All posts in การผ่าตัด

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

เริ่มมีอาการปวดเข่า เวลามีแรงกดบนข้อเข่ามากขึ้น 

นั่งเหยียดเข่า หรือนอนพักอาการปวดเข่าจะน้อยลง 

ข้อเริ่มยืด เวลาตื่นนอนตอนเช้า พอเริ่มเดินอาการจะดีขึ้น 

• อาการปวดเข่า อาจจะไม่แน่นอน 

เข่าเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการปวดบวมมากขึ้น 

ข้อเข่าเสื่อมเป็นมานานๆ เขาอาจโก่งผิดรูป 

งอเหยียดข้อเข่า ได้น้อยลง กล้ามเนื้อต้นขาลีบลง

More

ตอนที่ 644 ไม้ค้ำยันมีกี่แบบ???

ตอนที่ 644  ไม้ค้ำยันมีกี่แบบ???

ตอนที่ 644  ไม้ค้ำยันมีกี่แบบ???

1.Forearm crutches
✅ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยทรงตัวได้ดีพอสมควร
✅ช่วยรับน้ำหนักได้เพียงร้อยละ 40-50 ของน้ำหนักตัว •

???????? ข้อดี คือ มีรูปร่างและขนาดเล็กกว่าไม้ค้ำยันรักแร้ มีแถบรัดที่บริเวณปลาย แขนช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ ปล่อยมือจากไม้เพื่อหยิบจับสิ่งของได้โดยที่ ไม้ค้ำเย็นบ้งกล้องติดกับแขน
????????ข้อเสีย คือ ราคาแพงและหาซื้อได้ยาก

2.Plateform crutches

Plateform crutches

✅ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกำหรือลงน้ำหนักที่มือหรือข้อมือได้
✅ออกแบบมาเพื่อให้ลงน้ำหนักที่ปลายแขนเมื่องอข้อศอก 90 องศา

????ตัวอย่างผู้ป่วย เช่น กระดูกปลายแขนหัก, ข้ออักเสบรูมาตอบบริเวณข้อมือ ข้อนิ้ว, ข้อศอกยึดติด กล้ามเนื้อกำมืออ่อนแรง



3.Canadian Crutches
✅ลักษณะคล้าย Forearm Crutches แต่มีส่วนต่อขึ้นมารองรับ บริเวณต้นแขนทําให้ข้อศอกเหยียดตลอดเวลา
✅ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อ Triceps อ่อนแรงที่ ไม่สามารถ เหยียดข้อศอกได้

4.Axillary crutches
Axillary crutchesทำจากไม้หรือโลหะกลวง2อัน เชื่อมต่อกันด้วยท่องวางที่ใช้สำหรับ ยันกับสีข้างล่าตัว เรียกว่า Axillary piece และท่อสำหรือใช้มือจับ เรียกว่า Hand piece ไม้ค้ำรักแร้ วยรับน้ำหนัก ตัวผู้ใช้ได้ถึงร้อยละ80ของน้ำหนักตัวและช่วยทรงตัวได้ดี

More

ตอนที่ 630 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระยะที่ 2

ตอนที่ 630 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระยะที่ 2

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระยะที่ 2
(2-6สัปดาห์)
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ใช้การรักษาทางกายภาพ เพื่อช่วยให้มุมการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การยืดกล้ามเนื้อ และการขยับข้อต่อทั้งตัวเข่าและลูกลูกสะบ้า
• การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับระยะที่ 2 ได้แก่การปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อคงองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เริ่มต้นที่ประมาณ 15 ถึง 20 นาที ต่อวันใช้ความหนักน้อยๆก่อนเท่าที่สามารถจะปั่นได้อย่างต่อเนื่องจนครบเวลา และไม่มีอาการปวด หากมีอาการปวดควรพักและลดความหนักลง รวมถึงการเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขา การกระตุ้นให้เกิดการลงน้ำหนัก การกระตุ้นให้เกิดการลงน้ำหนักที่เท้า ของข้างผ่าตัดเช่น การก้าวขึ้นลงบันไดในระดับเดียวกัน เป็นต้น
4ท่าออกกำลังกาย
สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในระยะที่2
1. หนีบหมอนระหว่างเขาทั้ง 2ข้าง จากนั้นออกแรงเหยียดเข่าเท่าที่สามารถ
ค้างไว้ 10 วินาที/ครั้ง ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน
2. นอนตะแคงโดยการกางขาขึ้นและเหยียดสะโพกไปทางด้านหลัง

ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน
3.ยืนตรงขากางเท่าความกว้างของไหล่จากนั้นให้งอเข่าไปด้านหลัง
ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน
4.ยืนตรงพร้อมทั้งกางขาเท่าความกว้างของไหล่ จากนั้นเขย่งปลายเท้าขึ้น
ค้างไว้ 5 วินาที/ครั้ง ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน

More

ตอนที่603 การฝึกลุกยืนโดยใช้เข็มขัดพยุงเดินและไม้เท้า3ขา

ตอนที่603 การฝึกลุกยืนโดยใช้เข็มขัดพยุงเดินและไม้เท้า3ขา

More

ตอนที่36:ท่าบริหารผู้ป่วยตัดเต้านม

ตอนที่36:ท่าบริหารผู้ป่วยตัดเต้านม

การบริหารร่างกายหลังการผ่าตัดเต้านม

breast1

 

 

 

 

 

ท่าที่ 1     ยืนหันหน้าเข้าหาฝาผนัง ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะฝาผนัง ระดับเดียวกับหัวไหล่ ค่อยๆ ไต่ฝ่ามือไปตามฝาผนังจนสุดแขน

breast2

 

 

 

 

 

ท่าที่ 2     ใช้เชือกยาวขนาดพอเหมาะคล้องไว้กับราวม่านข้างเตียงหรือราวอื่นๆ ใช้มือจับปลายเชือกทั้ง 2 ไว้ แล้วดึงขึ้นลงสลับกันไป

  breast3

 ท่าที่ 3     ยกมือทั้ง 2 ขึ้นแตะที่หัวไหล่ ข้อศอกแนบกับลำตัว ยกข้อศอกให้แขนทั้ง 2 ข้างตั้งฉากกับลำตัว

breast4

 

 

 

 

 

ท่าที่ 4     กางแขนทั้ง 2 ข้างออกไปในระดับเดียวกับหัวไหล่ หมุนปลายแขนทั้ง 2 ข้างให้เป็นวงกลม

breast5

 

 

 

 

 

 ท่าที่ 5

จังหวะที่ 1 กางแขนทั้ง 2 ข้างออกในระดับเดียวกับหัวไหล่

จังหวะที่ 2 งอแขนทั้ง 2 ข้างตั้งฉากกับลำตัว ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะที่ต้นคอด้านหลัง

จังหวะที่ 3 งอแขนไปข้างหลังให้หลังมือทั้ง 2 ข้างแตะบริเวณเอว

breast6

 

 

 

 

 

ท่าที่ 6    ใช้ไม้เท้าขนาดเหมาะมือ ยาวขนาดพอเหมาะมือทั้ง 2 ข้างกำไว้ในลักษณะคว่ำมือ ระยะห่างกันพอสมควร

จังหวะที่ 1 เหยียดแขนตรงไว้ด้านหน้าลำตัว

จังหวะที่ 2 ชูแขนเหนือศีรษะจนสุดแขน

จังหวะที่ 3 ลดแขนลงเท่าระดับหัวไหล่ ให้ไม้ที่ถืออยู่ในมืออยู่ด้านหลังระดับเดียวกับต้นคอ

breast7

 

 

 

 

 

ท่าที่ 7    ใช้มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ ยกมือและแขนข้างที่ทำผ่าตัดวางไว้บนศีรษะค่อยๆ เลื่อนมือและแขนไปตามศีรษะทางด้านข้างจนสุดแขน

breast8

 

 

 

 

 

ท่าที่ 8     ใช้มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ งอแขนที่ทำผ่าตัดไปข้างหลัง ให้มืออยู่ระดับเอวค่อยๆ เลื่อนมือไปข้างหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

breast9

 

 

 

 

 

ท่าที่ 9    ใช้เชือกยาวขนาดพอเหมาะผูกไว้กับลูกบิดประตูให้ผู้ป่วยยืนตรง หันหน้าเข้าหาประตู มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ มือข้างที่ทำผ่าตัดจับปลายเชือกแล้วหมุนแขนเป็นวงกลม

breast10

 

 

 

 

 

ท่าที่ 10   ยืนตัวตรงหันหน้าเข้าหาฝาผนัง มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ ใช้มือข้างที่ผ่าตัดแตะฝาผนังระดับเดียวกับหัวไหล่ค่อยๆ ไต่ไปตามฝาผนัง

 

เลือกใช้ท่าบริหารที่ถนัดสำหรับท่าน 3-4 ท่า และบริหารเป็นประจำทุกวัน ท่าละ 20 ครั้ง จะช่วยฟื้นฟูร่างกายไม่ให้มีการติดของข้อไหล่ และไม่ให้เกิดการบวมของแขนด้านเดียวกับเต้านมที่ผ่าตัดได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More