All posts in โรคเกียวกับระบบทางเดินหายใจ

การรักษาอาการนอนกรน

การรักษาอาการนอนกรน

2

                    การนอนกรน  snoring) คือเสียงที่เกิดจากการสั่นหรือสะบัดมากกว่าปกติของลิ้นไก่และเพดานอ่อนขณะ นอนหลับ คนที่นอนกรนมักจะไม่ค่อยทราบว่าตัวเองมีอาการนอนกรนและก็ไม่มีสัญญาณอะไรที่ จะบอกได้ขณะที่ตื่นอยู่ว่าเป็นคนนอนกรนหรือไม่ ในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องปากโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่และเพดานปากจะหย่อนลงจากภาวะผ่อนคลาย จนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลมและปอดได้โดยสะดวก กระแสลมที่ถูกปิดกั้นจะเกิดเป็นลมหมุนในลำคอไปกระทบลิ้นไก่และเพดานอ่อนจน เกิดการสั่นมากกว่าปกติ ผลก็คือมีเสียงกรนตามมา ยิ่งการปิดกั้นทำให้ทางเดินหายใจแคบลงมากเพียงใดเสียงกรนก็จะดังมากขึ้นเท่า นั้น หากการปิดกั้นนี้มากจนกระทั่งอุดตันทางเดินหายใจจนหมด จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เราเรียกว่าเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

                    เพศชาย ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเป็นเพศ ชาย ทั้งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาและ การศึกษาผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม พบว่าเพศชายมี โอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วน 7:1 แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อโรคนี้ได้ เชื่อว่าอิทธิพลของฮอร์โมนส่งผลที่โครงสร้างบริเวณศีรษะและลำคอของเพศชาย เนื้อเยื่อบริเวณคอหนาขึ้นทำให้มีช่องคอแคบกว่าผู้หญิง ฮอร์โมนของเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจ มีความตึงตัวที่ดี

3

 

สาเหตุของการนอนกรน

  1. อายุ เมื่อ อายุมากขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆ จะขาดความตึงตัว ลิ้นไก่ยาวและเพดานอ่อนห้อยต่ำลง กล้ามเนื้อต่างๆ หย่อนยาน รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลิ้นไก่และลิ้น ตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย
  2. เพศ ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเป็นเพศชาย ?ทั้งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาและการศึกษาผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม พบว่าเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วน 7:1 แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อการกรนนี้ โดยเชื่อว่าอิทธิพลของฮอร์โมนส่งผลที่โครงสร้างบริเวณศีรษะและลำคอของเพศชาย เนื้อเยื่อบริเวณคอหนาขึ้นทำให้มีช่องคอแคบกว่าผู้หญิง ฮอร์โมนของเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจ มีความตึงตัวที่ดี
  3. โรคอ้วน พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ OSA (Obstructive Sleep Apnea) มี Body Mass Index (BMI) > 28 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือมีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักมาตรฐาน เมื่อลดน้ำหนักได้ 5-10 กิโลกรัมจะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้
  4. ดื่มสุราหรือการใช้ยาบางชนิดเช่นยากล่อมประสาทก่อนนอน จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิดหมดแรงไป เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้จะกดการทำงานของสมอง ทำให้สมองตื่นขึ้นมาเมื่อมีภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า ซึ่งอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อหัวใจและสมองได้
  5. การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้คอหอยอักเสบจากการระคายเคือง มีการหนาบวมของเนื้อเยื่อ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการอุดตันได้ง่าย และยังส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
  6. อาการคัดจมูกเรื้อรัง จมูกเป็นต้นทางของทางเดินหายใจ ถ้ามีภาวะใดก็ตามที่ทำให้แน่นจมูกเรื้อรัง เช่นมีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือเนื้องอกในจมูก ย่อมจะทำให้การหายใจลำบากขึ้น ทำให้ต้องหายใจทางปากและเกิดเสียงกรน
  7. กรรมพันธุ์ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่อ้วน แต่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บางคนอาจมีลิ้นไก่ยาวย้อยลงมาจากเพดานอ่อน บางคนอาจมีเพดานปากนิ่มและหนา หรือมีต่อมทอนซิลและอดีนอยด์ที่มีขนาดใหญ่จนทำให้ทางเดินหายใจแคบลง สิ่งเหล่านี้ล้วนอุดกั้นทางเดินของลมหายใจ และปัจจัยทางพันธุกรรมน่าจะเป็นสาเหตุหลักของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคน ปกติ 1.5 เท่า
  8. ลักษณะโครงสร้างของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางเลื่อนไปด้านหลัง ลักษณะคอยาว หน้าแบน ล้วนทำให้ทางเดินหายใจช่วงบนแคบลงเกิดการอุดตัน และทำให้เกิดการหยุดหายใจได้ โรคที่มีความผิดปกติบริเวณนี้ได้แก่ Downs syndrome, Prader Willi syndrome, Crouzons syndrome เป็นต้น
  9. โรคต่อมไร้ท่อต่างๆ ได้แก่ Hypothyroidism, Acromegaly พบว่าทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตันได้มากกว่าคนทั่วไป

4

การนอนกรนมี 2 ชนิด

1.ชนิดไม่อันตราย ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพียงแต่ก่อความรำคาญให้คนใกล้ชิดเท่านั้น
2.ชนิดอันตราย นั่นคือ หยุดหายใจขณะหลับ อันเนื่องมาจากมีการอุดตันของทางเดินหายใจขณะหลับ ภาวะอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน และระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ

9

การรักษามี 2 วิธี

คือ วิธีไม่ผ่าตัด และวิธีผ่าตัด ซึ่งท่านสามารถเลือกได้ เพราะการรักษาอาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด  แนะนำให้ใช้วิธีไม่ผ่าตัดก่อน  ถ้าไม่ดีขึ้น,ไม่ชอบ หรือไม่สะดวก ท่านสามารถเลือกวิธีผ่าตัดได้

1    วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัด
1.1 ลดน้ำหนัก ในรายที่ท่านมีน้ำหนักเกิน

6

 

 

 

 

1.2    ใช้CPAP นั้นย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure เป็นการรักษาที่ได้ประสิทธิผลดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษา ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome, OSAS) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการในระดับปานกลาง ถึง รุนแรง CPAP มีหลักการในการรักษาคือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน โดยลมที่เป่าด้วยความดันนี้มักเป็นเพียงอากาศปกติ ไม่ใช่การให้ออกซิเจนตามโรงพยาบาล (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็นมากเท่านั้น)

5

ในปัจจุบัน มีเครื่อง CPAP อยู่หลายแบบ ซึ่งแบ่งง่าย ๆ จะเป็น
1. เครื่องเป่าความดันลมแบบธรรมดา หรือ Manual CPAP
2. เครื่องเป่าความดันลม 2 ระดับ (Bilevel PAP หรือ BiPAP) และ
3. เครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตโนมัติ (Auto-adjusting PAP หรือ APAP)
ในกรณีทั่วไปการใช้เครื่องแบบธรรมดาก็อาจเพียงพอซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบอื่น

8

ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการรักษาด้วย CPAP

การรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้นตามรายงานการวิจัยทั่วโลก จัดว่าเป็นการรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับระดับปานกลางหรือรุนแรง ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและปรับความดันที่เหมาะสมกับท่านที่สุดโดยแพทย์เฉพาะทาง และท่านได้ใช้เครื่องตลอดทั้งคืน จะข้อดีมีทั้งในระยะสั้น คือ ท่านจะไม่มีอาการนอนกรนและจะนอนหลับได้ดีขึ้นพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย หรือ ความง่วงนอนตอนกลางวันอย่างที่ท่านรู้สึกความแตกต่างได้ รวมถึงในระยะยาวจะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วย โดยหากท่านติดตามดูแลกับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะมีความเสี่ยงในการรักษาน้อย

1.3 การใช้อุปกรร์หรือหมอนในการลดอาการนอนกรน คลิกที่นี่

หมอนลดอาการนอนกรน

 

 

2      วิธีผ่าตัดนั้น ได้แก่ การใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นการนำเข็มพิเศษเข้าไปในเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เพดานอ่อน ต่อมทอนซิล โคนลิ้น หรือเยื่อบุจมูก เพื่อส่งคลื่นความถี่สูงที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนให้แก่เนื้อเยื่อรอบๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียสภาพและการตายของเนื้อเยื่อขึ้นภายใน 1-2 เดือน หลังจากนั้น จะเกิดเนื้อเยื่อพังผืด เกิดการหดและลดปริมาตรของเนื้อเยื่อ

วิธีนี้สามารถลดขนาดเนื้อเยื่อต่างๆ ที่อุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น เป็นผลให้อาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับน้อยลง ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น วิธีนี้ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบๆ น้อย และยังทำให้อาการปวดหรือเจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อยด้วย สามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ผลของการลดขนาดของเนื้อเยื่อดังกล่าวจะเห็นชัดเจนใน 4-6 สัปดาห์ อาจทำซ้ำได้อีก ถ้าผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ วิธีนี้ง่ายในการทำ ผลข้างเคียงน้อยและได้ผลดี

อีกวิธีหนึ่งคือ การฝังพิลลาร์ (Pillar) เข้าไปในเพดานอ่อน โดยสอดแท่งเล็กๆ 3 แท่ง (ขนาดยาว 1.8 เซนติเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร) ซึ่งทำมาจากโพลิเอสเตอร์อันอ่อนนุ่ม ที่ใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดที่สามารถสอดใส่ในร่างกายมนุษย์ได้อย่างถาวร ฝังเข้าไปในเพดานอ่อนในปาก (ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก) ด้วยเครื่องมือช่วยการใส่ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ โดยไม่ได้ตัดหรือทำลายเนื้อเยื่อของเพดานอ่อน พิลลาร์จะช่วยลดการสั่นสะเทือน หรือการสะบัดตัวของเพดานอ่อน และพยุงไม่ให้เพดานอ่อนในปากปิดทางเดินหายใจได้โดยง่าย และเมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อของเพดานอ่อน รอบๆ จะตอบสนองต่อแท่งพิลลาร์ โดยการเกิดพังผืด ช่วยเพิ่มความแข็งแรง สมบูรณ์ทางด้านโครงสร้างของเพดานอ่อนในปากมากขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น หายใจได้สะดวกขึ้น และอาการนอนกรนน้อยลง โดยไม่รบกวนการพูด การกลืน หรือการทำงานปกติของเพดานอ่อน มักนิยมใช้รักษาอาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เป็นไม่มาก ข้อดีของวิธีนี้คือ อาการปวดหรือเจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อย การรักษาจะเสร็จสมบูรณ์ในครั้งเดียวและใช้เวลาไม่นานในการผ่าตัด สามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

 

8

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่12:โรคหลอดลมโป่งพอง ฟังแค่ชื่อ ก็เป็นเรื่องน่ากลัว!

ตอนที่12:โรคหลอดลมโป่งพอง ฟังแค่ชื่อ ก็เป็นเรื่องน่ากลัว!

โรคหลอดลมโป่งพอง

 

  emphysema2

                หลายๆคนคงคุ้นเคยกับชื่อโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ คือกลุ่มโรคทางเดินหายใจอุดกั้น ซึ่งเกิดเป็นลักษณะความผิดปกติของหลอดลมแบบถาวรแบบนี้เป็นแล้วเป็นเลยนะเนี่ย!  โดยโรคหลอดลมโป่งพอง เมื่อมีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเนื้อเยื่อรอบๆหลอดลมมีการอักเสบและมีการฉีกขาด จนกลายเป็นพังพืด ทำให้มีรูปร่างเป็นกระเปราะ สาเหตุการเกิดโรคโรคหลอดลมโป่งพอง นี้สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก คือ

  • การอุดตันที่หลอดลมทำให้เสมหะคั่งค้างและมีการติดเชื้อได้
  • น้ำเมือกบุ มีความผิดปกติ
  • พันธุกรรม

กลไกการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

emphysema 1

หลังจากมีการอักเสบและการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทำให้มีเสมหะเป็นสีเหลืองปนเขียว ตำแหน่งที่พบมีการว่ามีการขยายตัวมากกว่าปกติคือปอดกลีบซ้าย มีรูปร่างที่ผิดปกติ

อาการของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง

emphysema 2

จะมีอาการไอมากในตอนเช้า มีเสมหะสีเหลืองปนหนองเมื่อเก็บมาตั้งทิ้งไว้ มีกลิ่นเหม็น ผู้ป่วย และอาการสะสมของโรคไอเรื้อรัง ไอแห้งๆนานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเลือดปนเสมหะออกมา

– น้ำหนักลดเร็ว เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย

– เหนื่อยง่าย

– เจ็บหน้าอก

 

หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่รักษา จะมีอาการ 

– หอบเหนื่อย

– บวมบริเวณลำคอ หน้า แขน อก

– กลืนอาหารลำบาก

– หายใจมีเสียงอึ๊ดในหน้าอก

 

โรคถุงลมโป่งพอง มีการดำเนินโรคอยู่ 4 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่มีปัจจัยเสี่ยงและเริ่มมีการอุดกั้นของหลอดลมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหลอดลมเล็ก ๆ เหล่านั้น สามารถกลับคืนสู่ปกติได้เมื่อหยุดบุหรี่สำเร็จ

ขั้นที่ 2 มีการอุดกั้นของหลอดลมและความเสื่อมของถุงลมชัดเจน โดยทราบได้จากการตรวจสมรรถภาพปอด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อยไม่มาก

ขั้นที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อยมากขึ้น ผลการตรวจสมรรถภาพปอดเสื่อมลงอีก

และขั้นที่ 4 ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง จะมีการเสื่อมของหลอดลมและถุงลมมาก มีภาวะการหายใจวายและหัวใจวายเกิดขึ้น ระยะนี้ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง จำเป็นต้องพึ่งออกซิเจน

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

emphysema3

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้ โรคถุงลมโป่งพอง หายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและปอดถูกทำลายช้าลง โดยยาที่รักษา โรคถุงลมโป่งพอง คือ
ยาขยายหลอดลม

  • มีทั้งชนิดกิน ฉีด และพ่น ปัจจุบันนิยมใช้ยาพ่นที่ออกฤทธิ์นาน ส่วนยาพ่นชนิดออกฤทธิ์เร็วมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเริ่มหอบ

ยาสเตียรอยด์

  • มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง มีอาการรุนแรง หรือมีอาการหลอดลมอักเสบร่วมด้วย เพราะยาสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี แต่ไม่นิยมใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะมีผลข้างเคียงมาก ปัจจุบันนิยมใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นมากกว่าชนิดรับประทานหรือฉีด

ยาปฏิชีวนะ

  • จะใช้กรณีพบว่ามีการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ พบการอักเสบของหลอดลม โดยผู้ป่วยจะไอมีเสมหะมากขึ้น และเสมหะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง หรือสีเขียว หรือเป็นหนอง

ยาละลายเสมหะ

  • ใช้เมื่อมีเสมหะเหนียว และมีเสมหะมาก ผู้ป่วยควรทานน้ำให้มากขึ้น เพราะน้ำเป็นตัวละลายความเหนียวของเสมหะได้ดีที่สุด การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง

 

โรคถุงลมโป่งพอง สามารถป้องกันได้ด้วยการงดสูบบุหรี่ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำงาน และการเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีควันพิษ หรือในที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ และแม้ว่า โรคถุงลมโป่งพอง นี้ จะทำให้เกิดโรคเมื่อมีอายุมากก็ตาม แต่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคควรรับการตรวจสมรรถภาพปอด เพราะหากตรวจพบ โรคถุงลมโป่งพอง ในระยะเริ่มแรกก็อาจหลีกเลี่ยง หรือป้องกันได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่6:กายภาพบำบัด กับ หอบหืด เกี่ยวกันอย่างไร

ตอนที่6:กายภาพบำบัด กับ หอบหืด เกี่ยวกันอย่างไร

หอบหืดเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

โรคหอบหืด1

หลายคนอาจคุ้นหูหรือเคยรู้จักกับคนใกล้ตัวทีมีโรคหอบหืดกันมาบ้าง แต่คุณรู้หรือไม่อาการและกระบวนการเกิดของโรคแท้จริงนั้นเกิดจากอะไร  แล้วกายภาพบำบัดมีส่วนช่วยในการรักษายังไง อาการหอบหืดเกิดจากการที่เยื่อบุหลอดลมมีปฎิกิริยาตอบสนองต่อตัวกระตุ้นต่างๆมากกว่าปกติทำให้เกิดการหดเกร็งของหลอดลมและเยื่อบุหลอดลมบวม ส่งผลให้ทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดแคบลง  ผู้ป่วยจึงมีอาการหอบเหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดัง โดยอาการจะหายได้เองเมื่อใช้ยาขยายหลอดลม

                อาการของโรคหอบหืดจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาของการจับหืดขึ้นกับปัจจัยดังตัวต่อไปนี้

  1. มีการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลม
  2. เยื่อบุหลอดลมมีการบวม
  3. มีเสมหะที่มีลักษณะเหนียวมาก

โรคหอบหืด2

                                สาเหตุของโรคหอบหืดนั้นแท้จริงยังไม่ทราบแน่นอนนัก แต่มักมีเหตูการชักนำของโรคได้แก่

  1. สารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นบ้าน เกสรดอกไม้ แพ้อาหารบางประเภท ขนสัตว์ มลภาวะต่างๆ
  2. การติดเชื้อในทางในหายใจ
  3.  สภาพจิตใจ เครียด
  4. การออกกำลังกาย
  5. การเปลี่ยนฤดู สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
  6. กรรมพันธ์ุ

                อาการทีพบเมื่อเกิดการกระตุ้นในการเกิดหอบหืด

แน่หน้าอกหรือไอเล็กน้อย ถ้าเกิดการอุดกั้นอย่างรุนแรงมากขึ้นมักจะมีอาการไอถี่ๆ อาการเป็นมากในช่วงกลางคืน

เมื่อมีเสมหะและการหอบเหนื่อยในรายที่แสดงอาการโรคหอบหืดมากๆมักมีเสียงหายใจสั้น ใช้กล้ามเนื้อเสริมการหายใจเข้าช่วย ในกรณีที่มีอาการจับหืดอย่างทันที ผู้ป่วยมักจะนั่งหอบหรือฟุบหน้ากับหมอน

 โรคหอบหืด3

การรักษาทางกายภาพในผู้ป่วยหอบหืด

การรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดเกี่ยวข้องกับกายภาพบำบัดได้ย่างไร ในทางกายภาพบำบัดเทคนิคการรักษาถูกนำมาใช้รักษาในผู้ป่วยหอบหืดเนื่องจากคนไข้มักจะมีเสมหะมากและทำให้การหายใจขาดประสิทธิภาพ นักกายภาพจึงต้องมีบทบาทได้แก่ การร่อนระบายเสมหะออกจากปอด(ฟังดูเหมือนการทำขนม)ด้วยเทคนิคทางกายภาพร่วมกับการปรับปรุงรูปแบบในการหายใจให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อกระบังลม สอนรูปแบบการหายใจให้ถูกต้องเพื่อให้การเคลื่อนไหวของทรวงอกดีขึ้น  ก็แล้วแต่เทคนิคเฉพาะของนักกายภาพบำบัดแต่ละคนค่ะ

การรักษาอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคหอบหืด

  • Humidity เป็นการรักษาด้วยการให้ความชุ่มชื้นแก่ทางเดินหายใจเพื่อให้เสมหะขับออกได้ง่าย
  • การทานยาขับเสมหะ
  • การใช้ยาปฎิชีวนะในกรณีที่มีการอักเสบติดเชื้อของทางเดินหายใจ
  • การพ่นยาขยายหลอดลม

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinics.com  สายด่วน 085-264-4994

More