ตอนที่64:การดูดเสมหะ (Suction)
การดูดเสมหะ (Suction)
การดูดเสมหะ เป็นการนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ โดยใช้ Sterile Technique หมายถึง วิธีการปฏิบัติเพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้ปลอดเชื้อ หลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ใช้ในการปฏิบัติการในห้องผ่าตัด
วัตถุประสงค์ของการดูดเสมหะ
- เพื่อกำจัดเสมหะในหลอดลม ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้เองด้วยการไอ เช่น เด็กทารก ผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรง ผู้ป่วยที่ใส่ ET-tube หรือ TT-tube
- เพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น
- ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
- เก็บเสมหะตรวจ
- ผู้ป่วยสุขสบาย คลายความกังวล
ข้อบ่งชี้ของการดูดเสมหะ
- หลังการรักษาทางกายภาพบำบัดของทรวงอก เช่น การเคาะปอด สั่นปอด การจัดท่าระบายเสมหะ
- ก่อนการจัดท่าทางในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
- ก่อนให้อาหารทาง Nasogastric tube
- หายใจเสียงดัง
- กระสับกระส่าย สีหน้า ท่าทางไม่สุขสบาย
- อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
- มีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
- ผู้ป่วยรู้สึกมีเสมหะและต้องการให้ดูดเสมหะ
ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนรุนแรง
- การดูดเสมหะขณะมีอาหารอยู่เต็มกระเพาะ จะทำให้เกิดการสำลักได้
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ
อุปกรณ์ในการดูดเสมหะ
1. เครื่องดูดเสมหะ
2. สายดูดเสมหะปลอดเชื้อ
3. ขวดปากแคบขนาด 500 ซีซี จำนวน 1 ขวด ล้างให้สะอาด
4. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด
5. ถุงมือปลอดเชื้อ
อาการและอาการแสดงที่แสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดี
1) ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ
2) ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ ไม่มีภาวะขาดออกซิเจน โดยการประเมินจากค่า O2Satuation
3) ผู้ป่วยไม่กระสับกระส่าย
4) อัตราชีพจรและการหายใจลดลง
อาการแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ
1) ความดันต่ำ ควรใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ก่อน-หลังการรักษา
2) จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ (irregular heart rate)
3) เกิดการระบายเคืองและการอักเสบต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ
4) ภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis)
5) ติดเชื้อง่าย