All Posts tagged กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรม

ตอนที่195: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด

การผ่าตัดหัวใจที่ทำการผ่าตัดโดยการ open heart operation ต้องอาศัยเครื่องอดและหัวใจเทียม
( cardiopulmonary by pass )  มักจะทำการผ่าตัดโดยมีรอยผ่าตัดแบบ  median  sternotomy  เช่น การทำ
1.  Coronary    artery  bypass   grafting  ( CABG )
2.  Valvulotomy
3.  Valve  replacement  and  repair
4.  Closure  ASD  or  VSD
5.  Excision  of  ventricular  or  aorta  aneutysm
6.  Correction  of  fallot’s  tetralogy
7.  Remove  of  cardiac  myxoma
8.  Heart  transplantation
การผ่าตัดหัวใจที่ไม่ต้องอาศัย cardiopulmonary by pass จะมี close heart operation รอยแผลผ่าตัด จะเป็นแบบ   thoracotomy  ได้แก่
1.  Ligation  of  PDA
2.  Excision  of  Coarctation  of  aorta
3.  Block  Taussing  shunt  for  Fallot’s  tetralogy
4.  Perieardlectomy
ก่อนเริ่มให้การรักษาหลังผ่าตัด นักกายภาพบำบัดควรอ่านรายงานการผ่าตัดเพื่อดูรายละเอียดในการทำการผ่าตัด ตรวจร่างกายและสังเกตอาการอื่นๆ  เช่น
1.  ระดับการมีสติ สามารถเคลื่อนไหวแขนขาตามคำสั่งได้หรือไม่ ตอบสนองคำสั่ง เพียงใด
2.  การหายใจผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือหายใจเอง ในลักษณะแรงเร็ว หรือเบา
3.  สีผิวลักษณะอย่างไร มีcyanosis หรือไม่
4.  ค่า vital sing ต่างๆ
5.  ECG ดูจังหวะการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอดีหรือไม่
6.  ผู้ป่วยได้รับยาระงับปวดครั้งสุดท้ายเวลาไหน  ได้รับวันละกี่ครั้ง
7.  มีสายยางรองรับสารเหลวจากทรวงอกกี่เส้น  มีเลือดหรือสารเหลวหรืออากาศออกมาในขวดที่รอบรับ
มากน้อยเพียงใด
8.  ผลทางห้องปฏิบัติการ  เช่น  PO2 .  PCO2  ในเลือดแดง
9.  ภาพถ่านรังสีปอด
10.  ฟังเสียงหายใจว่า  มีเสียงผิดปกติอะไรบ้าง   ฟังเสียงปอดก่อนและหลังการรักษาเพื่อเปรียบเทียบกัน
11.  ตรวจดุว่าผู้ป่วยมีอาการไอมากน้อยเพียงใด   ลักษณะเสมหะเป็นอย่างไร   จำนวนมากน้อยเพียงใด
12.  ปัสสาวะออกสม่ำเสมอหรือไม่

การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด

  1. การจัดท่าเพื่อให้เสมหะไหลแบบประยุกต์ ซึ่งขณะทำการรักษานี้นักกายภาพบำบัดควรระวังอาการต่างๆ
    ของผู้ป่วย   โดยสังเกตดู  ECG  ดูการเปลี่ยนแปลงอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ   นักกายภาพบำบัดต้องหยุดการรักษาทันที  เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของชีพจรมากกว่า  20 %  ขณะพัก
    2.  การฝึกการหายใจ
    3.  การกระตุ้นการไอ
    4.  การออกกำลังกายอื่นๆ  ของแขนขาในท่าต่างๆ  รวมทั้งการให้ผู้ป่วยเดินและการระวังท่าทางที่ผิดปกติก็รักษาในแนวเดียวกับผู้ป่วยศัลยกรรมทรวงอก

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18

 

Watch Movie Online Logan (2017)

More

ตอนที่194: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรมศีรษะและคอ

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรมศีรษะและคอ 

( Chest Physical Therapy in Hand and Neck Surgery )

Radical  neck  dissection

  1. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
    2. เส้นเลือด
    3.  เส้นประสาท
    4.  กล้ามเนื้อ
    5.  ต่อมอื่นๆ
    6.  ไขมันและเนื้อเยื่อใต้ผิว
    7.  Ansa  hypoglossi

Radical   thyrodectomy  เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดต่อมไธรอยด์ออกทั้งหมดรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงด้วย   มักทำในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
Mazillectomy  เป็นการผ่าตัด  maxilla  ในรายผุ้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่เพดานปากและมีการลุกลามไป  maxilla

Hemimandibulectomy   เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดกระดูกขากรรไกรออกมักทำร่วมกับ Radical  neck  dissection

Radical  laryngectomy  เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดกล่องเสียงออกรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ด้วย   บางครั้งมีการตัดกระดูก  hyoid  ด้วย

การรักษาทางกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดศีรษะและคอนั้น   ช่วงแรกหลังการผ่าตัดนั้นจะต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าก้มศีรษะเสมอ   เพื่อลดการบวมและการยืดที่ศีรษะไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในท่านอนราบหรือนอนตะแคง    หลังจากจัดท่าแล้วควรตรวจให้แน่ใจว่ารอยไม่ย่นหรือถ่างเป็นก้อนจนเป็นสีคล้ำเพราะขาดเลือดในช่วงแรกหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้  humidification  ทางท่อ  Tracheotomy   เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียความชื้นจาก  upper  airways  ที่ตัดทิ้งไป  บางครั้งมีเสมหะมากต้อง  suction  ร่วมด้วย

 

 

 

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18

More

ตอนที่193: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรม

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรม

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยศัลยกรรมทรวงอก  ( Chest  Physical  Thoracis  Surgical )

ศัลยกรรมทรวงอกรอยผ่าตัดจะเป็นแบบ posterolateral thoracotomy ผ่าเข้าทรวงอก ระดับ intercostals ที่ 5 หรือที่ 6 การผ่าตัดจะผ่าตัดกล้ามเนื้อผ่าน Latissimus dosi  Serratus anterior, Traoezius และ Rhomboid รวมทั้ง Internal และ External intercostals muscle กระดูกซี่โครงจะแยกออกจากกันในบางกรณีอาจใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบ median stenotomy เช่นการผ่าตัด Thymus gland

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทรวงอก   ( Post operative physical therapy treatment )

นักกายภาพบำบัดควรอ่านรายงานการผ่าตัดเพื่อดูรายละเอียดการผ่าตัด   เช่น    การผ่าตัดอะไร ลง incistion ที่ใด และควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งตรวจร่างกายตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้

  • สังเกตสีผิว ซีดเขียว หรือไม่
  • Vital sign อุณหภูมิ อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือด
  • Accessory device ต่างๆ
  • วิเคราะห์ความเข้มข้นของO2 และ CO2 ในเลือดแดงจะให้ความสำคัญต่อแรงดันส่วน CO2(PaCO2) เพราะบอกถึงการระบายอากาศถุงลมว่าเพียงพอหรือไม่
  • ลักษณะของเสมหะ ดูทั้งสีกลิ่น ปริมาณ รวมทั้งการไอด้วยว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่
  • ภาพถ่ายรังสีทรวงอก
  • ยาระงับปวด
  • เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของทรวงอก
  • ฟังเสียงการหายใจ เปรียบเทียบปอดทั้ง 2 ข้าง

Lobectomy
เป็นการผ่าตัดปอดออกเป็นกลีบ
การรักษาทางกายภาพ

1.  Breathing exercise
2.  Postural drainage
3.  Coughing training or suction
4.  กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าบนเตียง
5.  การให้ผู้ป่วยลุกเดินภายในบริเวณตึกหรือรอบเตียงในขณะที่นักกายภาพบำบัด พาผู้ป่วยเดิน
6.  ควรระวังเรื่องข้อไหล่ด้วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยยกแขนได้ในวันแรกหลังผ่าตัด
7.  นักกายภาพบำบัดต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยนั่งยืดตัวตรงและมี trunk mobility exercise เพื่อป้องกันหลังคด

Segmentectomanal Wedge resection
Segmentectomy
เป็นการผ่าตัดโดยส่วนของเนื้อปอดเป็นกิ่ง
Wedge resection
เป็นการตัดส่วนของปอดออกเป็นรูปลิ่ม ซึ่งตัดออกน้อยมาก

Pneumonectomy

                  เป็นการตัดปอดออกทั้ง ข้าง ส่วนใหญ่มักจะมีการตัด mediastinan lymph nodes ร่วมด้วย เช่น ในผู้ป่วย มะเร็งปอด   ระหว่าง  2 – 3  สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดจะเกิด fibrosis ใน Hemithorax หลังจากนั้นจะมีRib ลู่ลง มีการยกขึ้นของ diaphragm ข้างที่ตัดปอดออกและ mediastinum

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การฝึกการหายใจเน้นเฉพาะในปอดที่เหลืออีกข้าง เมื่อมีการเฉของ mediastinum จะทำให้ไอ
ลำบาก การสอน Huffing จะดีกว่า

Bullous emphysema

เมื่อถุงลมมีความผิดปกติแตกมารวมกันเป็นถุงใหญ่ขึ้น มักพบในส่วน Base ของปอดผู้ป่วย Emphysema เรียกว่า bleb หรือ bullae ซึ่งมีโอกาสเกิด Spontaneous pneumothracx ได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วปอดจะถูกดกทำให้ปอดข้างนั้นแฟบ ผู้ป่วยจะได้รับการใส่ chest drain ทันทีในกรณีที่เป็นบ่อยหรือเป็นจำนวนมาก แพทย์จะให้การรักษาโดยการผ่าตัด หรือบางโอกาสอาจต้องทำการตัดเนื้อปอดส่วนนั้นออกโดยมีแนวแผลเป็น Thoracotomy

การรักษาทางกายภาพบำบัด
ผู้ป่วยเหล่านี้มักมีปัญหาทางด้านระบบหายใจก่อนผ่าตัด      และมีอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง การฝึกการหายใจเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการทำ pursed lips BE นอกจากนั้นก็ให้ฝึก endurance

Thoracoplasty

เป็นการผ่าตัดยุบส่วนของปอดที่มีรอยโรคถาวร การผ่าตัดชนิดนี้จะมีการผ่าตัดซี่โครงออกตั้งแต่ 3  อันขึ้นไป ในกรณี extensive thoracoplasty จะตัดซี่โครงออกมากกว่า 8 อัน

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การแก้ไข posture และการ   re – education ผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิด defofomity ได้มาก

Pleural surgery การผ่าตัดเกี่ยวกับเยื่อหุ้มปอด

Pleurectomy
คือการตัดส่วนของ parietal pleura ในบริเวร chest wall ทำให้เกิด Raw surface ซึ่งvisceral pleura จะติดมาเชื่อมทำในกรณี blebs หรือ bullae

Pleurodesis

คือการขจัด pleural space โดยการทำให้เกิดการติดกันของเยื่อหุ้มปอดทั้ง  2 โดยเกิด adhesion กันโดยการฉีดสารเชื่อมเข้าไปใน pleural cavity

Decortication

คือการผ่าตัดเลาะถุงหนองในเยื่อหุ้มปอดออก ทำในผู้ป่วยโรค  Empyema

 

 

 

 

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18

 

More