ตอนที่11:หายห่วง…… กับการดูแลตนเอง หลังการตัดขา!!!!
การตัดขา
การดูแลตนเองในผู้ป่วยตัดขา ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยตัดขาจะถูกประเมินว่าสามารถช่วยเหลือตัวเองว่าสามารถได้มากน้อยเพียงใด เดินเองหรือต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเข็น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวทีเป็นอุปสรรคในการฝึกเดินและการใส่ขาเทียมหรืออไม่ เคยมีแขน ขา อ่อนแรงจากโรคอัมพาต รวมทั้งอาชีพ และผู้ดูแล ลักษณะบ้าน ฐานะทางบ้าน และนอกจากนี้ควรทำความคุ้นเคยกับกิจกรม ต่างๆหลังการตัดขาแล้ว เช่นการพลิกตัว การลุกขึ้นนั่งบนเตียง การบริหารแขน ขา การเดินโดยใช้อุปกรณ์เดิน การใช้รถเข็นและอุปกรณ์เทียมชนิดต่างๆ
การประเมินผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยตัดขา เพื่อใช้วางแผนในการรักษา
- สภาพของตอขา
- ความทุพพลภาพที่มีอยู่
- สุขภาพโดยทั่วไป
- สภาพทางจิตใจและอารมณ์
ปัญหาที่มักเจอบ่อยในการตัดขา
- กรณีตัดเหนือเข่า มีแนวโน้มที่ขาจะติดในท่าสะโพกงอและกางออก
- กรณีที่ติดใต้เข่ามีแนวโน้มที่ติดในท่างอของข้อเข่า
- เกิดการถลอกเป็นแผลที่ผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับเบ้าขาเทียม
- ปัญหาเกิดจากภาวะแขน ขา หลอน
- ความเจ็บปวดที่ตอขา
- ความรู้สึกเหมือนไฟช็อต ที่เป็นช่วงๆ
- ความรู้สึกแสบร้อน
กายภาพบำบัด กับ การตัดขา
- ลดบวม
- การป้องกันการติดของข้อ
- การบริหารเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การฝึกการเดิน
- การทำให้ตอขาเข้ารูป
- พิจารณาการใส่ขาเทียมชั่วคราว