All Posts tagged กายภาพบำบัดกับอัมพาตครึ่งท่อน

ตอนที่ 650 เรื่อง การเคลื่อนย้ายตนเองในห้องน้ำของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

ตอนที่ 650 เรื่อง การเคลื่อนย้ายตนเองในห้องน้ำของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

ตอนที่ 650
 
เรื่อง การเคลื่อนย้ายตนเองในห้องน้ำของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง

 

สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างทักษะการเคลื่อนย้าย ตัวเองนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่าง อิสระ ก็จะสามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆได้ง่ายและลดภาระ ผู้ดูแลลงอย่างมาก การเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่างอิสระต้อง อาศัยทั้งพละกำลังของกล้ามเนื้อแขน และความทนทานสูงแต่สิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ ทักษะที่ถูกต้อง ในการเคลื่อนย้ายตัวเองให้ปลอดภัยที่สุด

วิธีการเคลื่อนย้ายตัวเองจาก เก้าอี้รถเข็นไปยังโถส้วมชักโครก

1. ตรวจสอบความพร้อมของห้องน้ำ 

ควรตรวจดูสภาพแวดล้อมของห้องน้ำโดยรอบ ก่อนการเคลื่อนย้ายตัวเองก่อนว่า 

มีแสงสว่างที่เพียงพอหรือไม่ 

พื้นห้องน้ำเปียกหรือเปล่า 

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ครบและวางไว้ในที่เอื้อมหยิบถึงหรือยัง 

โถส้วมมั่นคงหรือไม่ 

โถส้วมสะอาดหรือยัง 

เป็นต้น

2. จัดองศาที่เหมาะสม สำหรับการเคลื่อนย้ายตัวเอง 

จัดให้เก้าอี้รถเข็นอยู่ชิดกับขอบโถส้วมชักโครกให้มากที่สุด

โดยส่วนใหญ่จะทำมุม 45 องศา เพื่อให้สะดวกต่อ การเคลื่อนย้ายตัวเองมากที่สุด

อย่าลืมล็อคล้อเก้าอี้รถเข็นให้เรียบร้อยด้วย

3. พับเก็บที่วางเท้า

ใช้แขนหนึ่งข้างคล้องเกี่ยวที่มือจับของ เก้าอี้รถเข็นให้มั่นคง

โน้มตัวลงไปช้าๆและพับเก็บที่วางเท้าขึ้น

4. หาบริเวณที่มั่นคงสำหรับการเหนี่ยวตัว เพื่อย้ายตัวเอง

ถ้ามีราวจับให้ใช้มือ 1 ข้างจับที่ราวจับและมืออีกหนึ่งข้างจับบริเวณที่พักแขน

อย่าจับบริเวณฝารองนั่งชักโครกเด็ดขาด เพราะเป็นส่วนที่ไม่มั่นคงที่สุด ส่วนมือข้างที่จับ เก้าอี้รถเข็นให้พยายามออกแรงในลักษณะ “ดันขึ้น ห้าม ออกแรง “ผลักออก” เป็นอันขาด

5. จัดท่าทางให้มั่นคง 

จัดท่าทางการนั่งให้มั่นคง

เลื่อนเก็บเก้าอี้รถเข็นให้อยู่ในตำแหน่งที่ เอื้อมหยิบได้สะดวก

More

ตอนที่13:อัมพาตครึ่งท่อน….แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร

ตอนที่13:อัมพาตครึ่งท่อน….แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร

อัมพาตครึ่งท่อน1

อัมพาตครึ่งท่อน….

รู้จักกันดีในภาษาชาวบ้านว่าอัมพาตครึ่งท่อน  เรียกแบบอินเตอร์ว่า spinal cord injury หรือการบาดเจ็บของไขสันหลังซึ่งจะแตกต่างจากอัมพาตครึ่งซีกตรงต้นกำเนิดการเกิดโรคเนื่องจากอัมพาตครึ่งซีกมักเกิดที่สมองส่วนอัมพาตครึ่งท่อนมีสาเหตุได้หลากหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากอัมพาตครึ่งท่อนต้นเหตุมักเกิดที่ไขสันหลังเกิดการบาดเจ็บ  จากอุบัติเหตุบนท้องถนน อุบัติเหตุการกีฬา มีการกดทับของไขสันหลังจากเนื้องอก ถูกยิง ฟันแทงด้วยอาวุธ ตกจากที่สูง หกล้ม และหลังกระแทกพื้น การบากเจ็บที่ไขสันหลังทำให้ขาดการติดต่อระหว่างสมองกับประสาทส่วนปลายทีอยู่ต่ำกว่าระดับที่ได้บาดเจ็บ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน  จะสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การควบคุมการขับถ่าย และมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

การแบ่งชนิดของอัมพาตครึ่งท่อนตามการบาดเจ็บของไขสันหลังระดับการเคลื่อนไหว จะเรียกระดับสุดท้ายของไขสันหลังที่ทำหน้าที่ควบคุมกำลังกล้ามเนื้อให้มีกำลังตั้งแต่ระดับ 3 แต่ถ้าหากพยาธิสภาพอัมพาตครึ่งท่อน เกิดขึ้นที่ระดับอก มีการสูญเสียการรับความรู้สึกตั้งแต่ช่วงลำตัวลงไป ใช้วิธีการแบ่งตามระดับที่ของอัมพาตครึ่งท่อน มีการสูญเสียความรู้สึก คือจะเรียกตามระดับแรกที่มีผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน  มีการเสียการรับความรู้สึกหรือเริ่มรับความรู้สึกลดลง

การแบ่งพยาธิสภาพของอัมพาตครึ่งท่อนตามความรุนแรงของการสูญเสียการทำงานของระบบประสาท โดยแยกว่าอัมพาตครึ่งท่อนเป็นการบาดเจ็บของไขสันหลังแบบสมบูรณ์หรือการบาดเจ็บของไขสันหลังแบบไม่สมบูรณ์  โดยใช้วิธีวิธีที่เรียกว่า sacral sparing definition คือการกลับมาของไขสันหลังระดับก้นกบ บางส่วนของอัมพาตครึ่งท่อนหลังจากไขสันหลังเกิดการบาดเจ็บ โดยจะมีการตรวจอยู่อย่างน้อย 1ใน 3 ถือเป็นอัมพาตครึ่งท่อนของการบาดเจ็บของไขสันหลังแบบสมบูรณ์

1 motor ความสามารถในการงอนิ้วหัวแม่เท้า

2 sensory การรับความรู้สึกของผิวหนังรอบๆทวาร

3 relfex ตรวจโดยการกระตุกสาบปัสสาวะที่วางไว้

อัมพาตครึ่งท่อน2

การระบุความรุนแรงของอัมพาตครึ่งท่อน

จากการการบาดเจ็บไขสันหลังว่าเป็นแบบสมบูรณ์หรือเป็นการบาดเจ็บแบบไม่สมบูรณ์นั้น ใช้หลักเกณฑ์ ASIA scale ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงของอัมพาตครึ่งท่อนจากการบาดเจ็บระดับไขสันหลังได้ 5 ระดับ

  1. A สมบูรณ์ คือระดับที่ไม่มีการทำงานของประสาทสั่งงานและประสาทรับความรู้สึกของสันหลังระดับต่ำกว่ารอยโรค
  2. B เกือบสมบูรณ์ คือระดับที่ยังมีการทำงานของประสาทรับความรู้สึกอยู่บ้าง แต่ไม่มีการทำงานของระบบประสาทสั่งงานของไขสันหลังระดับต่ำกว่ารอยโรค
  3. C ไม่สมบูรณ์ คือระดับที่ยังมีการทำงานของประสาทสั่งงานส่วนที่ต่ำกว่ารอยโรค แต่ไม่พอที่จะใช้ประโยชน์
  4. Dไม่สมบูรณ์ คือระดับที่ประสาทสั่งงานส่วนที่ต่ำกว่ารอยโรคทำงานในระดับที่พอใช้การได้
  5. E คือระดับที่ไม่มีการอ่อนแรง ไม่ชา ควบคุมการขับถ่ายได้ แต่มีreflex เท่านั้นที่ผิดปกติ

ArmeoBoom home usage

การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน

ปัญหาที่พบ กอัมพาตครึ่งท่อน ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับแขน ขา หรือช่วยเหลือตนเองได้ จึงเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังตามมา คือ

1. ภาวะความดันต่ำ โดยผู้ป่วยนอนนานๆ จะทำให้ความดันต่ำลง โดยจะสังเกตได้จากขณะเปลียนท่าจากท่านั่งมานอนจะรู้สึกเวียนศรีษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

2. ขาบวม เกิดจากการไม่ได้เคลื่อนไหว นอนนานๆ ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีทำให้ขาบวม

3. หลอดเลือดดำอุดตัน เกิดจากการที่ไม่ได้เคลื่อนไหวขาเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดบริเวณขา

4. แผลกดทับ เกิดแผลบริเวณปุ่มกระดูกจากการนอนนาน ๆ

5. ข้อติด การเกิดการยึดติดของข้อและการหดรั้งของกล้ามเนื้อนานเข้าจะทำให้เกิดการผิดรูปของข้อ บางกรณีอาจพบอาการปวดร่วมด้วย

อัมพาตครึ่งท่อน4

 หลักการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนทางกายภาพบำบัดเบื้องต้น

– จะทำการรักษาทางกายภาพบำบัดหลังจากได้รับการรักษาทางการแพทย์จนอยู่ในภาวะคงที่แล้ว

– ทำการเคลื่อนไหวข้อต่อเหมือนในกรณีของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกแต่ควรระวังในรายที่มีการดามเหล็กอยู่ภายในข้อ ภายในกระดูก ไม่ต้องทำเกินกว่าที่ผู้ป่วยทำได้

– ออกกำลังกายโดยให้แรงต้านในกล้ามเนื้อที่ยังสามารถทำได้อยู่ เพื่อให้ใช้กล้ามเนื้อที่เหลืออยู่ทดแทนกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถทำงานได้

– ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนอนนาน ๆ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งบ้างในรายที่พอนั่งได้ หรือให้ผู้ป่วยยืนในรายที่สามารถเดินได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More