By Firstphysio Clinic
28 Mar, 2023
paffin therapy, พาร์กินสัน, สุขภาพเท้า, โรคนิ้วล็อค, โรคพาร์กินสัน, โรคหลอดเลือด
Paraffin, tenniselbow, กระดูกมือหัก, กล้ามเนื้อ, นิ้วมือติดแข็ง, ผ่าตัดกระดูก, ผู้สูงอายุ, พาราฟินบำบัด, พาราฟินมือ, พาราฟินเท้า, รูมาตอยด์, หม้อต้มพาราฟิน, เฝือกมือ, เอ็นข้อมืออักเสบเรื้อรัง
ข้อบ่งชี้การใช้พาราฟินสำหรับทำกายภาพบำบัด (paffin therapy)
- ลดปวด ลดบวมและป้องกันการผิดรูปของมือและนิ้วมือในผู้ที่เป็นรูมาตอยด์
- ในรายที่ข้อมือหรือนิ้วมือติดแข็งช่วยให้พังผืดหรือเอ็นกล้ามเนื้อคลายตัวง่ายต่อการดัดเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (ROM) ทำกายภาพบำบัดที่บ้านด้วยตัวเองได้บ่อยตามต้องการ
- ลดอาการชามือ ชาเท้าในผู้ที่มีอาการมือชา เท้าชา เท้าเย็น ขี้หนาว
- ลดปวดข้อมือมือเรื้อรัง เช่น เดอกาแวง เอ็นข้อมืออักเสบเรื้อรัง
- ช่วยให้ผู้ป่วยกำมือและเหยียดนิ้วมือได้ง่ายในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ลดอาการมือจีบ ลดเกร็งของมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
- ฟื้นฟูการใชังานของมือ หลังจากกระดูกข้อมือ/นิ้วมือ แตกหัก/ร้าว
- ลดอาการเอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรัง เช่นเทนนิสเอลโบ (tennis elbow)
- กายภาพบำบัดหลังถอดเฝือกมือ เฝือกแขน
- ลดอาการปวดข้อมือ นิ้วมือในผู้ที่เป็นกระดูกพรุน กระดูกบาง
- https://youtu.be/ntWjvDV8dXo
More
ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ คนคงเคยข้อเท้าพลิก ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและบวมของข้อเท้า ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า “ข้อเท้าแพลง” ข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในนักกีฬาหรือพวกที่ใช้ข้อเท้ามากกว่าปกติ นอกจากนี้การเดินบนพื้นที่ไม่เรียบ การลงจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำ การกระโดด หรือแม้แต่การใส่รองเท้าส้นสูงต่างก็ล้วนเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อเท้าแพลง
สาเหตุ
เกิดจากมีการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกินไปจึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น มีอาการปวดและบวมตามมา หากรุนแรงมากอาจส่งผลให้เอ็นขาด สูญเสียความมั่นคงของข้ออีกทั้งยังอาจได้ยินเสียงดัง “กร๊อบ” ในข้อเท้าได้ด้วย
พยาธิสภาพ
ข้อเท้าประกอบขึ้นด้วยกระดูกขาส่วนปลาย 2 ท่อน คือ ทิเบีย (tibia) และฟิบูลา (fibula) มาต่อเข้ากับกระดูกเท้า คือ ทาลัส (talus) ความมั่นคงของข้อต่อนี้เกิดจากการวางตัวที่เฉพาะของกระดูกและเอ็นกระดูก (ligament) ที่ล้อมอยู่รอบๆ ข้อ ซึ่งทางด้านนอกของข้อเท้ามีเอ็นกระดูกยึดอยู่ 3 เส้นคือ
- anterior talo-fibular ligament ยึดทางด้านหน้า
- calcaneo-fibular ligament ยึดด้านข้าง
- posterior talo-fibular ligament ยึดทางด้านหลัง
ซึ่งเอ็นกระดูกทั้ง 3 นี้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายจากการเกิดข้อเท้าแพลง เนื่องจากเวลาเกิดการพลิกข้อเท้ามักจะพลิกเข้าด้านใน จึงไปยืดเอ็นที่เกาะด้านนอกให้เกิดการบาดเจ็บ อีกทั้งเอ็นกระดูกด้านในข้อเท้ายังมีความแข็งแรงกว่าอีกด้วย เอ็นที่อยู่ทางด้านข้างของข้อเท้าที่ได้รับบาดเจ็บได้ง่ายที่สุดคือเอ็นที่ยึดทางด้านหน้า รองลงมาคือด้านข้างและหลังตามลำดับ
ข้อเท้าแพลงแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ
ระดับ 1 : ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง คือ เอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เอ็นบาดเจ็บ แต่เส้นใยของเอ็นไม่ฉีกขาด มีอาการปวด บวม แต่น้อย
ระดับ2: ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง มีอาการปวด บวม เฉพาะที่ และอาจมีเลือดคั่ง
ระดับ3 : ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทางด้านนอกหมดทั้ง 3 เส้น ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง มีอาการปวด บวมมาก และมีเลือดคั่ง อาจต้องผ่าตัด
อาการและอาการแสดง
โดยทั่วไปอาการของข้อเท้าแพลงส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการเจ็บปวด ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรง และเจ็บเสียวบริเวณที่เอ็นยืดหรือฉีกขาด ถ้ารุนแรงมากจะรู้สึกเหมือนข้อฉีกหรือมีเสียงดังในข้อ หลังจากอุบัติเหตุ 1 วันจะมีอาการบวมตามมา (ในกรณีไม่รุนแรง) แต่อาจมีอาการบวมทันทีหากมีการฉีกขาดของเอ็น เห็นเป็นกระเปาะชัดเจน ต่อมาผิวหนังจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นเขียวคล้ำและจะค่อย ๆ จางหายไปใน 3 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังอาจพบว่าข้อเท้ามีความมั่นคงลดลงได้
การดูแลตัวเอง
การดูแลตัวเองแบ่งเป็น 2 ระยะง่ายๆ คือ
ระยะที่1 : นับตั้งแต่บาดเจ็บจนวันที่ 3 เราต้องทำการลดอาการปวด และ บวม รวมทั้งป้องกันเอ็นที่กำลังซ่อมแซม โดย
- พักการใช้ข้อเท้า เลี่ยงการยืนเดินนาน งดสวมรองเท้าส้นสูง
- ใส่สนับข้อหรือพันผ้าเทปเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งาน
- ใช้ผ้ายืดพันรอบตั้งแต่โคนนิ้วเท้าจนถึงกลางหน้าแข้งโดยพันแน่นบริเวณส่วนปลายเพื่อลดบวม
- วางแผ่นเย็นหรือถุงน้ำผสมน้ำแข็งลงบนข้อเท้า 15-20 นาที 3-5 ครั้งต่อวันเพื่อลดการอักเสบโดยอาจใช้ร่วมกับผ้ายืดได้
- นอนยกข้อเท้าให้สูง โดยอาจนำหมอนมาหนุนเพื่อลดบวม
- หากอาการเจ็บปวด บวม เลือดคั่งมีมากหรือไม่ลดลงควรไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
ระยะที่2 : หลังจากอาการบวมหายไป และปวดลดลง นั่นคือเอ็นกำลังซ่อมแซมตัวเอง การเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆไม่เป็นอันตราย อาการปวดจะเป็นตัวเตือนเรา ช่วงนี้เราต้องการเพิ่มการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของข้อเท้าโดยออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายเพื่อคงช่วงการเคลื่อนไหว ป้องกันข้อติด
- นั่งเข่าเหยียดกระดกข้อเท้าขึ้น/ลงให้สุดทำ 20 ครั้ง
- บิดข้อเท้าเข้า/ออกเบา ทำ 20 ครั้ง อย่าให้กระตุ้นอาการปวด
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ยืดแค่ตึงเต็มที่อย่าให้ปวดค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง วันละ 2 ชุด
- นั่งเข่าเหยียดเอาผ้าคล้องฝ่าเท้าแล้วดึงเข้าหาตัวค้างไว้
- ยืนท้าวกำแพงก้าวเท้าไปข้างหน้าเอาขาเจ็บไว้หลัง ย่อตัวลง เข่าหลังตึงส้นแตะพื้น ค้างไว้
- นั่งเข่างอเล็กน้อยเอาผ้าคล้องฝ่าเท้าแล้วดึงเข้าหาตัวค้างไว้
- ยืนท้าวกำแพงก้าวเท้าไปข้างหน้าเอาขาเจ็บไว้หลัง ย่อตัวลง เข่าทั้งสองข้างงอส้นแตะพื้น ค้างไว้
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ทุกท่าทำ 20 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด อย่าให้กระตุ้นอาการปวด
- นั่งเอาด้านข้างเท้าชิดกำแพงออกแรงต้านกำแพง ค้างไว้
- นั่งเอาเท้าชิดออกแรงต้านหนีบเท้าหากัน ค้างไว้ 10 วินาที
- ยืนเกาะกำแพง เขย่งข้อเท้าขึ้น/ลง , บิดฝ่าเท้าออกด้านนอก/ใน
- นั่งวางส้นเท้าข้างอีกลงบนหลังเท้าที่เจ็บออกแรงกดลง เท้าเจ็บออกแรงต้านกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที
- ใช้แถบยางเป็นแรงต้านโดยผูกด้านหนึ่งไว้กับขาโต๊ะ
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับรู้ของข้อต่อ
- ยืนบนขาข้างเจ็บ 20 วินาที 10 ครั้งต่อวันเพิ่มลำดับความยาก โดยการกอดอกและหลับตา
- ฝึกยืน/เดินบนฟองน้ำหรือหมอนนิ่ม
การป้องกัน
- สวมรองเท้าให้เหมาะสมช่วยให้เราเดินได้คล่องและมั่นคง ควรหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงจนเกินไป
- ใส่รองเท้ากีฬาให้ถูกตามชนิดของกีฬาและอย่าใส่รองเท้านานเกินอายุการใช้งาน
- หลีกเลี่ยงการเดิน วิ่ง หรือกระโดดบนพื้นที่ไม่เหมาะสม
- ออกกำลังกายข้อเท้าเป็นประจำ 3-4 วันต่อสัปดาห์และยืดกล้ามเนื้อก่อน-หลังทำกิจกรรมทุกครั้ง
- ขณะเดินในเวลากลางคืนควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
- หากมีปัญหาข้อเท้าแพลงบ่อยๆ ควรใส่เครื่องช่วยพยุงขณะทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดข้อเท้าแพลง เช่น เล่นกีฬาที่ต้องใช้ข้อเท้ามากๆ มีการกระโดด หมุนตัว เป็นต้น
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More
ปัญหาและทางแก้
เท้าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ต้องรับบทหนักในทุกๆวัน ความผิดปกติบางอย่างของเท้าเกิดจากกรรมพันธุ์ บางอย่างเกิดจากการเสื่อมของสภาพของร่างกายหลายครั้งเกิดจากการวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม แต่ส่วนใหญ่แล้วความผิดปกติของเท้ามักเกิดจากหลายๆสาเหตุร่วมกัน เช่น ในกรณีเท้าผิดรูปที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตได้หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่แก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ
เท้าผิดรูป คือ รูปร่างของเท้าที่ผิดรูปร่างไปจากเท้าปกติ ซึ่งมีทั้งประเภทที่บนได้บ่อยจนคนทั่วไปไม่รู้สึกว่าสิ่งนี้คือความผิดปกติ กับความผิดปกติที่เห็นได้อย่างชัดเจน เราสามารถแบ่งการผิดรูปของเท้าแบบง่ายๆ ตามส่วนต่างๆ ของเท้าได้เป็น 3ประเภท คือ
- การผิดรูปของเท้าส่วนหน้า ได้แก่ การผิดรูปของหัวแม่เท้าและนิ้วเท้าเล็กๆ
- การผิดรูปของเท้าส่วนกลาง ได้แก่ การผิดรูปของอุ้งเท้า
- การผิดรูปของเท้าส่วนหลัง ได้แก่ การผิดรูปของส้นเท้า
การผิดรูปของเท้าส่วนหน้า
เป็นเท้าผิดรูปส่วนหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ แต่ที่พบส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการใส่ รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ รองเท้าหัวแคบ ทำให้นิ้วหัวแม่เท้าเก หรือบิดเข้าสู่นิ้วชี้ปัญหาที่พบนอกจากรูปลักษณ์ที่ไม่สวยงามแล้ว ยังมีอาการปวดบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้าที่นูนออกเพราะเสียดสีกับรองเท้า อาจเกิดหนังด้านหรือมีอาการอักเสบของถุงน้ำดีที่บริเวณนี้และนิ้วหัวแม่เท้าที่เกอาจไปเบียดกับนิ้วชี้เท้าจนทำให้นิ้วชี้โก่งลอยเสียดสีกับรองเท้า เกิดหนังด้าน ทำให้เจ็บด้านบนได้อีก หนำซ้ำนิ้วเท้าที่เบียดกันยังอาจก่อให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นปัญหาที่บนได้บ่อย
นอกจากนี้การมีนิ้วหัวแม่เท้าเก ทำให้ผ่าเท้าบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ภาระจึงตกอยู่กับผ่าเท้าบริเวณนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย ทำให้เกิดปัญหาเจ็บบริเวณฝ่าเท้า บางคนอาจมีหนังด้านเกิดขึ้น ถ้าหนังด้านหนามากจนเกิดเป็นก้อนแข็ง เวลาเดินจะรู้สึกเหมือนเหยียบก้อนหินแข็งๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายคนทนไม่ไหว พยายามหาวิธีกำจัด เช่น การเอากรรไกรตัดเล็บ ใช้ยาลอกหนังด้าน แต่ลอกแล้วหนังก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ จนเป็นปัญหาเรื้อรังเพราะต้นตอเกิดจากโครงสร้างของเท้าที่เอื้อให้เกิดปัญหานี้
วิธีแก้ไข ในกรณีที่นิ้วหัวแม่เท้าเกจนผิดรูปไปมากแล้ว ทางแก้ที่จะทำให้นิ้วเท้ากลับมาเป็นปกติคือ การผ่าตัด แต่ถ้าต้องการการแก้ปัญหาอาการปวดที่เกิดขึ้น สามารถบรรเทาได้ด้วยการเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม ได้แก่รองเท้าพื้นนุ่มเพื่อลดแรงกดที่ผ่าเท้ารองเท้าหน้ากว้างเพื่อไม่ทำให้นิ้วเท้าเบียดกัน ถ้ารองเท้าที่มีอยู่หน้ากว้างไม่พอ สามารถขยายหน้ารองเท้าซึ่งจะทำเฉพาะจุดที่กดนิ้วเท้าหรือขยายทั้งหัวรองเท้าก็ได้ ซึ่งร้านรองเท้าบางแห่งมีบริการนี้นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ดามนิ้วเท้า (splint) เพื่อกันไม่ให้นิ้วหัวแม่เท้าที่เกไปเกยเบียดนิ้วเท้าอื่นซึ่งช่วยลดอาการปวดเมื่อยนิ้วหัวแม่เท้าที่เกได้มาก
ส่วนหนึ่งอาจมีผลพวงจากการเกิดนิ้วหัวแม่เท้าเกเพราะทำให้เกิดหนังด้านบริเวณฝ่าเท้าส่วนหน้า แต่สาเหตุของปัญหานี้ที่พบบ่อยคือ “การใส่รองเท้าส้นสูง” ฝ่าเท้าจึงต้องรับน้ำหนักมากยิ่งส้นรองเท้ามีความสูงมาก การกดของน้ำหนักก็ยิ่งมากตามขึ้นไปด้วยบางครั้งอาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่นิ้วเท้าและข้อเท้า และมักพบหนังด้านในบริเวณฝ่าเท้าด้วย
วิธีแก้ไข การแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ “การเลิกใส่รองเท้าส้นสูง” แต่ถ้าเลิกและเลี่ยงไม่ได้ ควรต้องปรับร้องเท้าให้ใส่สบายขึ้น เช่นพื้นรองเท้าบริเวณฝ่าเท้าต้องใช้วัสดุที่นุ่มถ้ารองเท้าคู้ที่ซื้อมาเป็นพื้นแข็งให้ใช่แผ่นเจลถนอมเท้า ใส่ไว้ในรองเท้าบริเวณฝ่าเท้า จะช่วยให้พื้นรองเท้านิ่มขึ้นนอกจากนี้การใส่รองเท้าส้นสูง อาจทำให้อุ้งเท้าโก่งมากขึ้นเมื่อยง่ายจึงควรใช้อุปกรณ์รองอุ้งเท้าซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดและช่วยให้สบายขึ้น
มักพบในผู้ที่มีนิ้วชี้และนิ้วกลางยาวกว่าหัวแม่เท้า สาเหตุหลักคือเกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม มาเป็นระยะเวลานานรองเท้าที่คับจะดันให้นิ้วเท้าโก่งขึ้นมีปัญหาส่วนที่โก่งกดเบียด เสียดสีกับรองเท้าจนเกิดเป็นตาปลา หนังด้านปลายนิ้ว
วิธีแก้ไข สามารถทำได้ง่ายมาก คือเลือกรองเท้าให้เหมาะสมโดยวัดความยาวจากส้นเท้าถึงปลายนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหัวแม่เท้าตลอดไปส่วนหัวของรองเท้าควรเลือกควรเลือกเท่ากับพื้นที่ความกว่างของนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด ในกรณีที่นิ้วโก่งมากจนยึดติด คลายไม่ได้ต้องใช้วิธีการแก้ไชโดยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ถ้าเริ่มมีอาการต้องรีบแก้ไขแต่จะให้ดีที่สุดควรปรับรองเท้าให้เหมาะสมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การผิดรูปของเท้าส่วนกลาง
เป็นเท้าผิดรูปส่วนกลางที่บนบ่อยที่สุด สาเหตุเป็นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ และความเสื่อมของเส้นเอ็นหากเกิดจากกรรมพันธุ์จะมีลักษณะการผิดปกตินี้ตั้งแต่เด็กๆโดยจะเริ่มเห็นตั้งแต่เด็กเริ่มเดินและจะเห็นชัดขึ้นเมื่ออายุ 3-4 ขวบ สังเกตได้จากรอยเท้าที่เหยียบไปบนพื้นจะมีลักษณะเต็ม ไม่มีอุ้งเท้า ประกอบกับลักษณะส้นเท้าบิดคุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตว่าลูกเดินไม่สวยหรือบ่นปวดเมื่อยน่องเวลาเดินมากแต่ถ้าเป็นเท้าแบนในแบบผู้ใหญ่ มักพบในผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากๆปัญหาเกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็นบริเวณเท้า เรียกโรคนี้ว่า “เส้นเอ็นพยุงส้นเท้าเสื่อม” ผู้ป่วยจะปวดบริเวณอุ้งเท้าร้าวขึ้นมาถึงบริเวณตาตุ่มด้านใน (ตาตุ่มที่อยู่ด้านเดียวกับหัวแม่เท้า) โดยจะมีอาการปวดบวมแดงร้อน ซึ่งเป็นสัญญาณการอักเสบของเส้นเอ็น หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอุ้งเท้าจะค่อยๆแบนลง ส้นเท้าจะบิดออกเท้าส่วนหน้าจะแปออกคล้ายเท้าเป็ด หากมีส้นเท้าบิดมากๆเป็นเวลานานอาจทำให้ข้อเสื่อมและเคลื่อนไหวได้น้อยลง
วิธีแก้ไข ถ้าพบตั้งแต่เด็กๆสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับรองเท้าหรือใส่อุปกรณ์ประคองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษส่วนการใส่รองเท้าที่เหมาะสมซึ่งการแก้ไขในที่นี้คือการ ทำให้เท้าไม่ผิดรูปไปมากกว่าเดิม ไม่ผิดรูปจนน่าเกลียด แต่การจะทำให้อุ้งเท้ากลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเท้าว่ามีความผิดปกติมากน้อยเพียงใด
สำหรับผู้สูงอายุ หากเส้นเอ็นประคองอุ้งเท้าเสื่อมจนเอ็นย้วยหรือขาด จนกระทั่งส่งผลให้เท้าแบนแล้ว สามารถแก้ไขได้โดยการผ่าตัดเพื่อให้โครงสร้างเท้ากลับมาเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่เลือกวิธีนี้ จะเลือกวิธีการปรับรองเท้าแทน โดยหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าแตะที่แบนติดพื้น ให้เลือกใส่รองเท้าหุ้มส้นที่มีโครงประคองอุ้งเท้าไม่ให้บิด เลือกใส่รองเท้าที่มีอุ้ง หากหารองเท้าที่มีอุ้งเหมาะสมกับเราไม่ได้ ให้ใช่อุปกรณ์รองอุ้งเท้าเสริมหรืออาจสั่งติดแผ่นรองเท้าพิเศษ ซึ่งจะได้แผ่นรองเท้าที่เหมาะกับตนพอดิบพอดี โดยติดต่อได้ที่โรงพยาบาลของรัฐที่มีคลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ตามต่างจังหวัด สามารถติดต่อของสั่งตัดได้ที่ โรงพยาบาลศูนย์แต่ราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันราคาอยู่ที่คู่ละ 2,000-4,000 บาท
ในกรณีที่เท้าพึ่งจะเริ่มแบน แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในฝ่าเท้าด้วยวิธีการง่ายๆคือในช่วงที่มีอาการเจ็บให้บริหารโดยใช้อุ้งเท้าทั้งสองข้างคีบประคองลูกบอลขนาดประมาณลูกฟุตบอล แต่ถ้าอาการปวดบรรเทาลงแล้ว จะใช้วิธียืนเขย่งปลายเท้าขึ้นลงโดยเริ่มทำที่จำนวนน้อยๆเพื่อไม่ให้เกิดอากรอักเสบซ้ำ และเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งแต่ที่ไม่ควรละเลยคือการดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
ปัญหาเกิดจากกรรมพันธุ์ และปัญหาเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เช่นในผู้ป่วยเบาหวาน เส้นประสาทส่วนปลายเท้ามักจะเสื่อมกล้ามเนื้อที่ฝ่าเท้าทำงานได้น้อยลง ปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อุ้งเท้าสูงคือบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้าเพราะเมื่อเหยียบพื้นน้ำหนักตัวที่ควรจะกระจายทั่วเท้าก็จะกลับตกที่สองจุดนี้
วิธีแก้ไข เวลาเลือกซื้อรองเท้าควรเลือกรองเท้าพื้นนุ่มทีมีส่วนโค้งใต้อุ้งเท้า หลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีพื้นแบน และใช้อุปกรณ์รองอุ้งเท้าเสริมหรือจะสั่งตัดแบบพิเศษช่วยให้กระจายน้ำหนักตัวได้ดีมากขึ้น
การผิดรูปของเท้าส่วนหลัง
ส่วนใหญ่จะมาจากอุ้งเท้าที่มีปัญหา เช่นเท้าแบนตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งการผิดรูปของเท้าส่วนหลังมักจะเกิดจากอุบัติเหตุจึงพบได้ไม่บ่อยนัก
สุดท้ายขอฝากในส่วนของการดูแลเท้าโดยภาพรวมหากเกิดอาการเจ็บปวด สิ่งที่ควรทำคือการพักเท้าแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้มือนวดคลึงเบาๆเพื่อยืดคลายเส้นและกล้ามเนื้อถ้าเจ็บฝ่าเท้าควรจะใส่รองเท้าเดินในบ้าน โดยเลือกคู้ที่มีพื้นนุ่ม(ไม่แนะนำให้ใส่รองเท้ากันเปื้อนพื้นบาง) และถ้าพื้นรองเท้ายุบตัวลงจากการใส่ไปนานๆอย่าเสียดายที่จะเปลี่ยนคู่ใหม่เพื่อสุขภาพเท้าที่ดีของตัวเราเอง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More