ตอนที่67:การฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกข้อมือหัก
การฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกข้อมือหัก
การฟื้นฟูหลังการเข้าเฝือกบริเวณแขนส่วนปลายและฝ่ามือ มีดังนี้
ช่วงที่ใส่เฝือกอยู่
– ให้มืออยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยลดอาการบวม
- เวลานั่งทำงาน ให้วางแขนไว้บนโต๊ะทำงาน
- เวลานอน ให้หมอนช่วยหนุนแขน
- เวลายืนเดิน ใช้ผ้าคล้องแขนไว้
– ขยับนิ้วรวมทั้งนิ้วหัวแม่มือ เพื่อป้องกันข้อติดและช่วยลดบวมโดยการ กำมือ-แบมือ อาจบีบลูกบอลหรือลวดสปริงก็ได้
– เกร็งกล้ามเนื้อแขนและมือที่อยู่ในเฝือก เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
– ขยับข้อศอกโดย งอ-เหยียดศอก
– ขยับข้อไหล่ โดยกาง-ยก-หมุนข้อไหล่ เพื่อป้องกันข้อไหล่ติด เพราะผู้ป่วยมักให้ผ้าคล้องแขนและไม่กล้าขยับแขนข้างนั้น ทำให้ข้อไหล่ติดหลังถอดเฝือกแล้ว
– หากมีอาการบวมมาก มือชา รีบไปพบแพทย์
การรักษาทางกายภาพบำบัดช่วงหลังถอดเฝือก
1. การใช้ความร้อนในการรักษา เช่น การแช่พาราฟิน, แช่น้ำอุ่น, ประคบร้อนด้วยแผ่นความร้อนไฟฟ้า Thermo pad
2. การใช้ความเย็นรักษาในระยะอักเสบ ในช่วงที่มีอาการแสดง คือ บวมแดง ร้อน
3. การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การรักษาด้วยวิธีการขยับ ดัดดึง ข้อต่อ ในแต่ละข้อที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหว
5. การออกกำลังกายขยับข้อด้วยตนเอง เพื่อป้องกันข้อติด อาจปฏิบัติร่วมกับการแช่น้ำอุ่น
6. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน อาจใช้อุปกรณ์ เช่น ถุงทราย, ดัมเบล
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More