All posts in อุปกรณ์ช่วยพยุง

ตอนที่ 691 การใช้เทคนิคการรักษาและอุปกรณ์ช่วยทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน

ตอนที่ 691 การใช้เทคนิคการรักษาและอุปกรณ์ช่วยทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน

การใช้เทคนิคการรักษาและอุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยบรรเทาอาการและปรับปรุงสุขภาพของผู้ป่วย ดังนี้คือเทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้ในการกายภาพบำบัดผู้ป่วยเบาหวาน:

1. เทคนิคการนวด: การนวดช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ปรับสมดุลของระบบประสาท และบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง อาจใช้เทคนิคการนวดแบบสแวนน่าหรือการนวดแบบสกัดแร่ธาตุ

2. เครื่องไฟฟ้าบำบัด: การใช้เครื่องไฟฟ้าบำบัดช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนโลหิต อาจประกอบด้วยการใช้สัญญาณไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น ไฟฟ้าจัดเต็มคลื่น ไฟฟ้าชนิดน้ำ หรือไฟฟ้าชนิดผสม

3. อุปกรณ์การฝึกซ้อม: อุปกรณ์การฝึกซ้อมช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ อาจเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์เช่น เบาะยืดหลัง ลู่วิ่ง จักรยานนิ่ง บอลยาง หรือเครื่องจำลองการเดิน

4. เทคนิคการฝึกซ้อมแบบความคับแข็ง: เทคนิคการฝึกซ้อมแบบความคับแข็งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุล และความมั่นคงของร่างกาย อาจประกอบด้วยการใช้เครื่องมือหรือแรงบีบตัว เช่น บอลแร็ค ทรามโพลีน หรือฟิตเนสเบลล์

5. เทคนิคการฝึกซ้อมแบบเร็ว: เทคนิคการฝึกซ้อมแบบเร็วช่วยเพิ่มความไวและความทนทานของร่างกาย โดยใช้เครื่องมือหรือฟิตเนสเบลล์ที่มีน้ำหนักเบาๆ และฝึกซ้อมแบบเร็วๆ โดยเปลี่ยนท่าซ้อมอย่างรวดเร็ว

6. เทคนิคการหายใจ: เทคนิคการหายใจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเครียด และสร้างสภาวะผ่อนคลายในร่างกาย สามารถใช้เทคนิคการหายใจลึกๆ และการหายใจร่วมกับการฝึกซ้อมได้

การใช้เทคนิคและอุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานควรใช้ภายใต้คำแนะนำและความชำนาญของนักกายภาพบำบัด คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการวางแผนการบำบัดที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความต้องการของคุณ

More

ตอนที่ 650 เรื่อง การเคลื่อนย้ายตนเองในห้องน้ำของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

ตอนที่ 650 เรื่อง การเคลื่อนย้ายตนเองในห้องน้ำของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

ตอนที่ 650
 
เรื่อง การเคลื่อนย้ายตนเองในห้องน้ำของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

 

สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างทักษะการเคลื่อนย้าย ตัวเองนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่าง อิสระ ก็จะสามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆได้ง่ายและลดภาระ ผู้ดูแลลงอย่างมาก การเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่างอิสระต้อง อาศัยทั้งพละกำลังของกล้ามเนื้อแขน และความทนทานสูงแต่สิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ ทักษะที่ถูกต้อง ในการเคลื่อนย้ายตัวเองให้ปลอดภัยที่สุด

วิธีการเคลื่อนย้ายตัวเองจาก เก้าอี้รถเข็นไปยังโถส้วมชักโครก

1. ตรวจสอบความพร้อมของห้องน้ำ 

ควรตรวจดูสภาพแวดล้อมของห้องน้ำโดยรอบ ก่อนการเคลื่อนย้ายตัวเองก่อนว่า 

มีแสงสว่างที่เพียงพอหรือไม่ 

พื้นห้องน้ำเปียกหรือเปล่า 

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ครบและวางไว้ในที่เอื้อมหยิบถึงหรือยัง 

โถส้วมมั่นคงหรือไม่ 

โถส้วมสะอาดหรือยัง 

เป็นต้น

2. จัดองศาที่เหมาะสม สำหรับการเคลื่อนย้ายตัวเอง 

จัดให้เก้าอี้รถเข็นอยู่ชิดกับขอบโถส้วมชักโครกให้มากที่สุด

โดยส่วนใหญ่จะทำมุม 45 องศา เพื่อให้สะดวกต่อ การเคลื่อนย้ายตัวเองมากที่สุด

อย่าลืมล็อคล้อเก้าอี้รถเข็นให้เรียบร้อยด้วย

3. พับเก็บที่วางเท้า

ใช้แขนหนึ่งข้างคล้องเกี่ยวที่มือจับของ เก้าอี้รถเข็นให้มั่นคง

โน้มตัวลงไปช้าๆและพับเก็บที่วางเท้าขึ้น

4. หาบริเวณที่มั่นคงสำหรับการเหนี่ยวตัว เพื่อย้ายตัวเอง

ถ้ามีราวจับให้ใช้มือ 1 ข้างจับที่ราวจับและมืออีกหนึ่งข้างจับบริเวณที่พักแขน

อย่าจับบริเวณฝารองนั่งชักโครกเด็ดขาด เพราะเป็นส่วนที่ไม่มั่นคงที่สุด ส่วนมือข้างที่จับ เก้าอี้รถเข็นให้พยายามออกแรงในลักษณะ “ดันขึ้น ห้าม ออกแรง “ผลักออก” เป็นอันขาด

5. จัดท่าทางให้มั่นคง 

จัดท่าทางการนั่งให้มั่นคง

เลื่อนเก็บเก้าอี้รถเข็นให้อยู่ในตำแหน่งที่ เอื้อมหยิบได้สะดวก

More

ตอนที่ 640 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยที่เข้าเฝือก ขณะอยู่บ้าน

ตอนที่ 640 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยที่เข้าเฝือก ขณะอยู่บ้าน

ตอนที่ 640 คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยที่เข้าเฝือก ขณะอยู่บ้าน
1.ดูแลเฝือกไม่ให้ชำรุด เฝือกปูนปลาสเตอร์ ไม่ให้เปียกน้ำ ไม่ใช้ มีด โลหะ ของมีคม หรืออุปกรณ์ต่างๆงัด แกะเฝือกออก

2.ไม่ใช้อุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปเกาภายในเฝือก เมื่อมีอาการคัน ภายในเฝือกสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยา หรือใช้ เสปรย์อาการคันตามที่แพทย์ให้
3.อาการบวมของอวัยวะส่วนปลายที่เข้าเฝือกสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อเดินห้อยแขนจะมีหลังมือบวม หรือผู้ป่วยที่เข้าเฝือกขา เมื่อเดิน หรือนั่งห้อยขา เป็นเวลานานจะมีอาการหลังเท้า เท้า บวมให้วางอวัยวะสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนเลือด
4. การบริหารโดยการเกร็งกล้ามเนื้อในเฝือก กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง อย่างน้อยวันละ 100-200 ครั้ง จะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบ และภาวะหลอดเลือดอุดตัน
5.การลงเดิน ให้ลงนํ้าหนักและใช้อุปกรณ์ช่วยเดินตามความเห็น ของแพทย์ที่ทําการรักษา
6.ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษา หาก ไม่สามารถมาพยแพทย์ตามกำหนดนัดให้ติดต่อเพื่อเลื่อนนัด
7.ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมากหลังรับประทานยาแก้ปวดไม่บรรเทา หรืออาการปวดเกิดขึ้นหลังจากไม่เคยมีอาการ มีบวม หลังจากที่วางยาหรือแบบสูงแล้วไม่ยุบบวม หรือมีเฝือก แตกหักให้รีบพบแพทย์ทันที
8.หากมีการใส่เฝือกมี่แขนควรใส่ผ้าพยุงแขนเอาไว้ด้วย

More

ตอนที่ 635 การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง (Splint)

ตอนที่ 635 การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง (Splint)

ตอนที่ 635 การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง (Splint)

วัตถุประสงค์ของการใส่ splint

•อุปกรณ์ใช้ลดบวมการบาดเจ็บของอวัยวะที่บาดเจ็บ
•ทำให้กระดูกหรือข้อต่ออยู่นิ่ง

ข้อบ่งชี้ในการใส่Splint

•ผู้ป่วยกระดูกหักชนิดมั่นคง
•ข้อมือเคล็ด
•บาดเจ็บของข้อต่อและเนื้อเยื่อ
•บาดเจ็บในระยะแรก
•ปอกหุ้มเอ็นอักเสบ

ข้อเสีย ของการใส่ splint

จํากัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่บาดเจ็บได้น้อย

More