By Firstphysio Clinic
22 Aug, 2016
อุปกรณ์กายภาพบำบัด
Common Entrapments in Upper Extremity, กายภาพบำบัด, การกดทับเส้นประสาทที่พบบ่อยในรยางค์บน, กิจกรรมบำบัด, คลินิก, บริบาล, ผู้สูงอายุ, ฟื้นฟู, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, อุปกรณ์กายภาพบำบัด, อุปกรณ์ดูแลคนแก่
การกดทับเส้นประสาทที่พบบ่อยในรยางค์บน
(Common Entrapments in Upper Extremity)
แม้ว่าเส้นประสาทสามารถถูกกดทับ ณ ตำแหน่งใดก็ได้ตั้งแต่ออกจากไขสันหลัง (Spinal cord) จนถึงปลายเส้นประสาท แต่ตำแหน่งที่พบการกดทับบ่อยๆ จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ชื่อเรียกบางชื่อสามารถการกดทับเส้นประสาทได้หลายเส้น เช่น Saturday night palsy อาจเกิดการกดทับเส้นประสาท radial หรือ median หรือ Ulnar ก็ได้ การวินิจฉัย Saturday night palsy นั้น อาศัยเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยหลับลึกเป็นเวลานานจากการเมาสุรา แล้วบริเวณต้นแขนถูกกดทับโดยศีรษะของผู้ป่วยหรือโดยพนักเก้าอี้ ซึ่งแพทย์ผู้เริ่มให้การวินิจฉัยอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งนิยมเลี้ยงฉลองดื่มสุราในคืนวันเสาร์ อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุดใน Saturday night palsy คือ Wrist drop ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาท radial
ตารางแสดงตำแหน่งพบการกดทับเส้นประสาทบ่อยๆของเส้นประสาทแต่ละเส้นและชื่อเรียก
Nerve
|
Site
|
Lesion |
Median
|
Shoulder girdle
|
Saturday night palsy, Honeymoon palsy |
|
Elbow
|
Pronator teres syndrome,
Anterior interosseous nerve syndrome |
Wrist
|
Carpal tunnel syndrome |
palm
|
Entrapment of digital nerves |
Ulnar
|
Shoulder girdle and axilla
|
Saturday night palsy |
|
Elbow
|
Cubital tunnel syndrome,
Tardy ulnar palsy |
Wrist
|
Guyon canal syndrome |
Radial
|
Axilla
|
Saturday night palsy, Honeymoon palsy |
|
Forearm
|
Posterior interosseous nerve syndrome,
Radial tunnel syndrome |
Wrist |
Cheralgia parathetica, Wartenberg’s syndrome |
การกดทับเส้นประสาทมีเดียน (Compression Neuropathy of Median nerve)
กายวิภาคทางคลินิก (Clinical Anatomy)

รูปที่ 1 กายวิภาคของ Median Nerve กล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทเส้นนี้ และตำแหน่งการกดทับที่พบบ่อย
การกดทับเส้นประสาทมีเดียนในบริเวณข้อมือ
Carpal Tunnel Syndrome

รูปที่ 2 กายวิภาคของ carpal tunnel ขอบเขตทางด้าน Volar คือ transverse carpal ligament ส่วนด้านอื่นๆ คือ carpal bone
ลักษณะทางคลินิก
ปวด-ชามือทางด้านนิ้วโป้ง จนถึงนิ้วนางฝั่ง radial เป็นบริเวณที่เลี้ยงด้วย median nerve บางครั้งอาจมีอาการปวดในส่วนของสะบักและแขนได้ มักมีอาการมากในช่วงกลางคืน หรือในช่วงที่ทำงานหนักซ้ำซาก
การกดทับเส้นประสาทมีเดียนในบริเวณข้อศอก
Median Nerve Compression in Elbow
การกดทับเส้นประสาทมีเดียนในตำแหน่งส่วนต้นต่อข้อมือนั้น พบได้น้อยมากเมื่อเทียบกับ Carpal tunnel Syndrome นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนอาจมีการกดทับร่วมกันทั้งสองตำแหน่ง อาการแสดงอาจเกิดกับเฉพาะแขนงสั่งงานกล้ามเนื้อ (motor branch) ในกรณีของ anterior interosseous nerve syndrome หรือ อาจเกิดกับทั้งการรับความรู้สึกและการสั่งงานกล้ามเนื้อในกรณีของ Pronator syndrome
Pronator Teres Syndrome
มีอาการแสดงคือ ปวดข้อศอกแขนส่วนต้น และมีการรับความรู้สึกที่ผิดปกติในบริเวณที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทมีเดียน มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนที่ถูกเลี้ยงด้วย median nerve
การกดทับเส้นประสาทอัลน่า (Compression Neuropathy of Ulnar Nerve)
กายวิภาคทางคลินิก (Clinical anatomy)

รูปที่ 3 กายวิภาคของ Ulnar nerve กล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทเส้นนี้ และตำแหน่งการกดทับที่พบบ่อย
Guyon’s Canal Syndrome
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Ulnar tunnel syndrome คือการกดทับเส้นประสาทอัลน่าในบริเวณข้อมือ เรียกว่า Guyon’s canal จะมีอาการชาเฉพาะบริเวณทางด้านล่างของนิ้วก้อยและนิ้วนางทางด้าน Ulnar ครึ่งนิ้ว และมีการอ่อนแรงเฉพาะกล้ามเนื้อในมือ
การกดทับเส้นประสาทอัลน่าในบริเวณข้อศอก
Cubital Tunnel Syndrome
การกดทับของเส้นประสาทอัลน่า (Ulnar nerve) บริเวณข้อศอก เป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดของเส้นประสาทอัลน่าและพบบ่อยรองจาก Carpal tunnel syndrome ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณส่วนต้นของแขนด้านในซึ่งอาจปวดร้าวไปส่วนต้นหรือส่วนปลายก็ได้ มีอาการมากในช่วงงอข้อศอก และตอนกลางคืน มีความผิดปกติของการรับความรู้สึกบริเวณที่เลี้ยงด้วย ulnar nerve คือนิ้วก้อยและนิ้วนางฝั่ง ulnar ทั้งทาง volar และ dorsal มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทสั่งงาน หากการกดทับรุนแรงและเป็นมานานจะพบว่ากล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบลง (hand intrinsic muscle atrophy)
การกดทับเส้นประสารทเรเดียน (Compression Neuropathy of Radial
Nerve)
กายวิภาคทางคลินิก (Clinical Anatomy)

รูปที่ 4 กายวิภาคของ radial nerve กล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทเส้นนี้ และตำแหน่งการกดทับที่พบบ่อย
อาการข้อมือตกจากการทับเส้นประสารทเรเดียน
(Saturday Night Palsy)
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุดใน Saturday night palsy คือ ข้อมือตก (Wrist drop) ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาท radial ในบริเวณต้นแขน การวินิจฉัย Saturday night palsy นั้น อาศัยเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยหลับลึกเป็นเวลานานจากการเมาสุรา แล้วบริเวณต้นแขนถูกกดทับโดยศีรษะของผู้ป่วยหรือโดยพนักเก้าอี้ ซึ่งแพทย์ผู้เริ่มให้การวินิจฉัยอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งนิยมเลี้ยงฉลองดื่มสุราในคืนวันเสาร์ ในปัจจุบันการวินิจฉัยภาวะนี้ไม่ยึดติดกับวันเสาร์ หากมีเหตุการณ์คล้ายคลึงกันในวันใดก็ยังให้ชื่อว่า Saturday night palsy
Posterior Interosseous Nerve Syndrome and Radial Tunnel Syndrome
กลุ่มอาการทั้งสองเกิดจากการกดทับ Radial nerve ในบริเวณข้อศอก แต่อาการแสดงนั้นแตกต่างกัน โดย Posterior interosseous nerve (PINS) นั้นจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วย Posterior interosseous nerve ได้แก่ กล้ามเนื้อ supinator, Extensor carpi ulnaris (ECU), Extensor digitorum communis (EDC), Extensor indicis, Extensor pollicis longus and brevis (EPL,EPB) ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ แต่ผู้ป่วยจะเหยียดข้อมือขึ้นได้โดยอาศัย Extensor carpi radialis longus (ECRL) ซึ่งถูกเลี้ยงโดยแขนงของ radial nerve เหนือต่อ PIN

รูปที่ 5 ลักษณะมือผู้ป่วย Posterior interosseous nerve palsy ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ แต่ผู้ป่วยจะเหยียดข้อมือขึ้นได้ โดยอาศัย Extensor carpi Radialis longus (ERCL) ซึ่งถูกเลี้ยงโดยแขนง Radial nerve เหนือต่อ PIN
Radial Tunnel Syndrome
ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวด อาจอ่อนแรงจากอาการปวด ไม่ใช่อ่อนแรงจากการที่ไม่สามารถสั่งงาน (paralysis)
Superficial radial nerve compression
(Wartenberg Syndrome/Cheralgia Paresthetica)
เกิดจากการกดทับ Superficial radial nerve บริเวณข้อมือ ซึ่งเส้นประสาทจะผ่านออกมาระหว่าง ERCL กับ brachioradialis (BCR) เหนือต่อข้อมือ 9 ซม. เส้นเอ็นทั้งสองจะหนีบเส้นประสาทได้โดยเฉพาะทำท่าคว่ำมือ (pronate) นอกจากการกดทับจากเส้นเอ็นของ ERCL และ BCR ยังอาจมีสาเหตุจากการกดทับจากการสวมใส่นาฬิกาหรือสร้อยข้อมือ หรือกำไลที่รัดแน่นในบริเวณนี้มีชื่อว่า wrist watch syndrome
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994
More
By Firstphysio Clinic
22 Aug, 2016
อุปกรณ์กายภาพบำบัด
Gastrojejunostomy, กายภาพบำบัด, กายภาพบำบัดในผู้ป่วยผ่าตัด, กิจกรรมบำบัด, คลินิก, คลีนิค, บริบาล, ผู้สูงอายุ, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, อุปกรณ์กายภาพบำบัด, อุปกรณ์ดูแลคนแก่
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยผ่าตัด Gastrojejunostomy
การผ่าตัดแบบ gastrojejunostomyหรือ Billroth II เป็นการผ่าตัดโดยนำเอากระเพาะอาหารส่วนล่างออกและนำกระเพาะอาหารส่วนบนไปเย็บต่อกับลำไส้เล็กส่วนกลาง โดยการผ่าตัดชนิดนี้จะทำในผู้ที่เป็นที่เป็นกระเพาะทะลุ, ลำไส้เล็กอุดตัน หรือในรายที่มีอาหารคั่งค้างในกระเพาะอาหาร โดยการผ่าตัดนั้นแพทย์จะผ่าในแนวกลางลำตัวตั้งแต่ระดับเหนือสะดือจนถึงกระดูกหน้าอกรอยผ่าตัดในแนวกลางร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยหลังผ่าตัด Gastrojejunostomy
1.ปอดแฟบหลังผ่าตัด (Post-operative atelectasis)
2.เกิดภาวะปอดอักเสบหรือปอดอักเสบบริเวณท่อลม (Pneumonia or bronchopneumonia)
3.การเกิดหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis)
4.การเกิดลิ่มเลือดอุดที่ปอด (Pulmonary embolus)
5.การเกิดภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion)
6.กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วๆ ไป (general muscle weakness)
7.การติดเชื้อที่แผล (wound infection)
กายภาพบำบัดผู้ป่วยหลังผ่าตัด Gastrojejunostomy
- การฝึกการหายใจโดยเน้นขยายของทรวงอกส่วนล่าง
*โดยนำมือมาจับที่ชายโครงทั้งสองข้าง
* หายใจเข้าชายโครงบานออก หายใจออกชายโครงยุบ
- การฝึกหายใจโดยใช้กระบังลม
*โดยนำมือทั้งสองข้างวางไว้ที่หน้าท้อง
*หายใจเข้าทางจมูกท้องป่องออก หายใจออกเป่าลมออกทางปากยาว ๆ
- การฝึกการไอและ huffing เพื่อระบายเสมหะ
*โดยการนั่งกอดหมอนไว้ที่ท้อง ขณะไอให้กอดหมอนและโน้มตัวไปข้างหน้า
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994
More
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
( BELL’S PALSY)
Bell’s palsy เป็นภาวะที่เส้นประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้ามีการอักเสบหยุดการทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงด้านเดียวกัน คือ เปลือกตาตกลง มุมปากตกลง หลับตาไม่สนิท น้ำไหลมุมปาก ขยับยิ้มมุมปากด้านนั้นๆ ไม่ได้
สาเหตุของ
เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทเส้นที่ 7 ที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า โดยอักเสบจากเชื้อไวรัส มีหลักฐานพบว่ามักเป็นจากเชื้อเริม หรือร้อนในที่ทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากและอวัยวะเพศ นอกจากนั้นอาจเป็นจากเชื้ออื่นๆ เช่น งูสวัดการอักเสบทำให้เส้นประสาทบวม มีผลทำให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เลี้ยงเส้นประสาทส่งเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทไม่ได้ รบกวนการทำงานของเส้นประสาททำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าให้ทำงานได้
อาการ
- คิ้วตกลงเปลือกตาตกลง มุมปากตก
- ปิดตาไม่สนิท ทำให้ตาแห้ง
- ชาลิ้น
- หูอื้อ
- เคี้ยวแล้วน้ำลายไหลเพราะปิดปากไม่สนิท
การรักษาทางกายภาพบำบัด

- การนวด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหน้าเบี้ยวมักจะกล้ามเนื้อตึงตัวกว่าปกติ



การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหน้า โดยใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ (electrical stimulator) เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบปลายประสาทและชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
กระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงทุกจุด อย่างน้อยเช้า -เย็น จุดละ 2-3 นาที
ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้า หน้ากระจก

วางแผ่นร้อนเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น


ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
http:// www.firstphysioclinics.com
Line ID : 0852644994
TEL.: 085-264-4994
More
By Firstphysio Clinic
27 Aug, 2015
อุปกรณ์กายภาพบำบัด
tennis elbow, กระดูกหัก, กายภาพบำบัด, ข้อศอกอักเสบ, ปวดข้อศอก, อ่อนแรง, เล่นกีฬา, เอ็นข้อศอกอักเสบ, เอ็นอักเสบ, เอ็นเสื่อม
พยาธิสภาพ
เกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นที่เสื่อมสภาพรอบๆข้อศอกจากการขาดความยืดหยุ่นและใช้งานหนักซ้ำๆจนร่างกายซ่อมแซมไม่ทันจึงทำให้เกิดการอักเสบ
สาเหตุ
- ลักษณะงานที่ต้องใช้แขนหรือข้อมือซ้ำๆเช่น ช่างประเภทต่างๆที่ต้องทำงานโดยใช้ข้อมือทำงานซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นทาสี ตอกตะปูหรือหมุนไขควง ชาวไร่ชาวนาที่ใช้จอบเสียมขุดดิน แม่บ้านที่ทำงานบ้านประเภทซัก บิด ขัดหรือถูพนักงานพิมพ์ดีดและเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- นักกีฬาหรือผู้ที่เล่นเทนนิสนานๆครั้ง อุปกรณ์หรือทักษะการเล่นไม่ถูกต้องโดยเฉพาะท่าตีด้วยหลังมือ
( backhand)
อาการปวดเป็นอย่างไร
- ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอกอาจมีอาการปวดร้าวไปทั้งแขนจนถึงข้อมือ
- ปวดมากขึ้นเวลายกของเกร็งแขน ขยับข้อศอกข้อมือหรือกำมือแน่นๆเพราะจะไปใช้งานบริเวณ
ที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จนถึงอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
- อาการปวดจะเป็นอยู่ประมาณ 6 – 12 สัปดาห์แต่ถ้าเป็นมานานมากอาจใช้เวลารักษาเป็นปี
การรักษา
ระยะที่ 1ระยะเฉียบพลัน เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวด
- พักหรือใช้งานให้น้อยลงโดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการ หลีกเลี่ยงการใช้งานผิดท่า
- ประคบด้วยน้ำแข็ง ภายใน 2 วันแรกควรประคบครั้งละ 20 นาทีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดความปวดจากการอักเสบและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
- ถ้าจำเป็นแพทย์จะพิจารณาให้ใช้แถบรัดใต้ข้อศอก(Tennis elbow support) กรณียังต้องใช้งานแขนมาก
ระยะที่ 2 ระยะเรื้อรัง เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- รักษาโดยการประคบร้อน
- ยืดกล้ามเนื้อ
- กดจุดคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการเจ็บ
- เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อบริเวณแขน
- ถ้าไม่ดีขึ้นปรึกษานักกายภาพบำบัด หรือแพทย์
การออกกำลังกาย
1.การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) โดยการกระดกข้อมือขึ้นลงขณะที่ทำข้อศอกควรเหยียด
ตรง ในการทำแต่ละครั้งให้ค้างไว้ 20-30 วินาที ทำซ้ำ5-10 ครั้ง ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่ควรระวังไม่ทำจนมีอาการปวดมาก

- การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening)โดยใช้อุปกรณ์ช่วย
- กระดกข้อมือขึ้นลง โดยนั่งบนเก้าอี้ถือดรัมเบลหนักขนาด 5 กิโลกรัมไว้ในมือวางแขนบนขาหรือบนโต๊ะกระดกข้อมือขึ้นลงช้าๆ

- บริหารมือ โดยกำลูกบอลยางหรือลูกเทนนิสไว้ในมือแล้วพยายามบีบค้างไว้ 25 วินาที ในครั้งแรกๆ อาจไม่ค่อยมีแรงต้องฝึกทำซ้ำๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

- บริหารนิ้วโดยใช้หนังยางที่มีความดึงพอควรสวมที่นิ้วทิ้ง 5 แล้วพยายามกางนิ้วออกให้มากที่สุดค้างไว้ 25 วินาทีทำ 3 ครั้งแล้วเพิ่มความแข็งแรงของ

ระยะที่ 3 ทำเหมือนระยะที่ 2 แต่เพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์ หรือเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้งานต่อไปสำหรับนักกีฬาสิ่งที่ต้องทำคือการจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น อาทิเช่นการใช้อุปกรณ์ในบ้าน เช่น ด้ามไม้กวาด ท่าหยิบจับหนังสือ/เอกสาร ไม้เทนนิสต้องขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่เกินควรหัวไม้ควรมีขนาดประมาณ 95-110ตารางนิ้ว ทำจากกราไฟด์จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เส้นเอ็นไม่ควรขึงดึงเกินไป ควรเช็คทุก 6เดือน ด้ามจับต้องมีขนาดเหมาะมือ เป็นต้น รวมทั้งทักษะการเล่นที่ถูกต้องจะช่วยลดการบาดเจ็บได้มาก
ส่วนผู้ที่ทำงานโดยต้องใช้กล้ามเนื้อแขน ข้อมือข้อศอกในลักษณะซ้ำๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่หนักเกินไปแต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้การบริหารกล้ามเนื้อในท่าต่างๆ ที่กล่าวมาจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยลดการบาดเจ็บของข้อศอกบริเวณด้านนอกได้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ในกรณีที่ได้รับการรักษาเต็มที่แล้วอย่างน้อย 3 – 6 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้นการผ่าตัดนำพยาธิสภาพของเส้นเอ็นออกจะช่วยลดอาการได้
เรียบเรียงโดย :นศก.ปารวี โพธิ์แก้ว ชั้นปี 3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
http://www.firstphysioclinics.com
สายด่วน : 085-264-4994
Line ID :0852644994
More