All posts in โรครองช้ำ

ตอนที่ 665 3 ท่าบริหารเส้นเอ็นสำหรับโรครองช้ำ

ตอนที่ 665 3 ท่าบริหารเส้นเอ็นสำหรับโรครองช้ำ

ตอนที่ 327 3 ท่าบริหารเส้นเอ็นสำหรับโรครองช้ำ

 

           โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบคือ?

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
เป็นอาการทั่วไปที่มีลักษณะเฉพาะจากการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อหนาที่เรียงตามแนวด้านล่างของเท้า มักทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับก้าวแรกในตอนเช้าหรือหลังช่วงพัก อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การใช้งานมากเกินไป รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ส่วนโค้งสูง เท้าแบน หรือกล้ามเนื้อน่องตึง ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึงการพักผ่อน การยืดกล้ามเนื้อ การใส่กายอุปกรณ์ กายภาพบำบัด หรือในบางกรณีอาจรวมถึงการผ่าตัด หากคุณสงสัยว่าเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ท่าที่ 1 ท่ายืดเอ็นร้อยหวาย

1. ยืนโดยใช้มือยันกำแพงให้มั่นคง ถอยเท้าข้างที่เจ็บมาด้านหลัง ส้นเท้าแนบพื้น
2. แอ่นสะโพกไปทางด้านหน้าเพื่อยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย ค้างไว้ 10-15 วินาที และทำสลับกันไปทั้งสองข้าง
3. แนะนำให้ทำบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 ครั้ง จนเมื่อเอ็นร้อยหวายมีความยืดหยุ่น จะช่วยให้อาการเจ็บหรืออักเสบบริเวณเอ็นร้อยหวายและอาการของโรครองช้ำทุเลาลง

 


ท่าที่ 2 ท่ายืดพังผืดฝ่าเท้า

1. นั่งเก้าอี้ในท่าไขว่ห้าง โดยให้เท้าข้างที่จะทำการบริหารอยู่ด้านบน
2. ใช้มือทั้งสองข้างจับบริเวณนิ้วเท้า จากนั้นให้งัดนิ้วเท้าขึ้นเพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า ค้างไว้ 10-15 วินาที
3. แนะนำให้หมั่นทำบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 ครั้ง


ท่าที่ 3 ท่านวดพังผืดฝ่าเท้า

1. เตรียมวัสดุทรงกลมที่มีความแข็ง เช่น ท่อน้ำ PVC หรือกระบอกน้ำเหล็ก (หลีกเลี่ยงวัสดุที่สามารถแตกหักหรือบาดฝ่าเท้าได้)
2. นั่งบนเก้าอี้ นำวัสดุทรงกลมวางที่พื้น แล้ววางเท้าข้างที่จะทำการนวดลงบนวัสดุ
3. จากนั้นค่อยๆ คลึงนวดตั้งแต่บริเวณอุ้งเท้ามาจนถึงส้นเท้า คลึงกลับไปมาเพื่อยืดตัวพังผืดฝ่าเท้า ทำครั้งละ 15-30 วินาที วันละ 8-10 ครั้ง

More

ตอน 657 โรครองช้ำคืออะไร แก้ยังไง?

ตอน 657 โรครองช้ำคืออะไร แก้ยังไง?

ตอนที่ 657 โรครองช้ำคืออะไร แก้ยังไง?


โรครองช้ำ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าส่วนใหญ่จะมีอาการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฝ่าเท้าและสะสมมาเป็นเวลานาน ที่อาจจะเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือ อาจเกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง จะมีการอักเสบ ปวด บวม เกิดจากการยืดเกินกว่าปกติของผังผืดใต้ฝ่าเท้า มีอาการเหมือนกับกระดูกส้นเท้างอกผิดปกติ (Heel Spur Syndrome)

อาการของโรครองชํ้า

1.ปวดใต้ส้นเท้าขณะ ก้าวเท้าลงจากเตียง
2.ปวดเมื่อยืนลงน้ำหนักหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน
3.เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการมักจะดีขึ้น
4.อาการปวดอาจเป็นมากขึ้นอีกหลังจากการเดินนานเกินไป

การรักษาทางกายภาพบำบัด

•เครื่องคลื่นกระแทก (Shock wave). ใช้การตอกคลื่นกระแทกบนผังพืดฝ่าเท้าที่หนาตัวเรื้อรัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ลดอาการปวด.

• ประคบร้อน-ประคบเย็น (Heat&Cold pack). ช่วยลดอาการปวด-อักเสบ ลดอาการบวมที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดแต่ละเครื่องมือจะมีคุณสมบัติเฉพาะที่ใช้คลายความตึง ลดความปวด และ คืนอิสระให้กับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ.

• ลูกกลิ้งนวดแก้รองช้ำ

คำแนะนำ ในการสวมใส่รองเท้า ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด

แนะนำเรื่องการใส่รองเท้า เพิ่ม อุ้งเท้า โดยจะเลือกรองเท้าที่รองรับอุ้งเท้า มีส่วนนูนที่บริเวณอุ้งเท้า เพื่อช่วยลดการลงน้ำหนักที่บริเวณอุ้งเท้า เพื่อลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับไปบาดเจ็บที่เท้าอีกครั้ง

 อุปกรณ์รัดเพื่อ เสริมอุ้งเท้า


• แผ่นรองเท้า เพื่อเสริมอุ้งเท้า


 รองเท้าเพื่อสุขภาพที่ช่วยในการเสริมอุ้งเท้า

More