All Posts tagged กระดูกผุ

ตอนที่57:กระดูกพรุน

ตอนที่57:กระดูกพรุน

114

 

ตอนที่ 65 กระดูกพรุน /กระดูกบาง /กระดูกผุ

เป็นภาวะที่มวลกระดูก /ความหนาเเน่นของเนื้อกระดูกลดลง ทำให้มีความแข็งแรงของกระดูกลดลงและกระดูกหักได้ง่าย

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

1.อายุ  เนื้อกระดูกจะลดน้อยลง เเละเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกบางมากขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปี

2.สตรีวัยหมดประจำเดือนขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้มีการทำลายของกระดูกมากขึ้น

3.กรรมพันธุ์ เช่นคนรูปร่างเล็กจะมีเนื้อกระดูกน้อยกว่าคนที่มีรูปร่างใหญ่ คนผิวขาวหรือผิวเหลืองจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวดำ

4.ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ต่อมไทรอย์ด เบาหวาน ไต ตับแข็ง ไขข้ออักเสบ

5.เนื้องอกในไขกระดูก มะเร็งเม็ดโลหิตจาง

6.กระดูกไม่ได้ใช้งาน หรือขาดการออกกำลังกายในวัยผู้สูงอายุ เช่น นอนป่วยนานๆ ใส่เผือกกล้ามเนื้ออ่อนแรง

7.ขาดแคลเซียม ไม่ถูกแสงแดดวิตามินดี

8.ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 2แก้ว

9.อาหารเค็มจัด  และดื่มนำ้อัดลมเป็นประจำเสี่ยงกระดูกบาง

109

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

วิธีที่ดีที่สุด คือการสะสมเนื้อกระดูกให้มีความทนทานหนาแน่นมากที่สุดในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น เพื่อเป็นธนาคารกระดูกกก่อนถึงระยะเสื่อมสลาย เพราะหลังจากอายุ30ปีแล้ว โอกาสสร้างเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นทำได้ยากหรือทำได้ก็เพียงแต่ไม่ทำให้กระดูกถูกทำลายลงไปมากอย่างรวดเร็วเท่านั้น การเสริมสร้างและบำรุงรักษาทำได้โดยออกกำลังกาย ควรเป็นการออกกำลังกายที่มีการลงนำ้หนักกดลงบนกระดูกจะช่วยป้องกันการทำลายของกระดูกและเสริมสร้าง การออกกำลังกายควรทำอย่างถูกวิธี เหมาะสมกับวัยของตนเองเพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตราย โดยสามารถขอคำปรึกาาจาแพทยืได้ ควรออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ3ครั้งๆละ30นาที จะช่วยรักษาระดับความหนาแน่นของกระดูกเช่น การเดินไกลๆ รำมวยจีน เต้นแอโรบิค การบริหารกาย วิ่งเหยาะๆ การยกนำ้หนัก ขีจักรยาน กระโดดเชือกเป้นต้น

1.อาหาร

ควรรับประทานอาหารที่ถูหลักโภชนาการให้ครบ5หมู่และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผู้สูงอายุ ควรดื่มนมชนิดพร่องไขมันแทน เพื่อไม่ให้มีไขมันในเลือดสูง และไม่ทำให้อ้วน (นมเปรี้ยวมีแคลเซียมตำ่) ผลิตภัณฑ์จากนม  โยเกิร์ต เนยแข็ง ฝักมะขามสด กะปิ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลายน้อยที่กินได้ ทั้งตัวพร้อมกระดูก งาดำ ถั่วเหลือง เต้าหู้ ผักสีเขียวทุกชนิด เช่นใบโหระพา ใบกะเพรา ผักคะน้า ใบยอ ใบชะพลู ไท่ควรรับประทานเนื่อสัตว์มากเกินไป หรืออาหารรสเค็มจัด และไม่ควรรับประทานผักบางชนิดที่มีโฟเตท และออกซาเลทมาก เช่นผักขม โกฐนำ้เต้า

115

ปริมาณความต้องการแคลเซียมต่อวัน

เพื่อป้องกันกระดูกโปร่งบางกระดูกพรุนในแต่ละช่วงอายุ

ทารก 600มิลลิกรัม
เด็ก 800มิลลิกรัม
วัยรุ่น 1200มิลลิกรัม
ผู้ใหญ่(25-50ปี) 800-1000มิลลิกรัม
วัยหมดประจำเดือน 1500-2000มิลลิกรัม
คนแก่ 1000มิลลิกรัม
หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร 1200-1500มิลลิกรัม

 

ปริมาณแคลเซียมในอาหาร

ชนิดอาหาร

ปริมาณที่บริโภคแคลเซียม(มก.)

นมรสจืด200ซีซี (1กล่อง) 230-292
ปลาช่อนทะเลแห้งทอด1/2ถ้วยตวง 329
กุ้งแห้งตัวเล็ก1ช้อนโต๊ะ 138
เต้าหู้ข่าวอ่อน1ก้อน 290
คะน้าผัด1/2ถ้วยตวง 105

112

 

 

 

 

 

 

 

2.ควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ เพือช่วยให้ร่างกายสังเคาระห์วิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม

3.ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดการทำลายกระดูกมาากขึ้น ได้แก่งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่บริโภคยาชุด ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ2แก้ว

4.การรักษาโดยการใช้ยาทีมีฤทธิ์ลดการทำลายของกระดูก เช่น ฮอร์โมนแคสซิเดน ยากลุ่มซิลฟอสโฟเนต และต้องได้รับวิตามินดีที่เพียงพอ ส่วนการใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนควรเริ่มใช้ภายในเวลา6ปีหลังจากหมดประจำเดือน และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

118

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

สายด่วน 085-264-4994

More