ตอนที่ 652 ท่ากายบริหารในผู้ป่วย “ข้อไหล่ติด”
ตอนที่ 652 ท่ากายบริหารในผู้ป่วย “ข้อไหล่ติด”
การบริหารไหล่
ก่อนบริหารไหล่ ควรประคบร้อนก่อนประมาณ 15-20 นาที การบริหารควรเริ่มจากท่าเบาๆ ก่อนและค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นทีละ น้อยๆ
ท่าทางการบริหารไหล่
1. ท่าแกว่งแขน
วิธีการ : ยืนก้มตัวไปข้างหน้า แขนข้างดีเท้าบนโต๊ะ ห้อยแขนข้างเจ็บ ให้ผ่อนคลาย ค่อยๆ แกว่งแขน เป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็ม นาฬิกา ทํา 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
2. ท่าไต่ฝาผนัง
วิธีการ : ยืนหันหน้าเข้าฝาผนัง หลังตรง แขนเหยียดตรง ค่อยๆ ไต่นิ้ว ตามผนัง เพิ่มความสูงไปเรื่อยๆ จนรู้สึกตึงบริเวณไหล่ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบดังรูปที่ 1 เสร็จแล้ว เปลี่ยนท่าเป็นหันข้าง แขนด้านเจ็บเข้าฝาผนังค่อยๆ กางแขนไล่ขึ้นไปตามฝาผนัง
3. ท่าไขว้หลัง
วิธีการ : ยืนตรง ให้ผ้าเช็ดตัวพาดบ่า มือจับปลายผ้าทั้ง 2 ข้าง โดย แขนที่อยู่ข้างหน้า แขนเจ็บอยู่ด้านหลังค่อยๆ ใช้แขนข้างดี ดึงผ้า ขึ้น–ลง ให้รู้สึกตึงเบาๆ บริเวณไหล่ ค้างไว้นับ 1-10 วินาที ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
4. การบริหารด้วยกระบอง
1. ท่ายกแขนขึ้น–ลง เหนือศีรษะ
วิธีการ : ทำการยกไม้กระบองขึ้น–เหนือศีรษะ
2 . ท่ายกขึ้นเหนือศีรษะด้านหน้า
วิธีการ : ทำการยกไม้กระบองขึ้นเหนือศีรษะด้านหน้าแล้ววางพาดบนบ่าด้านหลัง
3. ท่ายกไม้
วิธีการ : ทำการเอียงไม้ไปทางด้านซ้าย–ขวา
4 . ท่าไขว้หลัง
วิธีการ: ทำการยกไม้ขึ้นลง สลับกันทุกท่า ทำให้รู้สึกตึงเบาๆ บริเวณหัวไหล่ ทําท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
ตอนที่651 ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อไหล่ติด?
ตอนที่ 651 ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อไหล่ติด?
1. พักการใช้งานแขนข้างที่ปวด
2. ประคบถุงน้ำแข็ง/ประคบด้วยแผ่นเย็น บริเวณที่ปวดนาน 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ใน 2 วันแรกของการบาดเจ็บ
หลัง 2 วันให้เปลี่ยนเป็นการประคบอุ่นแทน โดยประคบที่บริเวณที่ปวด เป็นเวลา 15-20 นาที
3. หลีกเลี่ยงการบีบนวดบริเวณที่ปวด เพราะจะทำให้เกิดการ อักเสบเพิ่มขึ้น
4. หลีกเลี่ยงการนอนทับแขนข้างที่ปวด
5. ค่อยเริ่มขยับแขน ยึดกล้ามเนื้อเมื่ออาการปวดทุเลาลง
6. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบพบแพทย์ และนักกายภาพบำาบัด เพื่อตรวจประเมิน และรับการรักษาต่อไป
Moreตอนที่ 639 Ultrasound combined therapy
ตอนที่ 639 Ultrasound combined therapy
เป็นการใช้เครื่องมือรักษาทางกายภาพบำบัด 2 เครื่องมือร่วมกันระหว่างเครื่องUltrasound กับ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (ES,TENS,IFC) เพื่อให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ และจะได้ ประสิทธิภาพในการรักษาาที่ดีขึ้น ซึ่งในขณะทำการรักษาผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดเล็กน้อย การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของพยาธิสภาพ
ประโยชน์
• ลดอาการปวด
•ลดอักเสบของเนื้อเยื่อ
•เพิ่มความนืดหยุ่นของข้อต่อ
•ลดอาการบวม
•ช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
•คลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
วิธีการใช้งาน
1.ติดแผ่นกระตุ้นคร่อมจุดที่ ต้องการจะรักษา
2.ตั้งค่าเครื่องให้ได้ตามที่ต้องการ จะใช้รักษา ทาเจล
3.เริ่มทําการรักษา
*เวลาในการรักษา 10-15 นาที