไปในกระแสเลือด เกิดการอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปเลี้ยงสมองได้ อาการแสดงของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต มีความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหว เช่น ไม่สามารถขยับแขน ขา และลำตัวได้ เนื่องจากการอ่อนแรง และการควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่อาการความผิดปกติจะแสดงออกอย่างไรและมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านเช่น บริเวณสมองที่ถูกทำลาย ระยะเวลาในการเจ็บป่วยก่อนถึงมือแพทย์ อายุและเพศ การป้องกันการเกิดอัมพาต – งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันมาก, ลดน้ำหนัก […]
More
ข้อสะโพกเสื่อม เรื่องของอายุและความเสื่อมของสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่หลายๆคนนึกกลัวและกังวลไม่น้อย โรคข้อสะโพกเสื่อม เป็นโรคที่พบไม่ค่อยบ่อยในผู้สูงอายุ เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี แต่มักพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี เมื่ออายุน้อยผิวข้อที่มีผิวเรียบ มัน วาว แต่เมื่ออายุมากขึ้นผิวข้อจะมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งรวมถึงเยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ และกระดูกที่ประกอบเป็นข้อ เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วย ผิวของข้อสะโพก ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน การกระจายการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อ เริ่มผิดปกติ บางบริเวณมากขึ้น บางบริเวณน้อยลง ทำให้การรับน้ำหนักผิดปกติ มีอาการปวดเสียว เยื่อหุ้มข้อ ถูกระคายเคือง เกิดการอักเสบ และสร้างน้ำในข้อมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก มีความแข็งแรงน้อยลง แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวข้อมากขึ้น เอ็นยึดข้อ บางส่วนหย่อนยานขึ้น ทำให้ข้อแกว่ง หรือหลวมมากขึ้น เพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น กระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อสะโพก และรอบ ๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง […]
More
ปวดเท้า อาการปวดเท้าในสาวๆ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสวมใส่รองเท้าแฟชั่นส้นสูงเป็นระยะเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง การสวมใส่รองเท้าส้นสูงจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลเพื่อให้สามารถทรงท่าอยู่ได้ ด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ทั้งกล้ามเนื้อฝ่าเท้า กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อขาและหลัง มีการถ่ายเทน้ำหนักลงบนจุดรับน้ำหนักต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะฝ่าเท้าในระยะสั้นทำให้มีอาการปวดเท้า แต่เมื่อส่งผลระยะยาว ทำให้เกิดการผิดรูปของนิ้วเท้าได้ อาการปวดเท้าส่วนใหญ่มักจะปวดบริเวณที่มีการรับน้ำหนัก จะเป็นบริเวณไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเท้าของแต่ละคน ลักษณะเท้าของคนเรามี 3 ประเภท – Normal Arch เป็นลักษณะของเท้าที่มีส่วนโค้งของเท้าปกติ ไม่มากหรือน้อยเกินไป – High Arch เป็นลักษณะเท้าที่มีส่วนโค้งของเท้าที่มากเกินไป – Flat Foot เป็นลักษณะเท้าที่มีส่วนโค้งของเท้าน้อยเกินไป ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดเท้าได้มาก ลักษณะความผิดปกติของเท้าทั้ง 2 แบบ High arch , Flat Foot สาเหตุหลักเกิดจากกรรมพันธุ์ วิธีการแก้ไขให้กลับมาอยู่ในลักษณะปกตินั้นทำได้ยาก แต่หากเราแก้ไขหรือดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ระยะแรกไม่ปล่อยให้เกิดการผิดรูปมากก็สามารถลดการผิดรูปและป้องกันอาการปวดเท้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ วิธีการหลักเลี่ยงอาการปวดเท้า การแก้ไขอาการปวดเท้าจากการสวมใส่รองเท้าที่ดีที่สุดคือการเลือกสวมรองเท้าที่ “เหมาะสมกับลักษณะเท้าของแต่ละบุคคล สวมใส่แล้วอยู่ในระนาบและมั่นคง” แต่สำหรับสาวๆ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสวมใส่ส้นสูงได้ควรดูแลตัวเองด้วยวิธีการเลือกสวมเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้นหรือเตรียมรองเท้าแตะเอาไว้เพื่อเปลี่ยนในเวลาที่ไม่จำเป็น บริหารกล้ามเนื้อฝ่าเท้าและน่อง ส่วนรองเท้าชนิดอื่น […]
More