ตอนที่70:Pseudogout หรือ เก้าท์เทียม
Pseudogout หรือ เก๊าท์เทียม
โรคเก๊าต์เทียมเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการคั่งและสะสมของผลึกเกลือชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต (calcium pyrophosphate dihydrate หรือ CPPD) ในผู้ป่วยส่วนมาก แพทย์ยังไม่ทราบว่าทำไมจึงเกิดผลึกนี้ขึ้น
การคั่งและสะสมของผลึกเกลือชนิดนี้ในข้อ สามารถทำให้ข้อเกิดการอักเสบเฉียบพลันเป็นพักๆ มีลักษณะอาการคล้ายโรคเก๊าต์ จึงเรียกว่า โรคเก๊าต์เทียม แต่ผลึกตัวการที่ทำให้ข้อเกิดการอักเสบเป็นคนละชนิดกับโรคเก๊าต์
ปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วมกับโรคนี้ได้แก่
1. มีการบาดเจ็บของข้อมาก่อน
2. คนในครอบครัวมีแคลเซียมพอกกระดูกอ่อน (chondrocalcinosis) กันทั้งบ้าน
3. เป็นโรคมีธาตุเหล็กสะสมในตัวมากเกิน (hemochronatisis)
4. เป็นโรคอื่นๆ เช่น ไฮเปอร์ไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์ โรคไตแต่กำเนิดหลายชนิด โรคเก้าท์ โรคกระดูกอ่อน โรคแคลเซี่ยมในเลือดสูง (hypocalciuric hypercalcemia) โรคเบาหวาน
5. การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม (hyaluronate) ก็มีความสัมพันธ์กับการเป็นเก้าท์เทียมได้ โดยไม่ทราบว่ามันไปทำให้เกิดเก้าท์เทียมได้อย่างไร
อาการของโรคเก๊าต์ทียม
– อาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบเป็นๆ หายๆ เลียนแบบโรคเก๊าต์
– อาการปวดข้อเรื้อรังแบบโรคข้อเข่าเสื่อม หรืออาจพบร่วมกับโรคข้อเข่าเสื่อมได้
– อาการของข้ออักเสบเรื้อรัง เลียนแบบโรครูมาตอยด์
– อาการปวดคอที่เป็นอาการปวดร้าวมาจากอวัยวะอื่นๆ
– บางรายอาจไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตได้
การรักษาทางการแพทย์
1. เจาะเอาน้ำเลี้ยงข้อออกแล้วฉีดสะเตียรอยด์เข้าไป
2. ยาแก้ปวดแก้อักเสบ (NSAID), ยาสะเตียรอยด์, ยา colchicine
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1. การใช้ความร้อนด้วยแผ่นร้อนไฟฟ้า
2. การใช้ความเย็นในระยะอักเสบ
3. การดัดดึงข้อต่อ, การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง, การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การออกกำลังกายที่ถูกวิธี
5. การขยับดัดดึงข้อต่อกระดูก ในกรณีที่ข้อมีการยึดติด
6. การใส่อุปกรณ์เสริมเพื่อลดปวด และลดบวม เช่น
ปวดข้อเข่า ควรใส่อุปกรณ์เสริม ผ้ายืดลดปวดเข่า[Knee support]
ปวดข้อเท้า ควรใส่อุปกรณ์เสริม ผ้ายืดแบบสวมลดปวดบวมข้อเท้า [Ankle support]
ปวดข้อมือ ควรใส่อุปกรณ์เสริม อุปกรณ์พยุงข้อมือ[Wrist wrap]
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More